นิ่วไต

นิ่วไต คือ โรคที่พบได้บ่อยใน คนทุกเพศและทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ชายากกว่า ผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ  30 - 40 ปี ในบ้านเราพบมากทางภาคเหนือ และภาคอีสาน

นิ่วอาจมีขนาดต่าง ๆ กันอาจมีเพียงก้อนเดียว หรือหลายก้อนก็ได้  ส่วนมากมักเป็นที่ไตเพียงข้างเดียวที่เป็นทั่ง 2 ข้างอาจพบได้บ้าง บางรายอาจเป็นซ้ำ ๆ หลายครั้งก็ได้

สาเหตุ นิ่วไต

                ก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นในไต ประกอบด้วยหินปูน (แคลเซียม) กับสารเคมีอื่น ๆ เช่น ออกชาเลต กรดยูริก เป็นต้น การเกิดนิ่วจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะที่มีแคลเซียมในปัสสาวะมากผิดปกติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการกินอาหาร ที่มีแคลเซียมสูง การดื่มนมมาก ๆ หรือมีภาวะผิดปกติ อื่น ๆ (เช่น ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกิน ซึ่งทำให้ มีแคลเซียมในเลือดสูง)

                นอกจากนี้ ยังพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งมีการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ

บางกรณีอาจพบเป็นผลข้างเคียงของยา เช่น ยาต้านไวรัสเอดส์ - อินดินาเวียร์ (indinavir) ยาขับปัสสาวะ ฟูโรซีไมด์  ยาแก้ลมชัก - โทพิราเมต (topiramat) ส่วนกลไกของการเกิดนิ่วนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแนะชัด เชื่อว่ามีปัจจัยร่วมกันหลายอย่างด้วยกัน เช่น การอยู่ในเขตร้อนที่ร่างกายสูญเสียเหงื่อง่าย (แล้วดื่มน้ำน้อย ทำให้ปัสสาวะมีปริมาณแคลเซียมเข้มข้น) การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะความผิดปกติของไต เป็นต้น

ผู้ที่ชอบกินอาหารที่มีสารออกซาเลตสูง  หรือกินวิตามินซีขนาดสูงๆ ซึ่งจะกลายเป็นสารออกซาเลต) ก็อาจเป็นนิ่วได้มากกว่าคนปกติ

อาการ นิ่วไต

                ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเอวปวดหลังข้างใดข้างหนึ่งลักษณะปวดแบบเสียด ๆ หรือปวดบิดเป็นพัก ๆ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะอาจจะมีลักษณะขุ่นแดง หรือ มีเม็ดทราย ถ้าก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก อาจตกลงมาที่ท่อไต ทำให้เกิดอาการปวดบิด ในท้องรุนแรง บางรายอาจไม่มีอาการแสดงเลยก็ได้

ข้อแนะนำ นิ่วไต

1.โรคนี้แม้จะไม่มีอาการแสดง ก็ควรจะรักษาอย่างจริงจัง ถ้าจำเป็น อาจต้องผ่าตัด หรือใช้เครื่องสลายนิ่ว หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดโรคแทรกซ้อนเป็นอันตรายได้

2.เมื่อรักษาหายแล้ว ควรป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำโดยดื่มน้ำ 3 – 4 ลิตร/วัน ดื่มน้ำมะนาววันละ 1 แก้ว (เพิ่มสารชิเทรตในปัสสาวะช่วยยับยั้งการเกิดนิ่ว) ลดอาหารที่มีกรดยูริก แคลเซียมและออกซาเลตสูง

การรักษา นิ่วไต

                หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล

                มักวินิจฉัยโดยการตรวจปัสสาวะ (พบมีเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก) ตรวจเลือด เอกซเรย์ อัลตราซาวนต์ เอกซเรย์สคอมพิวเตอร์ การถ่ายภาพรังสีไตด้วยการฉีดสารทึบรังสี (intravenous pyelogram/IVP) บางรายอาจนำปัสสาวะไปวิเคราะห์ดูสารที่เป็นปัจจัยของการเกิดนิ่ว

                ถ้านิ่วก้อนเล็กอาจหลุดออกมาได้เอง แต่ถ้าก้อนใหญ่อาจต้องผ่าตัดเอาออก หรือใช้เครื่องสลายนิ่ว (extra-corporeal shock wave lithotripsy/ESWL)

                ถ้ามีอาการปวดให้ยาแก้ปวด หรือแอนติสปาสโมติก 

                ถ้ามีการติดเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีชิลลิน โคไตรม็อกซาโชล โอฟล็อกซาชิน หรือไซโพรฟล็อกซาชิน

                ในรายที่มีสาเหตุชัดเจน ควรจะให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ เช่น ให้ยารักษาโรคเกาต์ในรายที่เป็นโรคเกาต์ เป็นตัน


[Total: 1 Average: 5]