ไฟโบรสแกน (FibroScan)

ไฟโบรสแกน คือ เทคโนโลยีในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ โดยไม่ต้องเจ็บตัว หรือเจ็บปวดใดๆ กับร่างกาย และลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน  เมื่อเทียบกับการเจาะตัว (Liver Biopsy)

หลักการทำงานของเครื่อง ไฟโบรสแกน
ใช้หลักการปล่อยคลื่นความถี่ต่ำที่ 50 เฮิรตซ์ ด้วยเทคนิค VCTETM (Vibration Controlled Transient Elastograply) เข้าไปในตับแล้ววัดคลื่นที่สะท้อนกลับมาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงต่ำ จากนั้นเครื่องจะประมวลผลออกมา เป็นค่าความแข็งเนื้อตับ หากตับเริ่มแข็ง คลื่นเสียงสะท้อนกลับจะเดินทางเร็ว ค่าที่วัดได้ก็จะสูงตาม มีหน่วยวัดเป็น กิโลพาสคาล(kPa)

ส่วนการวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ สามารถวัดได้โดยมีชื่อเรียกวิธีนี้ว่า CAP(Controlled Attenuation Parameter) ใช้หลักการปล่อยคลื่นเสียงความถี่ต่ำเข้าไปในเนื้อตับ และวัดค่าความต้านทานนั้นๆ หากตับมีปริมาณไขมันสะสมมาก ก็จะมีแรงต้านทานมาก ค่าที่ใด้ก็จะสูงตามมีหน่วยวัดเป็น เดซิเบล/เมตร(dB/m)

ใครที่อยู่กลุ่มเสี่ยงและควรตรวจด้วย FibroScan

  1. ผู้ป่วยโรคตับที่มีผลเลือดค่าการทำงานของตับที่อัตราส่วน AST/AST มากกว่า 1 เพราะกลุ่มนี้มีโอกาสเป็นโรคตับแข็งได้มากขึ้น
  2. มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และ ซี
  3. ดื่มเหล้าเป็นเวลานาน
  4. ทานยา,สมุนไพร ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  5. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือโรคอ้วนลงพุง
  6. กลุ่มภาวะตับคั่งไขมันที่อายุมากกว่า 45 ปี 

ข้อดี ของการตรวจ ไฟโบรสแกน (FibroScan)

1.ไม่เกิดความเจ็บปวด และไม่เป็นอันตรายใดๆ กับร่างกาย
2.ตรวจง่าย รวดเร็ว ใช้เวลาไม่เกิน 5-10 นาที
3.ทราบผลทันที
ในการตรวจจะรู้สึกสั่นสะเทือนบริเวณผิวหนังที่ปลายหัวตรวจเล็กน้อยในกรณีที่ต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด สามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้งและปลอดภัย และควรตรวจจากแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับหรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมจะเป็นผู้ตรวจไฟโบรสแกน

ข้อห้ามในการตรวจ ไฟโบรสแกน(FibroScan)

ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากคลื่นความถี่จากเครื่องไฟโบรสแกนอาจมีผลต่อการพัฒนาการและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ แพทย์จึงไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์เด็ดขาดและไม่ควรให้หญิงตั้งครรภ์อยู่ใกล้กับตัวเครื่องในขณะเปิดใช้งานด้วย

วิธีการตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan)

  • นอนหงายโดยยกแขนทั้งสองข้างไว้เหนือศีรษะ ทาเจลที่หัวตรวจหรือผิวหนังคนไข้เล็กน้อย
  • ทำการตรวจวัดที่บริเวณตำแหน่งตรงกลางเนื้อตับทั้งหมด 10 ครั้งในจุดเดียวกัน
  • ผลที่ได้เป็นค่าความแข็งของตับ เป็นเลขตั้งแต่ 5-75 กิโลพาสคาล และค่าปริมาณไขมันสะสมในตับตั้งแต่ 100-400 เดซิเบล/เมตร ซึ่งแพทย์จะแปลผลที่ได้เพื่อใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคตับ
[Total: 1 Average: 5]