ไคลโนมาเนีย: เช็คด่วนเป็นโรคเสพติดการนอนรึป่าว

ไคลโนมาเนีย (Clinomania) นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก โดยคำว่า “clino-” นั้นหมายถึงเตียงนอน ส่วน “-mania” หมายถึง การติดอยู่กับสิ่งนั้น รวมกันก็จะประมาณ “การติดอยู่กับเตียงนอน” นั่นเอง

ซึ่ง Dr. Mark Salter จาก Royal College of Psychiatrists ได้อธิบายให้เราเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ไคลโนมาเนีย มันคือความรู้สึก “ไม่อยากลุกขึ้นจากเตียงนอนในตอนเช้า” โดยบางครั้งมีผลมาจากภาวะซึมเศร้า รวมถึงการอ่อนล้าเรื้อรังของร่างกาย และจิตใจ โดยอาจมาจากสิ่งที่เราต้องเจอในแต่ละวันไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตหรือว่าการทำงาน ซึ่งเมื่อสะสมมากเข้าก็ส่งผลให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า จนนำมาซึ่งอาการติดเตียงในที่สุด และนี่อาจส่งผลต่อเนื่องให้พัฒนาเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคจิตอารมณ์อื่นๆ ตามมาได้ด้วยเช่นกัน

มีคนจำนวนไม่น้อยหรอกที่ชอบนอนตื่นสาย ๆ หรือให้นอนทั้งวันแบบที่เรียกว่านอนกินบ้านกินเมืองก็ยังได้ แถมยังจะฟินมาก ๆ อีกต่างหากถ้าได้นอนขลุกอยู่บนเตียงทั้งวัน ซึ่งพฤติกรรมการนอนไม่ยอมลุกจากเตียงแบบนี้ไม่ใช่แค่นิสัยส่วนตัวรายบุคคลหรอกทว่าบางเคสอาจยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีอาการ Clinomania หรือ Dysania อาการของคนที่ชอบนอนอยู่บนเตียง อยากนอนทั้งวันไม่ต้องทำอะไรเลยติดตัวอยู่ ซึ่งอาการ Clinomania หรือ Dysania ที่ว่านี้ก็นับเป็นอาการป่วยเบา ๆ ซะด้วยสิ แล้วคุณล่ะ เป็นโรค Clinomania หรือ Dysania กันหรือเปล่า ?

ที่จริงแล้วอาการของ ไคลโนมาเนียนั้นเป็นอย่างไร?

เรียกแบบบ้านๆ ให้เห็นภาพชัดๆ ก็คงจะอาการประมาณ “เตียงดูด” นั่นแหละ กล่าวคือผู้ที่มีอาการนี้นั้นจะไม่อยากจะลุกไปไหน หรือว่าทำอะไรทั้งนั้น ซึ่งหากเป็นหนักแล้ว ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เพราะจะว่าไปไคลโนมาเนียนั้นถือว่าเป็นโรคจิตเบาๆ ชนิดหนึ่งก็ว่าได้

อาการทางกาย ไคลโนมาเนีย

อาการทางจิต ไคลโนมาเนีย

  1. คอยบอกตัวเองว่าต้องการนอนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในบางรายนั้นจะมีภาวะเครียดปะปนอยู่ด้วย
  2. รู้สึกเครียด และเป็นกังวลว่าจะถึงเวลาที่ต้องตื่นนอน หรือต้องลุกขึ้นจากเตียง เพราะความสุขที่สุดของชีวิตคือการได้อยู่บนเตียงทั้งวันนั่นเอง
  3. ถ้าต้องทำกิจกรรมใดก็อยากที่จะทำบนเตียงเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นดูโทรทัศน์ เล่นโทรศัพท์มือถือ เล่นเกม อ่านหนังสือ ฯลฯ หรือ แม้กระทั่งกินก็ตาม
  4. กว่าจะลุกจากเตียงได้ในแต่ละครั้งนั้นมักจะอ้อยอิ่งใช้เวลานาน
  5. เตียงนอน คือที่แรกที่คิดถึง ไม่ว่าจะสุขหรือเศร้าก็ตาม ซึ่งแม้ว่าจะใช้ชีวิตอยู่นอกบ้าน ก็รู้สึกอยากให้มีเตียงมาอยู่ใกล้ๆ ด้วย และรอคอยช่วงเวลาที่จะได้กลับไปอยู่บนเตียงอยู่ตลอดเวลา

แล้วจะแยกแยะได้ยังไงว่าเราเป็นไคลโนมาเนียอยู่หรือเปล่า?

นอกจากอาการที่พูดถึงข้างต้นแล้ว ถ้าคนปกติทั่วไป อยากนอนต่อเพราะความอ่อนเพลีย ก็คงจะนอนแค่ 1-2 ชั่วโมงก็หายแล้ว แต่คนที่เป็นไคลโนมาเนียไม่เป็นแบบนั้น พวกเขาจะนอนยาวไปเรื่อยๆ แม้จะไม่ได้รู้สึกอ่อนเพลียหรือง่วงเลยก็ตาม

Clinomania VS โรคซึมเศร้า

คนที่ชอบนอนอยู่บนเตียงทั้งวัน แสดงให้เห็นถึงอาการของคนไร้แรงบันดาลใจในการทำอะไร ซึ่งในทางจิตวิทยาจะนับรวมเป็นอาการหนึ่งของโรคซึมเศร้าหรือความเครียดหนัก ๆ ด้วย
   
ทั้งนี้ก็ได้มีงานวิจัยให้ข้อมูลเพิ่มเติมมาว่า ผู้ป่วยบางรายอาจไม่ได้มีอาการ Clinomania ก่อนจะเป็นโรคซึมเศร้า ทว่าโรคซึมเศร้าต่างหากที่ผลักดันให้เกิดอาการ Clinomania หรือความรู้สึกอยากนอนอยู่บนเตียงไปทั้งวัน หรือบางรายอาจชอบนอนเฉย ๆ จนติดเป็นนิสัย นานวันไปจึงเริ่มไร้จุดหมายของชีวิต จนเกิดโรคซึมเศร้าก็มีให้เห็นบ้าง

ไคลโนมาเนีย รักษาได้อย่างไร?

ในการรักษาสามารถทำได้ 3 กรณี ดังนี้

1. การออกกำลังกาย

ในกรณีที่อาการของไคลโนมาเนียอยู่ในระยะเริ่มต้น จิตแพทย์อาจจะแนะนำให้ผู้ป่วยลองออกกำลังกายดูก่อน นั่นก็เพราะการออกกำลังกายนั้นเป็นวิธีหนึ่ง ที่ช่วยเพิ่มความรู้สึกสดชื่น และกระปรี้กระเปร่าได้ตามธรรมชาตินั่นเอง

2. การปรับพฤติกรรมการบริโภค

บางทีความอ่อนเพลียจนทำให้รู้สึกอยากนอนทั้งวันนั้นอาจเป็นเพราะร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรืออาจเป็นเพราะพฤติกรรมการบริโภคอาหารชวนง่วงเป็นประจำจนทำให้เกิดอาการ ไคลโนมาเนียได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าวันไหนที่นอนทั้งวันจนรู้สึกไม่สดชื่น ลองดื่มกาแฟเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกายดู หรือจะดื่มน้ำหวานเย็นๆ ดูก่อนก็อาจจะช่วยได้นะ

3. การใช้ยารักษา

โดยวิธีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการติดเตียงขั้นรุนแรงเป็นหลัก และการใช้ยานั้นจะอยู่ภายใต้การดูแลของจิตแพทย์เท่านั้น ซึ่งโดยส่วนมากจิตแพทย์จะเลือกใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อเซโรโทนิน (serotonin) กล่าวคือนี่จะเป็นการบำบัดด้วยการปรับฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการนอนหลับ และอารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วย ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วก็จะคล้ายการรักษาโรคเครียด และโรคซึมเศร้านั่นเองสรุปแล้วพฤติกรรมบางอย่างที่เราคิดว่าเป็นความเคยชิน ทำจนติดเป็นนิสัย อย่างการนอนกินบ้านกินเมือง แท้จริงแล้วอาจบ่งบอกได้ถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจของเราก็ได้นะ

ฉะนั้นหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง และคนรอบข้างอยู่เสมอก็จะดีมากๆ ครับอย่างไรก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อที่จะรับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

[Total: 61 Average: 4.9]

Leave a Reply