การส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

เป็นการตรวจดูด้วยกล้องส่องทางลำไส้ใหญ่ด้วยท่อที่ทำด้วยพลาสติกที่หักงอได้และสามารถถ่ายวีดิโอได้ด้วย (flexible fiber  optic video) เพื่อดูเยื่อบุภายใน ทำในผู้ป่วยที่มีประวัติท้องผูกหรือท้องเสียลำไส้ใหญ่ส่วนทวารหนักหรือลำไส้ตรง (rectum) มีเลือดออกเรื้อรัง และมีอาการปวดท้องส่วนล่าง เมื่อมีผลของการส่องกล้องตรวจทวารหนักและการส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนซิกมอยด์ (procto sigmoidoscopy) และการสวนด้วยแป้งแบเรียมทางทวารหนักได้ผลที่ สรุปสาเหตุยังไม่ได้ การส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่นี้ใช้เป็นการคัดกรองสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยแนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปตรวจทุก 5 ปี

วัตถุประสงค์1. เพื่อชี้ขาดว่ามีการอักเสบของแผลในลำไส้
 2. เพื่อหาตำแหน่งของเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่าง
 3. เพื่อช่วยวินิจฉัยว่ามีการตีบของลำไส้ใหญ่หรือไม่และวินิจฉัยรอยโรคว่าเป็นเนื้องอกหรือเนื้อร้าย
 4. เพื่อประเมินผลภายหลังผ่าตัดลำไส้ใหญ่ที่มีรอยโรคของติ่งเนื้อ (polyps) และเนื้อร้าย (malignant) ว่าเป็นอย่างไร
การเตรียมผู้ป่วย1. บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้เป็นการตรวจดูเยื่อบุภายในลำไส้ใหญ่ 2. บอกผู้ป่วยให้รับประทานอาหารอ่อน ไม่มีกาก โดยรับประทานอาหารที่เป็นน้ำ (liquid diet) 24-48 ชั่วโมงก่อนตรวจ และไม่รับประทานอะไรเลยหลังที่ยงคืนใน คืนก่อนตรวจ
 3. บอกถึงการตรวจ ใครจะเป็นผู้ตรวจ และสถานที่ตรวจ
 4. บอกว่าลำไส้ใหญ่ต้องทำให้สะอาดจริง ๆ เพื่อช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจน ให้ผู้ป่วยรับประทานยาระบายตามแผนการรักษาหรือดื่มน้ำประมาณ 1แกลลอนในตอนเย็น ดื่มทุก ๆ 10 นาทีจนกระทั่งหมดแกลลอนหากมีอุจจาระที่ทำให้ลำไส้ใหญ่ไม่สะอาดผู้ป่วยอาจต้องได้รับยาระบายอีก ซึ่งอาจเป็นยาเหน็บ หรือสวนอุจจาระด้วยน้ำก๊อก ห้ามสวนด้วนน้ำสบู่เพราะจะระคายเคืองต่อเยื่อบุและจะกระตุ้นเยื่อเมือกให้ขับสารหลั่ง ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคในการตรวจ ทำให้ล่าช้าได้
 5. บอกผู้ป่วยว่าต้องเปิดหลอดเลือดดำไว้ก่อนตรวจและให้ยานอนหลับก่อนตรวจ จึงไม่ควรขับรถกลับบ้านหากได้รับยานอนหลับ
 6. บอกผู้ป่วยว่ากล้องส่องจะต้องหล่อลื่นเพื่อช่วยให้ใส่กล้องเข้าทวารหนักได้ง่ายขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยจะรู้สึกเย็น ๆ ในช่วงแรก ๆ และอาจรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระขณะใส่กล้องเข้าไปเรื่อยๆ
 7. บอกว่าอาจจะใส่ลมเข้าไปในทางกล้องส่องลำไส้ใหญ่เพื่อขยายผนังลำไส้ช่วยให้ตรวจได้ง่ายขึ้น โดยลมจะมีอยู่รอบ ๆ เครื่องมือซึ่งเป็นลมที่ใส่เข้าไปจึงไม่ควร พยามยามออกแรงต้าน
 8. บอกผู้ป่วยว่าอาจใช้เครื่องดูดเอาเลือดหรืออุจจาระที่เป็นน้ำๆ ออกเพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้มองเห็นไม่ชัด แต่จะไม่เป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บปวด
 9. ตรวจสอบประวัติการแพ้ยาและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น
             10. ให้ผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษาให้เรียบร้อยก่อนตรวจ

การตรวจและการดูแลภายหลังตรวจ1. จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายงอเข่าและปิดผ้าให้เรียบร้อยหรืออาจจัดให้ผู้ป่วยนอนคว่ำคุกเข่าบันทึกสัญญาณชีพไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานหากผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ตรวจความเข้มข้นของออกซิเจนในหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (pulse oximetry หรือ oxygen saturation) เป็นระยะๆ บอกให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ ทางปากอย่างช้าๆ ขณะที่แพทย์คลำเยื่อบุในทวารหนักและไส้ตรงและใส่กล้องส่องลำไส้ใหญ่แพทย์ใส่กล้องส่องทวารหนักที่หล่อลื่นเข้าทางทวารหนักผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ (sigmoid  colon) ใส่ลม (air) เล็กน้อยในรูของ ลำไส้  แล้วใส่กล้องผ่านไปในไส้ตรง เมื่อกล้องเข้าไปถึงตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ ช่วยประคองให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนราบแล้วเลื่อนกล้องผ่านส่วนโค้งใต้ม้าม (splenic flexure) ลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง (transverse colon) ส่วนโค้งในตับ (hepatic flexure) และลำไส้ใหญ่ส่วนขึ้น (ascending) และไส้ตัน (cecum) ตามลำดับ
 2. คลำหน้าท้องหรือใช้เครื่องถ่ายเอกซเรย์ภาพเคลื่อนไหว (flouroscopy) เพื่อช่วยนำทางให้กล้องผ่านไปยังลำไส้ใหญ่อาจต้องใช้เครื่องดูดเพื่อนำเอาเลือดและสิ่งขับหลั่งที่เป็นอุปสรรคในการมองเห็นออกใช้ปากคีบตัดชิ้นเนื้อหรือการแปรงเอาเซลล์ (cytology brush) ผ่านทางกล้องส่องทวารหนักออกมาเพื่อตรวจดูเซลล์  อาจใช้ห่วงที่มีกระแสไฟฟ้าเพื่อตัดเอาติ่ง ที่ยื่น (polyps) ออก
 3. ชิ้นเนื้อที่ตัดออกมาจะต้องใส่ในขวดที่ใส่ฟอร์มาลิน 10% ทันทีและส่งห้องตรวจชิ้นเนื้อทันทีในภาชนะ (coupling jar) ที่ใส่ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) 95% ส่งสิ่งส่งตรวจทันทีไปยังห้องปฏิบัติการ
 4. สังเกตผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดถึงอาการที่แสดงถึงลำไส้ทะลุ เช่น มีเลือดออกในอุจจาระหรือทวารหนัก มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ให้รายงานให้แพทย์ทราบทันที
 5. บันทึกสัญญาณชีพตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย
 6. หลังจากผู้ป่วยฟื้นจากยานอนหลับ ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ ยกเว้นในรายที่แพทย์มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
 7. ดูแลให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนหลังการตรวจบอกผู้ป่วยว่าอาจจะมีลมในลำไส้เป็นจำนวนมากหลังจากที่ใส่ลมเข้าไปให้ผู้ป่วยนอนราบ 2-3 นาทีก่อนลุกขึ้นยืน หากเป็นผู้ป่วยนอกให้นอนพักต่ออีก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมงก่อนกลับบ้าน
 8. หากต้องตัดเอาติ่งเนื้อออกบอกผู้ป่วยว่าอาจมีเลือดปนมากับอุจจาระหากมีเลือดออกมากควรรีบแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบทันที
ข้อควรระวังแม้ว่าการส่องกล้องดูทวารหนักนี้เป็นการตรวจที่ปลอดภัยแต่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการทะลุที่ลำไส้ใหญ่ ทำให้เลือดออกจำนวนมาก และมีลมบริเวณหลังเยื่อบุช่องท้อง  (Retroperitoneal emphysema) ได้การตรวจนี้ห้ามทำในหญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดผู้ป่วยที่เพิ่มมีกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือผ่าตัดหน้าท้อง เช่น โรคลำไส้ขาดเลือดมาเลี้ยง (Ischemic bowel disease) โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบเฉียบพลัน (Acute diverticulitis) เยื่อบุช่องท้องอักเสบ(Peritonitis) ลำไส้ใหญ่อักเสบอย่างรุนแรง (Fulminant granulomatous colitis) หรือ  โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังอย่างรุนแรง (Fulminant ulcerative colitis) หากผู้ป่วยเหล่านี้ต้องการตรวจ การส่องกล้องดูทวารหนักเกือบทั้งหมด (Virtual colonoscopy) อาจช่วยให้เห็นติ่งเนื้อได้เร็วกว่าทางคลินิก ให้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด สำหรับผลข้างเคียงของยานอนหลับควรเตรียมการช่วยชีวิตในภาวะฉุกเฉินและยาต้านการปวดชนิดเสพติด (Narcotic antagonist) ไว้ด้วย เช่น นาโลโซน (naloxone) สำหรับฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อพร้อมใช้เมื่อจำเป็นหากต้องตัดเอาติ่งเนื้ออกซึ่งไม่ได้ทำระหว่างการตรวจให้สวนอุจจาระอีกครั้งหนึ่งหากแพทย์ต้องการ
ผลการตรวจที่เป็นปกติปกติเยื่อบุลำไส้ใหญ่ก่อนถึงลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ (sigmoid colon) มีสีชมพูส้มอ่อน ๆ และเห็นเส้นเลือดใกล้ๆ เยื่อบุลำไส้ ซึ่งเห็นเป็นประกายจากสิ่งคัดหลั่งที่เยื่อบุ
ผลการตรวจที่ผิดปกติจากการมองเห็นลำไส้ใหญ่การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูเซลล์ผลการตรวจอาจบ่งชี้ว่าเป็นไส้ตรงอักเสบ(Proctitis) ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Granulomatous colitis) หรือ Ulcerative colitis) มีการอักเสบของลำไส้ชนิดเรื้อรัง (Crohn’s disease) และมีรอยโรคชนิดเนื้อร้าย (Malignant lesion) หรือรอยโรคชนิดไม่อันตราย (Benign lesion) ส่วนโรคลำไส้เป็นกระเปาะ (Diverticular) หรือ ตำแหน่งของเลือดออกใน ทางเดินอาหารส่วนล่างสามารถตรวจพบสิ่งผิดปกติจาการตรวจนี้

[Total: 2 Average: 5]