โรคนิมโฟมาเนีย

โรคนิมโฟมาเนีย เป็นอาการทางจิตที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไร้ความสามารถในการระงับอารมณ์ความต้องการทางเพศของตัวเองได้ ต้องการมีเพศสัมพันธ์หลายครั้ง รวมทั้งอยากช่วยตัวเองหลายครั้งใน 1 วัน และมีความต้องการทางเพศอย่างมากจนไม่สามารถควบคุมสติของตัวเองได้ จึงทำให้ไม่สามารถไตร่ตรองคิดถึงคนที่จะมีเพศสัมพันธ์ด้วย รวมถึงผลกระทบที่จะตามมาในภายหลังได้

นอกจากความต้องการทางเพศที่ส่งผลถึงจิตใจแล้ว ยังแสดงอาการผ่านร่างกายอีกด้วย โดยจะพบขนาดมดลูกขยายตัว ช่องคลอดหลั่งสารหล่อลื่นมากผิดปกติ และคลิตอริสที่ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความต้องการทางเพศ อาการความต้องการทางเพศสูงผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้กับเพศชายเช่นกัน แต่จะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สไตเรียซิส” (Satyriasis)

สาเหตุ โรคนิมโฟมาเนีย

  1. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในสมอง ไม่ว่าจะเป็นการหลั่งสารสื่อนำประสาท (Neurotransmitters) ในสมองมากกว่าปกติ เช่น เซโรโทนิน (Serotonin), นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และโดปามีน (Dopamine) รวมถึงการเกิดความผิดปกติในสมองตรงบริเวณที่ส่งผลต่อการเกิดความต้องการทางแพศ
  2. ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) ซึ่งมีทั้งในชายและหญิง ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อการควบคุมทางเพศ
  3. การขาดสมดุลระหว่างอารมณ์และจิตใจ
  4. พันธุกรรม
  5. สภาพแวดล้อม
  6. ความเครียด
  7. บาดแผลทางจิตใจจากเหตุการณ์ในชีวิต
  8. การได้รับยาบางชนิดมากเกินไป เช่น แอมเฟตามีน หรือติดสารเสพติด

อาการ โรคนิมโฟมาเนีย

  •  มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์กับใครก็ได้
  • มักจะสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง
  • ใช้บริการทางเพศจากการแชต ภาพลามก หรือใช้บริการทางเพศออนไลน์
  • มีการแสดงออกทางเพศอย่างผิดปกติ เช่น ชอบความเจ็บปวด (Masochistic) ชอบความรุนแรง (Sadistic) และพฤติกรรมทางเพศอื่น ๆ
  • ชอบโชว์
  • พูดจาลามก หรือแสดงท่าทางในลักษณะว่ามีความต้องการทางเพศตลอดเวลา

          ทั้งนี้ สำหรับพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคนิมโฟมาเนีย แม้ว่าจะทำให้พวกเขาถูกคนรอบข้างมองว่ามีความสำส่อนในเรื่องเพศ หรืออาจจะถูกคนในสังคมมองในด้านลบ เนื่องจากพฤติกรรมต่าง ๆ ของพวกเขานั้นเป็นเรื่องที่ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม จนถูกเรียกว่า ขาดผู้ชายไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยนิมโฟมาเนียนั้น ถือว่าเป็นกลุ่มที่น่าเห็นใจไม่ใช่น้อย เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นต่อพวกเขาเหล่านั้นก็คือผลจากพฤติกรรมที่ถูกบีบบังคับของโรคนิมโฟมาเนีย

การรักษา โรคนิมโฟมาเนีย

เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับสุขภาพจิต จึงจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากจิตแพทย์อย่างใกล้ชิด อาจได้รับยาในบางรายขึ้นอยู่กับลักษณะ และความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น

  • การบำบัดแบบ Cognitive Behavioral Therapy (CBT) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือต่อสิ่งกระตุ้นให้เกิดความต้องการได้
  • ครอบครัวบำบัด หรือสังคมบำบัด
  • พูดคุยบำบัด
  • การใช้ยา ประกอบด้วยยาคลายเครียด ยากล่อมประสาท และยาสำหรับรักษาโรคทางจิต
  • มีการพบว่าการบำบัดด้วยวิธีพื้นบ้านอย่างการนวดบำบัด หรือโยคะ สามารถบำบัดให้ผู้ป่วยรับมือกับโรคได้ดีขึ้น
[Total: 5 Average: 4.6]