ไขมันพอกตับ

     โรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) หรือไขมันเกาะตับ เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับมากเกินปกติคือประมาณ 5-10% ของตับ โดยน้ำหนักไขมันที่เข้าไปแทรกตับนั้นมักเป็นชนิดไตรกลีเซอไรด์ ภาวะนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติ และไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด แต่อาจเป็นภัยเงียบที่คุณอาจไม่รู้ตัวและบ่งชี้ถึงโรคอื่นๆ ได้

การดำเนินโรคของภาวะไขมันพอกตับ

1.ระยะเริ่มต้น เป็นระยะที่มีการสะสมไขมันในตับ โดยที่ยังไม่มีหรือมีการอักเสบเพียงเล็กน้อย และไม่มีผังผืด
2.ระยะที่สอง เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ และเริ่มมีการสะสมของผังผืดในเนื้อตับ
3.ระยะที่สาม เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ และมีการสะสมของผังผืดในตับอย่างชัดเจน
4.ระยะที่สี่ เป็นระยะที่ตับมีผังผืดอยู่เป็อย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นตับแข็ง ที่อาจจะปรากฏภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่าตาเหลือง ท้องโตจากภาวะมีน้ำในช่องท้อง มีเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร และการเกิดเป็นมะเร็งตับในที่สุด

สาเหตุ ไขมันพอกตับ

สาเหตุ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ ประเภท และระยะเวลาที่ดื่ม เรียกว่า Alcoholic fatty liver
  2. จากสาเหตุปัจจัยเสี่ยงอื่น
    • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน
    • มีภาวะอ้วน น้ำหนักตัวมากเกินไป ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 (BMI > 25)
    • เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
    • ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัส ตับอักเสบ B และไวรัสตับอักเสบ C
    • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มฮอร์โมน

อาการ ไขมันพอกตับ

ภาวะไขมันพอกตับจะมีการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป ผู้ที่เป็นมักไม่รู้ตัวเพราะไม่มีอาการแสดงออก และเมื่อมีไขมันพอกตับสะสมอยู่เป็นปริมาณมาก จะทำให้เซลล์ตับมีการบวมและ 10-20% ของผู้มีไขมันพอกตับจะเกิดอาการตับอักเสบได้ โดยจะมีอาการ

การรักษา ไขมันพอกตับ

การรักษาภาวะไขมันพอกตับมุ่งเน้นไปที่การหันมาดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่มีรสเค็มจัด สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อาหารที่แนะนำคืออาหารไขมันต่ำ นอกจากนี้ควรรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ควรลดปริมาณการรับประทานอาหารลงให้เหลือแค่พออิ่มก็จะช่วยควบคุมความรุนแรงของอาการได้
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายจะทำให้อาการโดยรวมต่าง ๆ ของภาวะไขมันพอกตับดีขึ้น และช่วยให้ความไวต่ออินซูลินของร่างกาย (Insulin Sensitivity) ดีขึ้น ซึ่งดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ควบคุมน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดไขมันในร่างกายได้ โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง และทำให้ไขมันที่แทรกตัวอยู่ภายในตับลดลง แต่หากผู้ป่วยมีภาวะอ้วนจนไม่สามารถลดน้ำหนักได้เท่าที่ควร อาจต้องใช้การผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหารเพื่อช่วยในการลดน้ำหนักด้วย
  • เลิกสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดได้
  • ควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ให้เหมาะสม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะยิ่งทำให้อาการรุนแรง จึงควรลดปริมาณการดื่มลงให้เหมาะสมกับเพศและวัย หรือหากเป็นไปได้ แพทย์อาจแนะนำให้เลิกดื่ม ซึ่งจะส่งผลดีที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ตับทำงานหนัก โดยควรปฏิบัติตามฉลากแนะนำการใช้ยาอย่างเคร่งครัด และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรใด ๆ

นอกจากนี้ ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่มีการศึกษาพบว่าอาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งผู้บริโภคควรพิจารณาให้ดีก่อนใช้ยาหรืออาหารเสริมใด ๆ โดยควรเลือกใช้ยาหรืออาหารเสริมที่มีผลวิจัยทางการแพทย์รับรอง และใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ

[Total: 0 Average: 0]