1. ถ้ามีอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำ ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง ถ้ามีอาการหน้ามืด เป็นลม หรือช็อก
ควรส่งโรงพยาบาลทันที
ถ้าเสียเลือดมากอาจต้องให้เลือด แล้วทำการตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ
2. ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง ปวดท้องติดต่อกันนานเกิน 6 ชั่วโมง อาเจียนรุนแรง หรือมีอาการท้องแข็งควรส่งโรงพยาบาลด่วน
ถ้าตรวจพบว่ามีภาวะแผลเพ็ปติกทะลุ หรือกระเพาะหรือลำไส้ตีบตัน จำเป็นต้องผ่าตัดด่วน
3. ถ้ามีอาการเบื่ออาหาร กลืนลำบาก น้ำหนักลดซีด ตาเหลือง ตับโต ม้ามโต คลำได้ก้อนในท้อง อาเจียน รุนแรง หรือสงสัยเป็นโรคหัวขาดเลือด หรือนิ่วน้ำดี หรือพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม หรือส่งโรงพยาบาล
4. ถ้ามีอาการปวดแสบหรือจุกเสียดตรงใต้ลิ้นปี่ก่อนหรือหลังอาหาร หรือตอนดึกๆ เป็นครั้งแรกให้ยาต้านกรด ร่วมกับยาลดการสร้างกรด เช่น รานิทิดีน ถ้ารู้สึกทุเลาหลังกินยาได้ 2-3 ครั้งควรกินต่อจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้ารู้สึกหายดีควรกินยานานประมาณ 8 สัปดาห์
ถ้ากินยา 2-3 ครั้งแล้วยังไม่รู้สึกทุเลาแม้แต่น้อย หรือลุเลาแล้วแต่กินจนครบ 2 สัปดาห์แล้วรู้สึกไม่หายดี หรือกำเริบ ซ้ำหลังจากหยุดกินยาจนครบ 8 สัปดาห์แล้ว ควรส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม
ในการวินิจฉัยแผลเพ็ปติกจำเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษ เช่น การช็กล้องส่องตรวจกระเพาะลำไส้ (endoscoppy) การเอกซเรย์กระเพาะลำไส้โดยการกลืนแป้งแบบเรียม การตรวจชิ้นเนื้อ การตรวจหาเชื้อเอชไพโลไร เป็นต้น
การรักษา เมื่อตรวจพบว่าเป็นแผลเพ็ปติก มีแนวทางการรักษาโดยสังเขปดังนี้
ก. แผลเพ็ปติกที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไพโลไร (จำเป็นต้องอาศัยการใช้กล้องส่อง และตรวจพบเชื้อเอชไพโลไร) การรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง รักษาแผลให้หายและกำจัดเชื้อเอชไพโลไรโดยให้ยาดังนี้
(1) ยาลดการสร้างกรดออกฤทธิ์แรง (กลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊มป์)ได้แก่ โอเมพราโซล ครั้งละ 20 มก.วันละ 2 ครั้ง
ก่อนอาหารเช้าและเย็น นาน 6-8 สัปดาห์ ร่วมกับ
(2) ยาปฏิชีวนะ 2 ชนิดร่วมกัน สูตรใดสูตรหนึ่งดังต่อไปนี้ (โดยกินพร้อมอาหาร) นาน 10-14 วัน
ข. แผลเพ็ปติกที่ไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไพโลไร เป็นแผลเพ็ปติกที่ตรวจไม่พบการอักเสบจากเชื้อเอชไพโลไร อาจมีสาเหตุจากการใช้ยาแอสไพริน หรือกลุ่มยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ควรให้การรักษาด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ค.ในรายที่เป็นเรื้อรังหรือเคยมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น หรือผู้สูงอายุ หรือในรายที่ยังสูบบุหรี่ อาจจำเป็นต้องกินยา
ต้านเอช 2 เช่น รานิทิดีน 150-300 มก.วันละครั้งก่อนนอนทุกวันติดต่อกันไปอีกสักระยะหนึ่ง (3-6) เดือนหรือเป็นปี) และอาจต้องใช้กล้องส่งตรวจและตรวจชิ้นเนื้อซ้ำจนกว่าแผลจะหายดี
ถ้าแผลเรื้อรังไม่ยอมหาย อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด