การตรวจวินิจฉัยจอประสาทตา (Optical Coherence Tomography)

การตรวจวินิจฉัยจอประสาทตา (Optical Coherence Tomography) หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า OCT คือ เครื่องมือที่ใช้ถ่ายภาพจอประสาทตาในลักษณะภาพตัดขวาง จึงช่วยให้แพทย์เห็นความหนาของชั้นจอประสาทตา และความผิดปกติที่เกิดขึ้น ด้วยการใช้แสงส่องเข้าไปในตาให้ได้ภาพตัดขวางของจอตาออกมาเป็นภาพ 2 และ 3 มิติ ให้ความละเอียดในการวินิจฉัยในระดับ 10 – 15 ไมครอน สามารถแสดงให้เห็นจอตาคล้ายภาพที่ได้จากการตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ ภายในชั้นต่างๆ ของจอตา ซึ่งจอประสาทตาจะแยกเป็นชั้นย่อยๆ อีก 10 ชั้น และขั้วตา นอกจากนี้ ยังสามารถเห็นรายละเอียดบริเวณรอยต่อระหว่างน้ำวุ้นตากับจุดกลางรับภาพจอประสาทตาได้อีกด้วย โดยดูว่าเกิดภาวะดึงรั้งกันอยู่หรือไม่ สามารถตรวจดูระดับของน้ำในตาจากโรคศูนย์กลางจอประสาทตาบวมน้ำว่าในระหว่างการรักษานั้นจะสามารถลดระดับน้ำได้แค่ไหน สามารถตรวจได้ถึงชั้นความหนาของจุดกลางรับภาพจอประสาทตาได้อย่างชัดเจน

เทคโนโการตรวจวินิจฉัยจอประสาทตา (Optical Coherence Tomography) สามารถตรวจโรคตา อะไรได้บ้าง

เทคโนโลยี OCT สามารถตรวจโรคตาได้หลายประเภท อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม เนื่องจากอายุ โรค จุดรับภาพบวมจากภาวะต่างๆ เช่น เบาหวาน เส้นเลือดดำที่จอประสาทตาอุดตัน โรคจุดรับภาพฉีกขาด ภาวะพังผืดที่จอประสาทตา และจุดรับภาพภาวะจอประสาทตาหลุดลอก ภาวะเส้นเลือดผิดปกติที่จอประสาทตา และโรคต้อหิน เป็นต้น ถือว่าวิธีการตรวจที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องขยายม่านตา ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ไม่ต้องฉีดยา ไม่ต้องสัมผัสรังสี รวดเร็ว ละเอียด และแม่นยำ

  • สามารถดูได้ละเอียดถึงประมาณ 0.01 มิลลิเมตร
  • ทำได้ง่ายและรวดเร็ว (ใช้เวลาเพียงไม่เกิน 5 นาที)
  • ขณะตรวจไม่เจ็บ
  • ไม่สัมผัสรังสี ผู้เข้ารับการตรวจจะไม่ได้รับอันตรายใดๆ
  • ไม่ต้องฉีดยา
  • วิเคราะห์โรคได้อย่างแม่นยำ
  • สามารถใช้ติดตามการรักษาได้

ผู้ใดบ้างที่จะได้รับประโยชน์จากการตรวจจอประสาทตาด้วยเครื่อง Optical coherence tomography (OCT)

  • โรคจอประสาทตาจากโรคเบาหวาน
  • โรคจอประสาทตาเสื่อม เนื่องจากอายุ (AMD) โดยมีความเสี่ยงในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
  • โรคจุดรับภาพบวมจากภาวะต่างๆ เช่น เบาหวาน, เส้นเลือดดำที่จอประสาทตาอุดตัน
  • โรคจุดรับภาพฉีกขาด
  • ภาวะพังผืดที่จอประสาทตาและจุดรับภาพ
  • ภาวะจอประสาทตาหลุดลอก
  • ภาวะเส้นเลือดผิดปกติที่จอประสาทตา
  • โรคต้อหิน ซึ่งมีความเสี่ยงในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี / ผู้ที่มีการอักเสบเรื้อรังในม่านตา / มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน
[Total: 1 Average: 5]