การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดระยะแรก สามารถทำได้ด้วยการตรวจเอกเซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low-Dose Computed Tomography Scan: LDCT) ซึ่งเป็นการตรวจที่ใช้ปริมาณรังสีน้อย และใช้วิธีการถ่ายภาพสามมิติที่ให้ความละเอียดมากกว่าการตรวจเอกซเรย์แบบธรรมดา ซึ่งจะช่วยตรวจหาภาวะความผิดปกติของโรคมะเร็งปอดระยะแรกได้ดีกว่า และยังบ่งบอกถึงสมรรถภาพปอดเมื่อเทียบกับคนปกติได้ โดยการทำ Spirometry หรือ Lung Function Test ซึ่งจะช่วยในการตรวจหาโรคปอดอื่นๆ เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง ได้เป็นอย่างดี โดยคนไข้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่เป็นประจำทุกวันและบ่อยครั้ง
หรือแม้กระทั่งคนไข้ที่มีสมาชิกภายในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งปอด รวมทั้งคนทำงานที่ได้รับสารกัมมันตภาพรังสีควันบุหรี่ ฝุ่นละออง ไอระเหยต่างๆ หรือสูดดมสารพิษจากสิ่งแวดล้อมเข้าไปสะสมในปอดไว้เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้ล้วนจะนำไปสู่การเป็นโรคหอบหืด โรคปอด โรคถุงลมโป่งพอง จนกระทั่งอาจจะเป็นมะเร็งปอดได้ในที่สุด
สำหรับใครที่มีความเสี่ยงดังที่กล่าวมานั้น แพทย์มักจะแนะนำว่าควรได้รับการตรวจปอดด้วยเทคโนโลยี CT Low Dose โปรแกรมตรวจค้นหามะเร็งปอดระยะแรกที่มีความละเอียด รวดเร็ว ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง ไม่ต้องงดอาหารและน้ำ รวมทั้งตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยสมรรถภาพการทำงานของปอดโดย Spirometry ควบคู่กันไป ซึ่งจะได้ผลที่ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น
1. ไม่มีการเตรียมตัวพิเศษ ไม่จำเป็นงดน้ำงดอาการ หรือมีการฉีดสารทึบรังสี
2. สามารถรับประทานยาตามปกติตามที่แพทย์สั่ง และแจ้งให้เราทราบว่าคุณได้รับยาอะไรบ้างก่อนการตรวจ
3. กรุณามาติดต่อที่แผนกเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ก่อนกำหนดการตรวจ 15 นาที เพื่อเตรียมตัวก่อนการตรวจ
4. ควรเปลี่ยนเป็นชุดของโรงพยาบาล และถอดเครื่องประดับต่างๆ ออกจากร่างกาย
5. ถ้ามีประวัติการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในส่วนของปอดที่เคยตรวจมาจากโรงพยาบาลอื่น กรุณาแจ้งแพทย์ให้ทราบ
6. ระยะเวลาในการตรวจใช้เวลาประมาณ 10 นาที แต่การสแกนบนเครื่องจริงๆ ใช้เวลาประมาณ 2 นาที
จากข้อมูลเชิงสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ตั้งแต่อดีตถึงปี 2018 พบว่า มะเร็งที่มีอัตราคร่าชีวิตผู้ป่วยมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มของโรคมะเร็งทั้งหมด สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะ มะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการของโรคให้เห็น รู้ตัวอีกทีก็ลุกลามจนเข้าสู่ระยะสุดท้ายแล้ว ทำให้มะเร็งปอดมีอัตราการเสียชีวิต สูงถึง 8,000 ราย/ปี คิดเป็น 40% ของผู้ป่วยทั้งหมด
ไม่เพียงแค่นั้น! สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่านั้นคือ เมื่อสถิติในปี 2018 ได้เปิดเผยว่า ในจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด มีจำนวนสูงถึง 10% ที่ ไม่ได้สูบบุหรี่ จะดีกว่าไหม? ถ้าวันนี้เราได้รู้ว่า แท้จริงแล้ว สาเหตุของมะเร็งปอด เกิดจากอะไร?