ปวดสะโพก คือ ความรู้สึกไม่สบายที่สะโพก ซึ่งมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง
สาเหตุทั่วไปของอาการ ปวดสะโพก
การปวดสะโพกอาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น บาดแผล การนอนตะแคงเป็นเวลานาน การใช้งานมากเกินไป กล้ามเนื้อติดแข็ง การนั่งในท่าที่ไม่สบาย เอ็นหรือกล้ามเนื้อยืดเกินไปหรือฉีกขาด
การรักษา ปวดสะโพก ด้วยตนเอง
การพักผ่อน การหลีกเลี่ยงการนั่งเป็นเวลานาน การประคบน้ำแข็งเพื่อลดอาการบวม และการอาบน้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออาจช่วยบรรเทาอาการปวดสะโพกได้ การใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน หรือนาโพรเซน อาจช่วยได้เช่นกัน
ปวดสะโพก เมื่อไหร่ต้องไปพบแพทย์
ไปพบแพทย์ในกรณีต่อไปนี้
- ดูแลรักษาตัวเองแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น
- ทำงาน เดิน หรือทำกิจกรรมประจำวันลำบาก
- มีอาการปวดต่อเนื่องหรือแย่ลง
- รู้สึกปวดเฉพาะที่บริเวณข้อต่อสะโพก
ไปพบแพทย์ทันทีในกรณีต่อไปนี้
- ปวดอย่างรุนแรงหรือบวมอย่างฉับพลัน
- ขยับขาหรือสะโพกไม่ได้
- ลงน้ำหนักที่ขาไม่ได้
โรคที่เกี่ยวข้องกับ ปวดสะโพก
ข้อเสื่อม
ข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดจากการสึกหรอของเนื้อเยื่อยืดหยุ่นที่ปลายกระดูก การแสดงอาการ:
- ปวดสะโพก
- ข้อแข็ง
- ปวดหลังส่วนล่าง
ข้ออักเสบ
การอักเสบของข้อต่อ ซึ่งทำให้ปวดและเมื่อย โดยอาการจะแย่ลงเมื่ออายุมากขึ้น การแสดงอาการ:
- พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อลดลง
- ข้อแข็ง
- มีอาการกดเจ็บที่ข้อต่อ
การบาดเจ็บบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของสะโพก
การปวดสะโพกเรื้อรังชนิดที่พบบ่อย การแสดงอาการ:
- ปวดสะโพก
- อาการกดเจ็บ
- ความเมื่อย
เบอร์ไซติส
การอักเสบของเยื่อบุที่มีของเหลว (ถุงลดเสียดสี) ที่ทำหน้าที่เป็นเบาะรองที่ข้อต่อ การแสดงอาการ:
- ปวดสะโพก
- อาการปวดขณะเคลื่อนไหว
- อาการปวดไหล่
เอ็นสะโพกอักเสบ
อาการบวมของเนื้อเยื่อ (เอ็น) ที่เชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับกระดูกในข้อต่อสะโพก การแสดงอาการ:
- ปวดสะโพก
- อาการกดเจ็บ
- ปวดเข่า