ครรภ์ไข่ปลาอุก เกิดจากรกในครรภ์มารดากลาย เป็นเนื้องอกผิดปกติ ส่วนมากจะเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้าย (benign tumor) ที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงส่วนน้อย ที่อาจกลายเป็นเนื้อร้ายหรือ มะเร็งเยื่อรก (choriocarcinoma) ที่อาจลุกลามและแพร่กระจายตามกระแสเลือดไปทั่วร่างกาย
มักพบในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อยกว่า18 ปี หรือมากกว่า 40 ปี
อาการมักเกิดในระยะแรก ๆ (ประมาณ10-16 สัปดาห์) ของการตั้งครรภ์ บางครั้งอาจเกิดจากรกที่ค้างอยู่ในมดลูกหลังคลอดหรือแท้งบุตร
โรคนี้อาจพบได้ประปรายไม่บ่อยนัก อาจพบร่วมกับอาการแพ้ท้องรุนแรง หรือ ครรภ์เป็นพิษ
อาการ ครรภ์ไข่ปลาอุก
อาการมักเกิดหลังตั้งครรภ์ใหม่ ๆ พบว่าขนาดของ มดลูกโตเร็วกว่าปกติคลำได้ขนาดของมดลูกโตกว่าอายุครรภ์ ที่ควรจะเป็น
นอกจากนี้ยังพบอาการเลือดออกกะปริดกะปรอย ทางช่องคลอดคล้ายกับแท้งบุตร
มักพบว่าทารกในท้องไม่ดิ้น และมีอาการแพ้ท้อง คือคลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง
บางครั้งอาจมีชิ้นเนื้อลักษณะคล้ายไข่ปลาอุกหลุด ออกมาทางช่องคลอด ด้วยเหตุนี้จึงเรียกโรคนี้ว่า ครรภ์ไข่ปลาอุก
บางรายอาจมีเลือดออกนานเป็นสัปดาห์ หรือเป็น เดือนจนทำให้มีอาการซีด อ่อนเพลีย
ผู้ป่วยมักมีอาการแสดงของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เช่น เหนื่อยง่ายใจสั่น ชีพจรเต้นเร็วร่วมด้วย เนื่องจากฮอร์โมนเอชซีจี (ที่รกสร้าง) มีปริมาณสูงจะมีฤทธิ์อ่อน ๆในการกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ
ข้อแนะนำ ครรภ์ไข่ปลาอุก
1.โรคนี้ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยนักแต่ถ้ามีอาการ ที่น่าสงสัย เช่น มดลูกโตเร็ว เลือดออกทางช่องคลอด กะปริดกะปรอย หรือแพ้ท้องรุนแรง ควรส่งไปตรวจที่โรงพยาบาลให้แน่ใจ และถ้าเป็นโรคนี้จริงควรแนะนำ ให้ผู้ป่วยรักษากับแพทย์ ตามนัดอย่างต่อเนื่อง ก็มีทางรักษาให้หายขาดได้ (ถึงแม้จะกลายเป็นมะเร็งเยื่อรกก็ตาม) แต่ถ้ากลายเป็นมะเร็งเยื่อรกแล้วไม่ได้รักษา จริง ๆจัง ๆ ก็อาจแพร่กระจายไปทั่วตัวเป็นอันตรายถึง เสียชีวิตได้
2.หลังการรักษาจนหายขาด ผู้ป่วยที่มีอายุไม่มากและยังไม่ได้ผ่าตัดมดลูกสามารถมีบุตรได้ใหม่ และโอกาสจะเป็นโรคนี้ ซ้ำอีกมีน้อยมาก(ประมาณร้อยละ1)
การรักษา ครรภ์ไข่ปลาอุก
หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจฮอร์โมนเอซซีจีในเลือดและปัสสาวะซึ่งจะพบว่ามีขนาดสูงกว่าที่ พบในการตั้งครรภ์ปกติ
อาจต้องทำการตรวจพิเศษ เช่น อัลตราซาวนด์ ตรวจชิ้นเนื้อ
ถ้าเป็นโรคนี้จริง อาจต้องทำการขูดมดลูกผู้ป่วยควรกินยาเม็ดคุมกำเนิดนาน 6 เดือนภายหลังการขูด มดลูก หรือผ่าตัดมดลูกตามแต่สภาพของผู้ป่วยถ้าอายุ มากหรือมีบุตรเพียงพอ อาจทำการผ่าตัดเอามดลูกออก(ก่อนการดมยาผ่าตัดควรให้ยาปิดกั้นบีตาควบคุมอาการของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน)
หลังจากนั้น ควรนัดมาตรวจระดับเอซซีจีในปัสสาวะ และเอกซเรย์ปอดเป็นระยะเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี เพื่อสังเกตว่า จะมีการกำเริบหรือกลายเป็นมะเร็งหรือไม่
ถ้าพบว่าระดับเอชซีจีไม่ลดหรือกลับเพิ่มขึ้น แพทย์จะให้ยารักษามะเร็ง เช่น เมโทเทรกเซต(methotrexate)หรือแดกติโนไมซิน (dactinomycin) หลังจากโรคทุเลาลง ผู้ป่วยที่ไม่ได้ตัดมดลูก ซึ่งควรกินยาเม็ดคุมกำเนิดนาน 12 เดือน
ในรายที่กลายเป็นมะเร็งเยื่อรก (choriocarcinoma) แพทย์จะให้ยารักษามะเร็ง สามารถรักษาให้หายขาดได้ร้อยละ 100 ถ้ายังไม่แพร่กระจายไปที่อื่น และประมาณร้อยละ 60-80 ถ้ามีอาการแพร่กระจายไปที่อื่น