การคลอด (Labor) หมายถึง กระบวนทางร่างกายเพื่อขับเคลื่อนทารก รก สายสะดือ และถุงนํ้าครํ่าออกจากมดลูก โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 85 ของหญิงทั่งครรภ์ จะมีการเจ็บ ครรภ์คลอด (Labor pain) เกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 37 – 42 สัปดาห์
ภาษาอังกฤษมีคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า Labor เช่น Delivery 1 Travail, Parturition, Childbirth, Confinement, Accouchement ซึงแต่ละคำอาจมีรายละเอียดของ ความหมายที่แตกต่างกันเล็กน้อย ชนิดของการคลอด
1.การคลอดปกติ (Normal labor) หมายถึงการคลอดที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1.1 อายุครรภ์ครบกำหนด ดือ อายุครรภ์37 – 42 สัปดาห์
1.2 ทารกออกมาด้วยท่าท้ายทอยอยู่ด้านหน้าของเชิงกราน (occiput anterior)
1.3 กระบวนการคลอดสิ้นสุดได้เอง (Spontaneous)โดยไม่มีการช่วยเหลือเกินความ จำเป็นไม่ไดืใช้สูติศาสตร์ห์ตถการในการช่วยคลอด
1.4 ระยะเวลาของการคลอดทั่ง 3ระยะรวมกัน ไม่นานเกินกว่า 24 ชั่วโมง
1.5 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ที่เกี่ยวกับการคลอด เช่น ระยะการคลอดยาวนาน มี เลือดออกก่อนคลอด ตกเลือดหลังคลอด หรือรกค้าง เป็นต้น
2.การคลอดผิดปกติหรือการคลอดยาก (Abnormal labor หรือ Dystocia) หมายถึง การคลอดที่มีลักษณะแตกต่างจากการคลอดปกติ เช่นการคลอดท่ากัน การคลอดที่มี ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หรือมีวิธีการช่วยคลอดห์ตถการ เช่น
2.1 การคลอดโดยใช้คีม (Forceps Extraction ย่อ F/E) หมายถึง การใช้คีมดึงศีรษะ ทารกออกจากช่องทางคลอด ตามแนวของ pelvic curve
2.2 การคลอดโดยใช้ เครื่องสุญญากาศ (Vaccuum Extraction ย่อ V/E) หมายถึง การ ใช้เครื่องดูดสูญญากาศดูดศีรษะทารกออกจากช่องทางคลอด
2.3 การผ่าท้องทำคลอด (Caesarean Section ย่อ CIS) หมายถึง การทำคลอดทารก โดยผ่านทางผนังหน้าท้องและผนังมดลูกออกมา
ระยะของการคลอด (Stages of labor) แบ่งไต้เป็น 4 ระยะด้งนี้
ระยะที่ 1 Stage of dilatation เริ่มจากการเจ็บครรภ์จริง หรือปากมดลูกเริ่มถ่าง ขยาย จนถึงปากมดลูกเปิดหมด (Full dilatation) การคลอดครั้งแรกใช้เวลา 8 – 24 ชั่วโมง เฉลี่ย 12 ชั่วโมง และการคลอดครั้งหลังใช้เวลา 4 – 12 ชั่วโมง เฉลี่ย 6 ชั่วโมง
ระยะที่ 2 Stage of expulsion เริ่มทั่งแต่ปากมดลูกเปิดหมด จนคลอดทารกออกมา หมดทั่งด้ว การคลอดครั้งแรกใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง และการคลอด ครั้งหลังใช้เวลาประมาณ 30 นาที ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง
ระยะที่ 3 Stage of placenta เริ่มทารกคลอด ถึงการคลอดของรก ครรภ์แรก และครรภ์หลังใช้เวลา
เท่ากัน ประมาณ 5-10 นาที แต่ไม่ควรเกิน 30 นาที
ระยะที่ 4 Early puerperium เริ่มจากภายหลังสิ้นสุดการคลอดของรก จนถึงภาวะที่ มารดากลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงหลังรกคลอด
องค์ประกอบของการคลอด
1.Power แรงของการคลอด เป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้ทารก รก และน้ำครํ่าผ่าน หนทางคลอดออกมาได้
แรงผลักดันนี้ประกอบด้วยแรงจาก 2 ส่วนคือ
1.1แรงจากการหดรัดคัวของมดลูก (Uterine contraction) เป็น Primary power ซึ่งอยู่นอกอำนาจจิตใจ มารดาไม่สามารถยับยั้งหรือบังคับให้เกิดขึ้นได้ได้แก่ การหดรัดคัวของ มดลูกเบาเกินไป ไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการคลอดได้ และการหดรัดคัวของมดลูกแรงพอ แต่ไม่พร้อมเพรียงกัน ทำให้ผลรวมของแรงไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการคลอดตามปกติได้
1.2แรงเบ่งของมารดา (maternal force) เป็น Secondary power เกิดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกระบังลม (Intraabdominal pressure) ทำให้ความดันในช่องท้อง เพิ่มขึ้นแรงนี้จะเกิดขึ้นในระยะที่ 2 ของการคลอด มีผลช่วยผลักดันให้ทารกเคลื่อนผ่านหนทางคลอดออกมาได้ ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ มารดาไม่มีแรงเบ่ง
2. Passage ช่องทางคลอด ช่องทางที่ทารกจะถูกขับออกมา มี 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
2.1ส่วนที่เป็นกระดูก (bony part) ได้แก่ กระดูกเชิงกรานทั้งหมดประกอบด้วย กระดูกหัวเหน่า กระดูกสะโพก และกระดูกก้นกบ ช่องทางคลอดส่วนนี้เป็นส่วนที่ยืดขยายได้ น้อยมากหรือเกือบไม่มีการยืดขยายเลย ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ มารดาช่องเชิงกรานแคบ หรือรูปร่างช่องเชิงกรานผิดปกติ
ประเภทของเชิงกราน
1)Gynaecoid type มีลักษณะ ischial spine ไม่แหลม ช่องทางเข้าเหมือนรูปไข่ หรือกลม เหมาะสำหรับการคลอด
2)Anthropoid type มีลักษณะช่องทางเข้าเป็นรูปไข่ในแนวหน้าหลัง เส้นผ่าศูนย์กลาง ขวางแคบกว่าปกติ ทำให้ศีรษะทารกหมุนไม่ได้
3)Android type มีลักษณะช่องทางเข้าเป็นรูปหัวใจ ไม่เหมาะสมสำหรับการคลอดปกติทางช่องคลอด
4)Platypelloid type (flat pelvic) มีลักษณะช่องทางเข้าเป็นรูปไข่แนวขวาง
2.2ส่วนที่เป็นเนื้ออ่อน (soft part) คือ มดลูกส่วนล่าง ปากมดลูก ช่องคลอด พื้นเชิงกราน ปากช่องคลอด และฝีเย็บ ส่วนนี้ไม่ค่อยทำให้เกิดการคลอดผิดปกติมาก เนื่องจากสามารถยืดขยายได้ ความผิดปกติแต่กำเนิดหรือมีพยาธิสภาพเกิดขึ้น มารดาบางรายที่การทำงานของมดลูกและปากมดลูกไม่สัมพันธ์กัน
3.Passenger สิ่งที่ผ่านออกมา ได้แก่ ทารก รก และเยื่อหุ้มทารก ที่สำคัญคือตัว ทารก และการเคลื่อนตํ่าของส่วนนำ ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ Malpresentation (ส่วน นำผิดปกติ) เช่น ท่าก้น ท่าหน้า ท่าขวาง หรือ Malposition เช่น Occiput posterior , Occiput transverse หรือทารกในครรภ์ผิดปกติ เช่น ทารกตัวโตมาก ทารกศีรษะโต ท้องมาน
4.Psychological ภาวะทางจิตใจของมารดา ความหวาดกลัววิตกกังวลต่อการคลอด ประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการได้รับรู้ในการอ่าน ฟัง พบเห็น เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด ซึ่งส่วนมากจะเป็นการคลอดที่ผิดปกติ จากประสบการณ์ที่ได้รับนี้ อาจก่อให้เกิดความฝังใจ และเกิดทัศนคติต่อการคลอด
5.Position ท่าของผู้คลอด มีผลต่อความก้าวหน้าการคลอด
6.Physical condition สภาพร่างกายของผู้คลอด ผู้คลอดที่สภาพร่างกายอ่อนแอ มีอาการอ่อนเพลีย หรือมีภาวะแทรกซ้อนจะมีผลต่อผู้คลอดและทารก