ความรู้สึกไม่สบายในจุดที่กระดูก 2 ชิ้นขึ้นไปบรรจบกันเป็นข้อต่อ ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงใช้การไม่ได้เลย
สาเหตุทั่วไปของอาการ ปวดข้อ
การปวดข้ออาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น การใช้งานมากเกินไป เช่น กิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก การขาดการใช้งาน เอ็นหรือกล้ามเนื้อยืดเกินไปหรือฉีกขาด
การรักษา ปวดข้อ ด้วยตนเอง
การออกกำลังกายเป็นประจำอาจช่วยลดอาการปวดและเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นโดยไม่ทำให้ข้อเสียหาย การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ การประคบน้ำแข็ง และการใช้ยาแก้ปวดอาจช่วยได้เช่นกัน
ปวดข้อ เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
ไปพบแพทย์ในกรณีต่อไปนี้
- ปวดและมีรอยแดงหรืออาการบวมร่วมด้วย
- รู้สึกอุ่นรอบๆ ข้อ
- ทำกิจกรรมประจำวันลำบาก
ไปพบแพทย์ทันทีในกรณีต่อไปนี้
- ปวดอย่างรุนแรงหรือข้อผิดรูป
- บวมอย่างฉับพลัน
- เคลื่อนไหวข้อไม่ได้อีกต่อไป
- มีไข้สูง 39°C (102°F) ขึ้นไป
โรคเกี่ยวกับ ปวดข้อ
ข้ออักเสบ
การอักเสบของข้อต่อ ซึ่งทำให้ปวดและเมื่อย โดยอาการจะแย่ลงเมื่ออายุมากขึ้น การแสดงอาการ:
- พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อลดลง
- ข้อแข็ง
- มีอาการกดเจ็บที่ข้อต่อ
ข้อเสื่อม
ข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดจากการสึกหรอของเนื้อเยื่อยืดหยุ่นที่ปลายกระดูก การแสดงอาการ:
- ข้อแข็ง
- ปวดหลังส่วนล่าง
- ปวดคอ
กล้ามเนื้อฉีก
กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่เชื่อมกล้ามเนื้อและกระดูก (เส้นเอ็น) ยืดหรือฉีกขาด การแสดงอาการ:
- ปวดกล้ามเนื้อ
- การจํากัดพิสัยการเคลื่อนไหว
- ตะคริว
ไฟโบรไมอัลเจีย
เจ็บกล้ามเนื้อและอาการกดเจ็บเป็นบริเวณกว้าง การแสดงอาการ:
- ความปวดเรื้อรัง
- ปวดประจำเดือนมาก
- ปวดคอ
เบอร์ไซติส
การอักเสบของเยื่อบุที่มีของเหลว (ถุงลดเสียดสี) ที่ทำหน้าที่เป็นเบาะรองที่ข้อต่อ การแสดงอาการ:
- อาการปวดขณะเคลื่อนไหว
- อาการปวดไหล่
- ปวดเข่า