นโยบายลดภาระค่าผ้าอนามัยจากรัฐบาลแต่ละประเทศ

8 สาเหตุกระตุ้นโรคหืด อาการ โรค รักษา

‘ประจำเดือน’ คือสิ่งที่ธรรมชาติทำให้เกิดมากับผู้หญิงทุกคนแต่ ‘ผ้าอนามัย’ ของใช้จำเป็นของผู้หญิง กลับถูกบรรจุเป็นเครื่องสำอางค์ หรือสินค้าฟุ่มเฟือยในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกทำให้การเข้าถึงผ้าอนามัย กลายเป็นเรื่องยากสำหรับผู้หญิง เพราะการต้นทุนค่าผ้าอนามัยในแต่ละเดือนสูงเกินกำลังของครอบครัวข้อมูลทที่น่าตกใจก็คือ มีสัดส่วนเด็ก/ผู้หญิงมากกว่าที่คิด เลือกที่จะ ‘ขาดเรียน’ หรือ ‘ตัดมดลูก’ เพราะพวกเธอไม่สามารถเข้าถึงผ้าอนามัยได้ หรือการมีประจำเดือนทำให้ต้องลางานและนายจ้างก็ไม่ยกเว้นการตัดค่าแรงเป็นเรื่องดีที่โลกสมัยใหม่

เริ่มมีการ call out ให้กับปัญหานี้ของผู้หญิง และหลายประเทศได้ออกนโยบายมาบรรเทาเรื่องนี้มากขึ้น

Agenda

นิวซีแลนด์:
ฟรีผ้าอนามัยทุกโรงเรียน หลังพบเด็กสาวต้องขาดเรียนทุกเดือนเพราะยากจน
หลังจากที่รัฐบาลค้นพบว่าเด็ก 1 คนในทุกๆ 12 คนจากทั่วประเทศต้องหยุดเรียนเพราะมีประจำเดือน และฐานนะทางบ้านทำให้ไม่สามารถซื้อผ้าอนามัยได้ไหว

รัฐจึงทำโครงการนำร่อง ทดลองแจกผ้าอนามัยฟรีใน 15 โรงเรียน และในที่สุดโครงการนี้ก็ผ่านฉลุย และปรับมาใช้เต็มตัว คือขยายเป็นแจกฟรีทุกโรงเรียนทั่วประเทศ โดยใช้งบประมาณ​ 540 ล้านบาท ใน 3 ปี

สกอตแลนด์:
ประเทศแรกในโลกที่ผ่านกฎหมายให้แจกผ้าอนามัยฟรีให้กับประชาชน
ข้อมูลจากโซนยุโรปได้เปิดเผยว่า ผู้หญิง 25% ไม่สามารถไปทำงานหรือไปโรงเรียนได้ เพราะขาดกำลังซื้อผ้าอนามัยเมื่อเป็นประจำเดือน
สกอตแลนด์จึงถือได้ว่าเป็นประเทศแรกในโลก ที่ออกนโยบายผ้าอนามัยฟรี โดยประชาชนสามารถรับผ้าอนามัยฟรีได้ที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย ร้านขายยา ศูนย์เยาวชน ฯลฯ

นโยบายนี้ใช้งบประมาณ​ราว ๆ 400 ล้านบาทต่อปี

สหราชอาณาจักร:
เด็กหลายคนต้องขาดเรียนเพราะไม่สามารถซื้อผ้าอนามัยได้ และมีเด็กกว่าที่ถูกล้อเลียนหากเอ่ยปากเรื่องนี้ หรือมีประจำเดือนเลอะ
ที่น่าเศร้าก็คือบางคนต้องใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ ผ้าเช็ดหน้า หรือถุงเท้าเก่าแทนการใช้ผ้าอนามัย ซึ่งเสี่ยงเลอะเทอะและไม่ดีต่อสุขอนามัยเป็นอย่างมาก เด็ก ๆ จึงเลือกที่จะหยุดเรียนไปเลย

สหราชอาณาจักรจึงประกาศยกเลิกภาษีผ้าอนามัย (จากเดิม 5%) ทั้งแบบแผ่น และแบบสอด เพื่อลดภาระค่าผ้าอนามัยลง

อินเดีย:
ตัดมดลูก ลดภาระจากประจำเดือน
เด็กและผู้หญิงในอินเดียจำนวนมาก เข้าไม่ถึงสินค้าเกี่ยวกับสุขอนามัยของผู้หญิง โดยเฉพาะผ้าอนามัยที่ต้องใช้ทุก ๆ เดือน หลายพื้นที่ในชนบท ใช้ใบไม้ ขี้เถ้า หรือแม้แต่ขี้เลื่อยแทนผ้าอนามัย ทำให้เด็ก ๆ ไม่ไปเรียนเนื่องจากความไม่สะดวกจากการไม่มีผ้าอนามัยใช้
แต่หญิงสาววัยทำงานนั้นเจอสิ่งที่แย่ยิ่งกว่า โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดการศึกษา เพราะที่ผ่านมามีรายงานระบุว่าผู้หญิงอินเดียหลายพันคน เข้ารับการตัดมดลูกเพื่อให้ได้ทำงานเป็นคนตัดอ้อย
หญิงสาวเลือกตัดมดลูกทิ้ง เพราะนายจ้างไม่อยากจ้างผู้หญิงที่ต้องลางานเมื่อมีประจำเดือน ประกอบกับความเป็นอยู่ที่ไม่ถูกสุขอนามัย ถ้าพวกเธอเจ็บป่วย หมอก็จะแนะนำให้ตัดมดลูกเพื่อลดภาระ แม้จะต้องเจอกับผลข้างเคียงที่ตามมาหลังตัดมดลูกก็ตาม

แม้จะมีรายงานว่าทัศนคติทางลบของสังคมอินเดียต่อประจำเดือนยังมีอยู่ แต่รัฐบาลก็ยินยอมประกาศยกเลิกภาษีผ้าอนามัย (เดิม 12%) เพื่อให้คนจนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ในปี 2018 ก็มีส.ส.หญิงเสนอร่างกฎหมาย “สวัสดิการผู้มีประจำเดือน” ในสภาด้วย แต่ยังไม่สัมฤทธิ์ผล

นอกจากประเทศเหล่านี้ก็มีสหรัฐ (บางรัฐ),​ ไอร์แลนด์, มาเลเซีย,​ เลบานอน, จาไมก้า, ไนคารากัว, ไนจีเรีย และแทนซาเนีย ที่ยกเลิกการเก็บภาษีผ้าอนามัยแล้ว

ไทย:
เป็นสินค้าควบคุม แต่ยังเก็บภาษี
ราคาผ้าอนามัย/ค่าครองชีพของไทยยังสูงอยู่ ถ้าดูค่าผ้าอนามัยต่อ 1 ห่อเล็ก ราคาเท่า ๆ หรือแพงกว่าข้าว 1 จานโดยทั่วๆ ไป ซึ่งตามหลักสุขอนามัย จะต้องเปลี่ยนถึงอย่างน้อย 3-5 ชิ้นต่อวัน ไม่นับที่ว่าจะต้องใช้หลาย ๆ แบบ สำหรับกลางวันและกลางคืน
ราคาผ้าอนามัยที่ค่อนข้างแพงนี้ ทำให้ปัญหาขาดแคลน/เข้าไม่ถึงในกลุ่มคนรายได้น้อย ลามไปถึงพื้นที่ในอย่างในเรือนจำ ที่เคยมีการรณรงค์ขอบริจาคผ้าอนามัยสำหรับผู้ต้องขังด้วย
ถึงแม้ว่าผ้าอนามัยในไทย ถูกขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าควบคุมมาตั้งแต่ปี 2551 และการจะขอเปลี่ยนแปลงราคาต้องขออนุญาต และชี้แจงต้นทุนกับภาครัฐก่อน
แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ผ้าอนามัยที่เป็นของใช้จำเป็น โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มรายได้น้อยแล้ว จะเป็นไปได้หรือไม่ทที่รัฐจะช่วยลดภาระภาษีตรงนี้เสียที

[Total: 4 Average: 5]

Leave a Reply