เบาหวาน คือ โรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนำน้ำตาลไปใช้ประโยชน์อันเกี่ยวเนื่องกับความบกพร่องของฮอร์โมนินซูลิน (insulin) ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งก่อให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา
ในบ้านเราพบโรคนี้ประมาณร้อยละ 4-6 ของประชากรทั่วไปและพบได้มากขึ้นตามอายุที่มากขึ้นมีการสำรวจพบว่าคนไทยที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปเป็นเบาหวานร้อยละ 9.6 ผู้ที่เป็นเบาหวานมักมีประวัติว่ามีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องเป็นโรคนี้และมักมีภาวะน้ำหนักเกินร่วมด้วย
สาเหตุ เบาหวาน
เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนอินซูลิน
อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยตับอ่อน (ส่วนที่ เรียกว่า บีตาเซลล์) ทำหน้าที่ช่วยนำน้ำตาลหรือกลูโคสในเลือด (ซึ่งได้จากอาหารที่กินโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก แป้ง คาร์โบโฮเดรต ของหวาน) เข้าสู่เซลล์ทั่วร่างกายเพื่อเผาผลาญให้เป็นพลังงานสำหรับการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ
ผู้ที่เป็นเบาหวานจะพบว่าตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลยหรือผลิตได้ปกติ แต่ประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง(เรียกว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือ insulin resistance เช่นที่พบในคนอ้วน) เมื่อขาดอินซูลินหรืออินซูลินทำหน้าที่ไม่ได้ น้ำตาลในเลือดจึงเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ได้น้อยกว่าปกติ จึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลก็ถูกขับออกมาทางปัสสาวะจึงเรียกว่า เบาหวาน
ผู้ป่วยที่เป็นมาก คือ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก มักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมากเนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงเอาน้ำออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่านปัสสาวะมากก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำต้องคอยดื่มน้ำบ่อยๆ และเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาพลาญเป็นพลังงานจึงหันมาเผาพลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทนทำให้ร่างกายผ่ายผอมไม่มีไขมันกล้ามเนื้อฝ่อลีบอ่อนเปลี้ยเพลียแรง
นอกจากนี้ การมีน้ำตาลในเลือดสูงนานๆ ทำให้อวัยวะต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงผิดปกติและนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย
เบาหวานสามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิดซึ่งมีสาเหตุความรุนแรงและการรักษาต่างกันที่สำคัญได้แก่
1. เบาหวานชนิดที่1 (type 1 diabets mellitus)
เป็นชนิดที่พบได้น้อยแต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี แต่ก็อาจพบในผู้สูงอายุได้บ้างตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะผลิตอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมีการสร้างสารภูมิต้านทานขึ้นต่อต้านทำลายตับอ่อนของตนเองเองจนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ดังทีเรียกว่า โรคภูมิต้านตนเอง(autoimmune) ทั้งนั้นเป็นผลมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ร่วมกับการติดเชื้อหรือการได้รับสารพิษจากภายนอก
ผู้ป่วยจะมีรูปร่างผอมมีอาการของโรคชัดเจน และจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนทุกวันไปเช่นนั้นร่างกายจะหันไปเผาพลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้นร่างกายจะหันไปเผาพลาญไขมันแทนจนทำให้ฝ่ายผอมอย่างรวดเร็วและถ้าเป็นรุนแรงจะมีการคั่งของสาคีโตน (ketones) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการเผาพลาญไขมันสารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้ผู้ป่วยหมดสติถึงตายได้รวดเร็ว เรียกว่า ภาวะคั่งสารคีโตน (ketosis)
ผู้ป่วยกลุ่มนี้แต่เดิมเรียกว่า เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (insulin – dependent diabetes mellitus/IDDM)
2. เบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes melltus)
เป็นเบาหวานชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักมีความรุนแรงน้อยมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไปและมีแนวโน้มพบในเด็ก/วัยรุ่นมากขึ้นตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถผลิตอินซูลินได้แต่ไม่เพียงพบกับความต้องการของร่างกาย หรือผลิตได้พอแต่เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
จึงทำให้มีน้ำตาลคั่งในเลือดกลายเป็นเบาหวานได้ ผู้ป่วยชนิดนี้มักมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน สาเหตุอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ อ้วนเกินไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการชัดเจนและมักไม่เกิดภาวะคีโตซิสเช่นที่เกิดกับชนิดที่ 1 การควบคมอาหาร หรือการใช้ยาเบาหวานชนิดกินมักได้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลสูงมากๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินตลอดไป
ผู้ป่วยกลุ่มนี้แต่เดิมเรียกว่า เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (non insulin–dependent diabetes melitus/NIDDM) และเนื่องจากเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุด เมื่อพูดถึงโรคเบาหวานจึงมักหมายถึงเบาหวานชนิดนี้
3. เบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะอื่น ๆ อาทิ
- เกิดจากยา เช่น สตีรอยด์ ยาขับปัสสาวะไทอาไซด์ กรดนิโคตินก ฮอร์โมนไทรอยด์
- พบร่วมกับโรคหรือภาวะผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น
- พบร่วมกับโรคติดเชื้อ เช่น คางทูม หัดเยอร์มันโดยกำเนิด โรคติดเชื้อไวรัสไซโตเมกะโล (cytomegalovirus)
- พบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น มะเร็งตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมักพบในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัดโรคคุชซิง กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิด หลายถุง อะโครเมกาลี (acromegaly) ฟีโอโคร โมไซโตมา (pheochromocytoma) ซึ่งเป็นเนื้องอกของ ต่อมหมวกไตชนิดหนึ่ง)
ถ้าเกิดจากสาเหตุที่แก้ไขได้ เช่น ผ่าตัดเนื้องอกออกไปหรือหยุดยาที่เป็นต้นเหตุโรคเบาหวานก็สามารถหายได้
4. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestationas diabêtes mellitus/GDM)
ขณะตั้งครรภ์รกสร้างฮอร์โมนหลายชนิดซึ่งเข้าไปในร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เป็นเหตุให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนกลายเป็นเบาหวานได้หลังคลอดระดับน้ำตาลในเลือดมารดามักจะกลับสู่ปกติ
หญิงกลุ่มนี้อาจคลอดทารกตัวโต (น้ำหนักแรก เกิดมากกว่า 4 กก.) มักเป็นเบาหวานซ้ำอีกเมื่อตั้งตั้งครรภ์ใหม่และมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานเรื้อรังตามมาในระยะยาว
อาการ เบาหวาน
ในรายที่เป็นมาก ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 200 มก./ดล. ซึ่งพบในกลุ่มเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายดีและไม่มีอาการผิดปกติใดๆ มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะหรือตรวจ เลือดขณะไปพบแพทย์ด้วยเรื่องอื่น หรือจากการตรวจสุขภาพ
ในรายที่เป็นมาก ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 200 มก./ดล. ซึ่งพบในกลุ่มเบาหวานชนิดที่ 1 และบางส่วนของเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นถึงขั้นรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและออกครั้งละมากๆ กระหายน้ำบ่อยหิวบ่อยหรือกินข้าวจุ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง บางรายอาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 อาการต่างๆ มักเกิดขึ้นรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวลดลงฮวบฮาบ (กินเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน) ผู้ป่วยเด็กบางรายอาจมาโรงพยาบาลด้วยอาการหมดสติด้วยภาวะคีโตแอซิโดซิส (ketoacidosis) ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอายุน้อย และรูปร่างผอม
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่จะไม่ มีอาการแสดงชัดเจน ส่วนน้อยจะมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น น้ำหนักตัวอาจลดลงบ้างเล็กน้อย บางรายอาจมีน้ำหนักขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนอยู่แต่เดิมในรายที่เป็นเรื้อรังมานาน (ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการปัสสาวะบ่อยมาก่อน) อาจมีอาการคันตามตัวเป็นฝีหรือโรคติดเชื้อราที่ผิวหนังบ่อย หรือ เป็นเรื้อรังหรืออาจมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อน อื่นๆ เช่น ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือ ปลาย เท้า ตามัวลงทุกที หรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย เจ็บจุกหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
สิ่งตรวจพบ เบาหวาน
ในรายที่เป็นระยะแรกเริ่มหรือเป็นไม่มาก มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติตามร่างกาย
ในรายที่เป็นเรื้อรังมานาน อาจพบอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ต้อกระจก แผลเรื้อรัง หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
ผู้ป่วยทุกรายจะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะและระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 8 ชั่วโมง (fasting plasma glucose/FPG) มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 มก./กล.
การป้องกัน เบาหวาน
สำหรับคนทั่วไปและผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นเบาหวานแฝง ควรปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นเบาหวาน ดังนี้
- ควบคุมอาหาร โดยลดของหวานๆ และไขมัน กินข้าวเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางเมื้อ กินพืชผักผลไม้และเมล็ดธัญพืชให้มาก กินปลาเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วเหลือง เต้าหู้เป็นประจำ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 กก./ม2.
- เส้นรอบเอว ชาย < 90 ซม. หญิง < 80 ซม. เหล่านี้อาจมีส่วนช่วยป้องกันมิให้เป็นเบาหวานชนิด ที่ 2 ได้ (ส่วนเบาหวานชนิดที่ 1 อาจหาทางป้องกันได้ยาก)
นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์จัด (อาจทำให้ตับอ่อนอักเสบหรือตับแข็ง ซึ่งทำให้เป็นเบาหวานตามมาได้) และอย่าใช้ยาสตีรอยด์พร่ำเพรื่อ
1. เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานานหรือตลอดชีวิต ซึ่งหากได้รับการรักษาอย่างจริงจังและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ก็จะมีชีวิตเหมือนคนปกติได้แต่ถ้ารักษาไม่จริงจังนอกจากอาจมีอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนแล้วการปล่อยให้มีระดับน้ำตาลสูงจะทำให้บีตาเซลล์ของตับอ่อนถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยลงไปอีก ส่งผลให้เบาหวานเป็นรุนแรงขึ้นและดื้อต่อการรักษามากขึ้นจนในที่สุดต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน ดังนั้นจึงควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจธรรมชาติของโรครวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อให้เห็นประโยชน์และแนวทางในการควบคุมโรค มิเช่นนั้นผู้ป่วยอาจละเลยในการดูแลตนเอง ดิ้นรนเปลี่ยนหมอไปเรื่อยๆ หรือหันไปกินยาหม้อหรือสมุนไพรแทน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการวิจัยที่ยืนยันว่ามีสมุนไพรชนิดใดที่ใช้รักษาเบาหวานได้ผลดีและปลอดภัย
2. ผู้ป่วยที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ มีอาการใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็นเหมือน เวลาหิวข้าว ถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นลมหมดสติหรือชักได้ เมื่อเริ่มให้ยารักษาเบาหวานควรบอกให้ผู้ป่วยระวังดูอาการดังกล่าวและควรพกน้ำตาล ลูกอมหรือของหวานติดตัวประจำ ถ้าเริ่มรู้สึกมีอาการดังกล่าว ให้ผู้ป่วยรีบกินน้ำตาล ลูกอมหรือของหวานจะช่วยให้หายเป็นปลิดทิ้งทันทีถ้าตรวจปัสสาวะตอนนั้นจะไม่พบน้ำตาลเลย หรือตรวจระดับน้ำตาลในเลือดมักมีค่าต่ำกว่า 30- 50 มก./ดล.ในผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำตาลได้ หรือต่ำกว่า 70 มก./ดล.ในผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำตาลไม่ดี
ผู้ป่วยควรทบทวนดูว่ากินอาหารน้อยไปกินหรือฉีดยาเบาหวานขนาดมากเกินไป หรือออกแรงกายมากไปกว่าที่เคยทำอยู่หรือไม่ หรือมีการใช้ยาอื่นที่อาจเสริมฤทธิ์ยาเบาหวานหรือไม่ ควรปรับปัจจัยเหล่านี้ให้ดีจะช่วยป้องกันมิให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ถ้ายังเป็นอยู่บ่อยๆ ควรไปปรึกษาแพทย์ที่รักษาเพื่อค้นหาสาเหตุและให้การแก้ไขตามสาเหตุต่อไป
ผู้ป่วยที่กินอาหารผิดเวลาก็อาจเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน จึงต้องหมั่นกินข้าวให้ตรงเวลาทุกเมื้อ
3. ผู้ป่วยอย่าซื้อยาชุดกินเอง เพราะยาบางอย่างอาจเพิ่มน้ำในเลือดได้ เช่น สตีรอยด์ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น และยาบางอย่างอาจเสริมฤทธิ์ของยารักษาเบาหวานทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้ เช่น แอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ยากลุ่มซัลฟา (เช่น แอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ยากลุ่มซัลฟา (เช่น โคไตรม็อกซาโซล) เป็นต้น
ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยาเอง ต้องแน่ใจว่ายานั้นไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
4. ควรแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงไปรับการตรวจกรองโรคเบาหวาน
สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยมีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อนควรไปรับการตรวจวัดน้ำตาลในเลือดเพื่อดูว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) หรือไม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรได้รับการดูแลจากสูติแพทย์ร่วมกับอายุรแพทย์อย่างจริงจัง
5. ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย ซึ่งถือเป็นหัวใจของการรักษาโรคนี้ มีดังนี้
ก. พบแพทย์และตรวจเลือดตามนัด ขอย้ำว่าถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเล็กน้อย (140 -200 มก./ดล.) ก็อาจไม่มีอาการผิดปกติให้รู้สึกได้ อาจทำให้ผู้ป่วยชะล่าใจปล่อยตัวจนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้ ถือว่าโรคนี้เป็นภัยเงียบ (silent killer) ชนิดหนึ่ง หากเป็นไปได้ควรตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือดทุกวัน หรือ ทุกสัปดาห์
ข. กินยาลดน้ำตาลหรือฉีดอินซูลินตามขนาดที่แพทย์สั่ง อย่าลดยาหรือปรับยาตามความรู้สึกหรือการคาดเดาของเองเป็นอันขาด การใช้ยาเกินขนาดอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ส่วนการใช้ยาต่ำกว่าขนาด อาจทำให้ระดับน้ำตาลสูง ควบคุมโรคไม่ได้
ค. ควบคุมอาหารการกินอย่างเคร่งครัดโดย มีหลักง่ายๆ ดังนี้
- วันละ 3 มื้อ กินให้ตรงเวลา ไม่งดมื้อใดมื้อหนึ่ง กินในปริมาณใกล้เคียงกันทุกวันทุกเมื้อ รู้จักใช้หลักการแลกเปลี่ยนอาหาร (food exchange) ของอาหารแต่ละหมู่ เพื่อให้ได้ปริมาณแคลอรีที่ใกล้เคียงกัน
- อย่ากินจุบจิบ ไม่เป็นเวลา
- ในแต่ละเมื้อ ให้กินอาหารที่มีทั้งแป้ง เนื้อ สัตว์ ไขมัน และผัก
- หลีกเลี่ยงการกินน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำหวาน น้ำอัดลม ครื่องดื่มบำรุงกำลัง ขนมหวาน ขนมเชื่อม น้ำตาล นมหวาน (ให้ดื่มนมจืดแทน) ผลไม้ที่มีรสหวานจัด (เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย ลิ้นจี้ องุ่น ละมุด อ้อยเป็นต้น) ผลไม้กระป๋อง ผมไม้แช่อิ่ม หรือเชื่อมน้ำตาล
- ถ้าชอบ ให้ใช้น้ำตาลเทียมแทน
- ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาดองเหล้า
- หลีกเลี่ยงการกินเครื่องในสัตว์ ไขมัน สัตว์ น้ำมันหมู เนย มันหมู มันไก่ เนื้อติดมัน หมูสามชั้น ครีม กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ไข่แดง หอยนางรม อาหารทอด (เช่น ไก่ทอด กล้วยแขก ปาท่องโก๋ มันทอด ข้าวเกรียบทอด เป็นต้น)
- หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด และอาหารสำเร็จรูป (เช่น ไส้กรอก กุนเชียง เป็นต้น)
- กินอาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ขนมจีน
- ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ถั่ว ข้าวโพด เผือก มัน ขนมปัง ในจำวนพอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
- กินผักให้มากๆ (ปริมาณไม่จำกัด) โดยเฉพาะผักประเภทใบและถั่วสด เช่น ผักกวางตุ้ง ผัก คะน้า ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักกระเฉด มะระ มะเขือยาว ถั่วงอก ถั่วแขก ถั่วฝักยาว เป็นต้น
- กินผลไม้ที่มีผลรสหวานไม่มาก ได้มื้อละ 6-8 คำ เช่น ส้ม มังคุด มะม่วง มะละกอ พุทรา ฝรั่ง สับปะรด แอปเปิ้ล ชมพู่ กล้วย เป็นต้น
ง. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ หรือทำงานออกแรงกายให้มาก (เช่น ทำสวน ขุดดิน ยกของ กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างรถ) ควรทำในปริมาณพอๆ กันทุกวัน อย่าหักโหม (ถ้าออกกำลังมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้)
ทั้งการควบคุมอาหารและการออกกำลังควรให้เกิดความพอเหมาะ ที่จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าอ้วนเกินแสดงว่ายังปฏิบัติทั้ง 2
เรื่องนี้ไม่ได้เต็มที่
จ. พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ร่าเริง อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล (ความเครียดอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้)
ถ้ามีโอกาสควรทำงานอาสาสมัครหรือสาธารณกุศล เข้าสมาคมชมรมหรือกลุ่มกิจกรรมต่างๆ จะช่วยให้รู้สึกตัวเองมีคุณค่าและหายเครียด
ฉ. ควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด และถ้ามีความดันโลหิตสูงหรือภาวะไขมันในเลือดสูง ควรดูแลรักษาจนสามารถควบคุมโรคได้ มิเช่นนั้นอาจทำหลอดให้เลือดแดงแข็งเร็วขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่างๆ
ช. หมั่นดูแลรักษาเท้า ดังนี้
- ทำความสะอาดเท้าและดูแลผิวหนังทุกวัน เวลาอาบน้ำควรล้างฟอกสบู่ตามซอกนิ้วเท้าและส่วนต่างๆ ของเท้าอย่างทั่วถึงหลังล้างเท้าเรียบร้อยแล้ว ซับทุกส่วนโดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้าให้แห้งด้วยผ้าขนหนู ระวังอย่าเช็ดแรงเกินไปเพราะผิวหนังอาจถลอกเป็นแผลได้
- ถ้าผิวหนังที่เท้าแห้งเกินไป ควรใช้ครีมทาผิวทาบางๆ โดยเว้นบริเวณซอกนิ้วเท้า และรอบเล็บเท้า
- ตรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า ฝ่าเท้า บริเวณที่เป็นจุดรับน้ำหนักและรอบเล็บเท้าเพื่อดูว่ามีรอยซ้ำ บาดแผล หรือการอักเสบหรือไม่ หากมีแผลที่เท้าต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
- การตัดเล็บ ควรตัดด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันมิให้เกิดเล็บขบ ซึ่งอาจลุกลามและเป็นสาเหตุของการถูกตัดขาได้
- ควรตัดเล็บในแนวตรง ๆ และอย่าให้สั้นชิดผิวหนังจนเกินไป
- ไม่ควรใช้วัตถุแข็งแคะซอกเล็บ
- การตัดเล็บ ควรทำหลังล้างเท้าหรืออาบน้ำใหม่ๆ เพราะเล็บจะอ่อนและตัดง่าย ถ้าสายตามองเห็นไม่ชัดควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้ - ป้องกันการบาดเจ็บและเกิดแผลโดย การสวมรองเท้าทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน (อย่าเดินเท้าเปล่า) ควรเลือกรองเท้าที่สามารถหุ้มรอบเท้าได้ทุกส่วนรวมทั้งข้อเท้า (เช่น รองเท้าผ้าใบ) และสวมพอดี ไม่หลวมไม่บีบรัด พื้นนุ่ม มีการระบายอากาศและความชื้นได้ ควรสวมถุงเท้าด้วยเสมอ โดยเลือกสวมถุงเท้าที่สะอาด ไม่รัดแน่น และเปลี่ยนทุกวัน ก่อนสวมรองเท้าควรตรวจดูว่ามีวัตถุมีคมตกอยู่ในรองเท้าหรือไม่ สำหรับรองเท้าคู่ใหม่ ในระยะแรกเริ่มควรใส่เพียง ชั่วเวลาสั้นๆ ในแต่ละวัน เพื่อให้รองเท้าค่อย ๆ ขยายปรับตัวเข้ากับเท้าได้ดี
- หลีกเลี่ยงการตัด ดึง หรือแกะหนังแข็งๆ หรือตาปลาที่ฝ่าเท้า และไม่ควรซื้อยากัดลอกตาปลามาใช้เอง
- ถ้ารู้ว่าเท้าชา ห้ามวางขวดหรือกระเป๋าน้ำร้อน หรือประคบด้วยของร้อนใดๆ จะทำให้เกิดแผลไหม้พองขึ้นได้ (วิธีเหล่านี้ไม่ช่วยให้อาการชาดีขึ้น แต่อย่างใด)ถ้ามีตุ่มหนอง มีบาดแผล หรือการอักเสบที่เท้าควรรีบไปพบแพทย์รักษา อย่าใช้เข็มบ่งเองหรือใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนหรือไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ชะแผล ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่และปิดแผลด้วยผ้าก๊อชที่ปลอดเชื้อและติดด้วยปลาสเตอร์อย่างนิ่ม (เช่นไมโครพอร์) อย่าปิดด้วยปลาสเตอร์ธรรมดา
ซ. ผู้ที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ประจำทุกวัน ถ้าหากมีอาการหิว ใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย ตัวเย็น อาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต้ำ ควรรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน ผู้ป่วยควรสังเกตอาการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่กินอาหารน้อยหรือกินผิดเวลา หรือทำงานหรือออกกำลังกายหักโหมกว่าปกติหรือใช้ยาเกินขนาดผู้ป่วยควรพกน้ำตาล ลูกอม หรือของหวานติดตัวเวลาเดินทางไปไหนมาไหน ไว้ใช้กินทันทีที่มีอาการสงสัยว่าอาจเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ฌ. หมั่นกรวดน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ จะช่วยให้ทราบว่าควบคุมเบาหวานได้ดีเพียงไร ควรปรึกษาแพทย์ถึงเทคนิคการตรวจและความถี่ของการตรวจ การสังเกตจากอาการเพียงอย่างเดียว บอกไม่ได้ว่าควบคุมโรคได้หรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ควรซื้อเครื่องกรวดน้ำตาลในเลือดซึ่งมีเทคนิคการตรวจอย่างง่ายๆ ไว้ตรวจเองที่บ้าน จะช่วยให้สามารถประเมินผลการรักษา และปรับอาหารให้สอดคล้องกันระดับนำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น
ญ. ควรพกบัตรประจำตัวที่ระบุถึงโรคที่เป็นและยาที่ใช้รักษา หากระหว่างเดินทางไปไหนมาไหนประสบอุบัติเหตุ หรือเป็นลมหมดสติ แพทย์จะได้ให้การช่วยเหลือที่ถูกต้องและทันการ
การรักษา เบาหวาน
1. การวินิจฉัย
สำหรับคนทั่วไป (ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์) หากมีอาการของเบาหวาน (เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย) หรือไม่มีอาการแต่ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ หรือน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หรือเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อโรคนี้ (เช่น อ้วน มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน) ควรส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ดังนี้
ก. กรณีผู้ป่วยไม่มีอาการแสดง ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบเจาะที่แขน (venous blood) หลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (fasting plasma glucose/FPG) ซึ่งสามารถแปลผล ดังนี้
- ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG) มีค่าต่ำกว่า 100 มก./ดล. ถือว่าถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG) มีค่าต่ำกว่า100-125 มก./ดล. ถือว่าเป็นระดับน้ำตาลสูงผิดปกติ(impaired fasting glucose/IFG) เรียกว่า กลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน (categories of increased risk for diabetes) ควรตรวจยืนยันด้วยการทดสอบความทนต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test/OGTT)
- ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG) มีค่าตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป หรือระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มกลูโคส 2 ชั่วโมงมีค่าตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป ให้สงสัยว่าอาจเป็นเบาหวาน ควรทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FPG หรือ OGTT แล้วแต่กรณี) ซ้ำอีกครั้งในวันหลัง ถ้ายังมีค่าสูงอยู่ในระดับดังกล่าวอีกก็จะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
นอกจากนี้ ยังสามารถวินิจฉัยโรคเบาหวาน จากการตรวจพบระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 6.5 % จากการตรวจ 2 ครั้งในต่างวันกัน
ข. กรณีผู้ป่วยมีอาการชัดเจน ควรตรวจวัด ระดับน้ำตาลในเลือดแบบสุ่มตรวจ คือ ตรวจได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใด ถ้าพบว่ามีค่าตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไปก็สามารถวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
2. เมื่อตรวจพบว่าเป็นเบาหวาน
ควรให้สุขศึกษาแนะนำข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย และควรให้แพทย์พิจารณาให้ยารักษาเบาหวาน นอกจากนี้ แพทย์จะประเมินภาวะเสี่ยงอื่นๆ (เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ ภาวะน้ำหนักเกิน เป็นต้น) และทำการควบคุมภาวะเสี่ยงต่างๆ (เช่น ให้ยาลดความดัน ยาลดไขมัน) ควบคู่กันไปให้ได้ตามเป้าหมาย ถ้าควบคุมได้ดีอย่างต่อเนื่อง ก็จะลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลงได้
3. ในการติดตามผลการรักษา
ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำเพื่อดูว่าระดับน้ำตาลมีค่าเท่าไรสูงหรือต่ำเกินไปไหม มีประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนยาและพฤติกรรมของผู้ป่วย
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (ซึ่งใช้ยาฉีดอินซูลิน) ควรตรวจระดับน้ำในเลือดวันละ 2-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ถ้ามีการปรับเปลี่ยนอาหาร ออกแรงกาย หรือมีการเจ็บป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย อาจต้องตรวจบ่อยขึ้นในกรณีที่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีอย่างสม่ำเสมอแล้ว อาจตรวจน้ำตาลในเลือดสัปดาห์ละ 1 วัน (ตรวจ 4-5 ครั้งในวันนั้น) หรือตรวจวันละครั้งก่อนอาหารหรือก่อนนอนแต่ละวันเปลี่ยนเวลาตรวจให้ต่างกันไป
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ถ้ารักษาโดยการควบคุมอาหารอย่างเดียวหรือร่วมกับยาเบาหวานชนิด กิน ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสัปดาห์ละ 1-2 วัน วันละ 2 ครั้งก่อนอาหารเช้า 1 ครั้ง อีก 1 ครั้งคือหลัง อาหาร 2 ชั่วโมงหรือก่อนนอน ถ้าใช้ยาฉีดอินซูลินตรวจ สัปดาห์ 2 วัน วันละ 4 ครั้ง หรือตรวจวันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารหรือก่อนนอน โดยแต่ละวันเปลี่ยนเวลาตรวจให้ต่างกันไป
ผู้ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดวันละ 5 ครั้ง คือ ก่อนอาหารเช้า หลังอาหาร 2 ชั่วโมง (เช้า - กลางวัน - เย็น) และก่อนนอน การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดควรฝึกให้ผู้ป่วยตรวจเองที่บ้านหรือไปตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน โดยใช้เครื่องตรวจแบบพกพา (เจาะปลายนิ้ว)
นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานทุกชนิดควรตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมหรือเฮโมโกลมินเอ 1 ซี (HbA 1C) ซึ่งเป็นวิธีตรวจหาระดับน้ำตาลที่เกาะกับเม็ดเลือดแดง สามารถบอกค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในช่วง 2-3 เดือน ที่ผ่านมาควรตรวจทุก 3 เดือน (ในรายที่ควบคุมน้ำตาลได้ดี)
4. ควรส่งผู้ป่วยไปรับการตรวจกรองภาวะแทรกซ้อนและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้
- ประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างน้อยปีละครั้ง ได้แก่ ความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ ภาวะมีสารไข่ขาวในปัสสาวะ (albuminuria) ประวัติการสูบบุหรี่ ประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดในครอบครัว
- ตรวจคลื่นหัวใจ หรือ exercise stress test ปีละครั้ง
- ตรวจระดับครีอะตินีนในเลือด ปีละครั้ง
- ตรวจตาโดยจักษุแพทย์ปีละครั้ง ควรตรวจถี่ขึ้นสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์
- ตรวจความผิดปกติของเท้า (เช่น อาการชาลักษณะการเต้นของชีพจรที่เท้า) ปีละครั้ง ในปัจจุบัน มีการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าเส้นใยเดี่ยว (monofilament) ตรวจหาความเสื่อมของประสาทส่วนปลายก่อนที่ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกชาปลายมือปลายเท้าได้
ทั้งนี้ ถ้าพบความผิดปกติจะได้หาทางป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือชะลอความรุนแรงลง เช่น ให้แอสไพริน กินวันละ 75-162 มก. ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยง (อายุมากกว่า 50 ปีในผู้ชาย หรือ 60 ปีในผู้หญิงและมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง และถ้ามีความดันสูงควรให้ยาควบคุมความดันให้ได้ก่อน มิเช่นนั้น อาจทำให้มีเลือดออกในสมองได้) ให้ยากลุ่มต้านเอช หรือกลุ่ม angiotensin receptor blockers (ARE) เพื่อป้องกันภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ที่ตรวจพบสารไข่ขาวในปัสสาวะ เป็นต้น ในรายที่เคยมีโรคหัวใจและหลอดเลือดแทรกซ้อนมาก่อน ควรให้ยากลุ่มต้านเอชแอสไพรินและสแตติน กินป้องกันไม่ให้กำเริบซ้ำ
5. ถ้าพบป่วยมีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเกิดจากภาวะแทรกซ้อน
เช่น เจ็บแน่นหน้าอก (โรคหัวใจขาดเลือด) แขนขาชา หรืออ่อนแรง (หลอดเลือดสมองตีบตัน) สายตามืดมัว (ภาวะแทรกซ้อนทางตา)เท้าบวม (ไตวาย) มีแผลที่เท้าและผิวหนัง บริเวณนั้นเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำลุกลามเร็ว (แผลติดเชื้อรุนแรง) ปลายนิ้วเท้ามีสีดำคล้ำและ เย็นลงอย่าง
รวดเร็ว (ภาวะอุดตันของหลอดเลือดที่ขา) มีไข้สูง หนาวสั่น (โลหิตเป็นพิษ กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน) เป็นลมหมดสติ (ภาวะหมดสติจากเบาหวาน) เป็นต้น ควรส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในรายที่มีอาการรุนแรง (เช่น อัมพาตเฉียบพลันกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน) จะต้องส่งโรงพยาบาลด่วนและให้การช่วยเหลือขั้นต้น เช่น ฉีดกลูโคสในรายที่ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดต่ำให้น้ำเกลือนอร์มัลในรายที่มีภาวะคีโตแอซิโดซิสหรือน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรง
6. ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวการณ์ตั้งครรภ์
โรคติดเชื้อรุนแรงหรือบาดเจ็บรุนแรง อาจมีระดับน้ำตาลสูง ควรทำการวัดน้ำตาลในเลือดและส่งโรงพยาบาลมักจะต้องใช้ยาฉีดอินซูลินแทนยากินในรายที่เป็นมากอาจต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล
ผู้หญิงที่เป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์โรคจะกำเริบมากขึ้นอาจทำให้มารดาและทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทารกพิการหรือตายมากขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการรักษาจากสูติแพทย์ร่วมกับอายุรแพทย์ใกล้ชิด และควรควบคุมน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย ดังนี้
- ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG) < 95 มก./ดล. หรือ
- ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 1 ชั่วโมง < 140 มก./ดล. หรือ
- ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 2 ชั่วโมง < 120 มก./ดล.
7. ผู้ป่วยที่เป็นแผลอักเสบเป็นฝีหรือพุพอง
ควรให้กินยาปฏิชีวนะ เช่น ไดคล็อกซาซิล โคอะม็อกซิคลาฟ หรือไซโพรฟล็อกซาซิน หากมีอาการอักเสบรุนแรง ควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาล
8. ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย
เช่น ไข้หวัด ท้องเดิน และมีอาการอาเจียน หรือเบื่ออาหาร อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรตรวจน้ำตาลในเลือดวันละ 4 ครั้ง แนะนำให้กินข้าวต้ม โจ๊ก น้ำผลไม้ นม ถั่วเหลืองนมพร่องมันเนย น้ำซุป ถ้ากินไม่ได้เลยควรให้ดื่มน้ำหวานหรือนำอัดลมเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าพบว่ามีระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำเกินไปควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาล
- เบาหวาน เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและวัยผู้ใหญ่กลางคน โดย Ziwilize
- CGM คืออะไร เกี่ยวกับเบาหวานอย่างไร
- เบาหวาน: ที่มาของชื่อ