เบาหวาน เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและวัยผู้ใหญ่กลางคน สาเหตุเกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลที่กินเข้าไปได้หมด จึงทำให้น้ำตาลคลั่งอยู่ในเลือด ถ้ามีน้ำตาลในเลือดมากจะถูกขับออกทางปัสสาวะ จึงเรียกอาการดังกล่าวว่า เบาหวาน (เบา หมายถึง ปัสสาวะ)
อาการ – พบได้ในทำเพศทุกวัย และพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป
– หิวน้ำบ่อย
– อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
– รับประทานอาหารจุมากขึ้น แต่น้ำหนักตัวลด
– เป็นสิวหรือฝีหนองง่าย
– ความรู้สึกทางเพศลดลง
– ถ่ายปัสสาวะบ่อยและมากขึ้น กลางคืนต้องตื่น 2 – 3 ครั้ง
– ในปัสสาวะมีน้ำตาลและเป็นฟอง
– ชาตามมือและขา
– ปวดมือและขา
– สายตาเสื่อมลง
การดูแลรักษาโรคเบาหวาน เน้นการใช้พืชผักสมุนไพร มาประกอบอาหาร เช่น
– มะระ ใช้ผลดิบที่ยังไม่สุกและยอดอ่อน เป็นผักจิ้ม กินกับน้ำพริก มะระขี้นก มีรสขม ช่วยเจริญอาหาร
น้ำคั้นจากผลช่วยแก้ไข้และใช้อมแก้ปากเปื่อย ใบสดของมะระขี้นก หั่นชงกับน้ำร้อน ใช้ถ่ายพยาธิเข็มหมุด ผลและใบของมะระช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
– ตำลึง มีคุณค่าทางอาหารสูง ประกอบด้วยวิตามินเอ แร่ธาตุ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินอื่น ๆ อีกมาก ยอด
ตำลึงใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงจืด ผัดผัก ลวกจิ้มน้ำพริก แกงเลียง ฯลฯ
ใบและเถาตำลึง มีฤทธิ์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
– เตยหอม น้ำคั้นจากใบเตย มีกลิ่นหอมนำมาใช้แต่สีขนม แต่กลิ่นอาหาร และยังนิยมนำมาทำเป็น
เป็นเครื่องดื่ม ใบเตยสด เป็นยาบำรุงหัวใจ ให้ชุ่มชื่นลดอาการกระหายน้ำ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะใช้รักษาเบาหวาน
– กินข้าวที่อุดมด้วยวิตามิน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เพราะ ในข้าวกล้องมีวิตามิน ช่วยเผาผลาญ
น้ำตาล มีเส้นใยอาหารมากกว่าข้าวขาวช่วยให้อิ่มง่าย ทำให้ทานแป้งได้น้อยลง น้ำตาลในเลือดไม่สูง
– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันจากสัตว์ เนย หลีกเลี่ยงของทอด
– ทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ให้กินเป็นปลา หรือถั่วต่าง ๆ ทำให้ได้รับโปรตีนที่เพียงพอ และไม่ทำให้ น้ำตาลในเลือดสูง
– กินผักสดและผลไม้ที่ไม่มีรสหวาน เพราะในผักมีสารต้านอนุมูลอิสระ อุดมด้วยวิตามิน
– ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดิน กายบริหารท่าฤษีดัดตน
รายชื่อผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางอาหารสูง คือ มีวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน มากกว่าผักอื่น ควรรับประทานเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง ได้แก่ มะระ กระชาย กระเทียม ยอดแค ใบกระเพรา ใบขี้เหล็ก ผักเชียงดา ผักกระเฉด แครอท ใบยอ ใบย่านาง ใบชะพลู ตำลึง ผักกูด ผักแพง ผักชีลาว ผักแว่น ใบบัวบก ใบกระเจี๊ยบ ใบแมงลัก ผักหวาน ผักไผ่ เป็นต้น
เส้นใยในผักพื้นบ้านทำให้อิ่มง่าย แคลอรี่ที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายน้อยจึงช่วยป้องกันและรักษาโรคเบาหวานได้
ผู้ที่ยังไม่เจ็บป่วย สามารถกินเพื่อป้องกัน ผู้ที่ป่วยก็ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าควบคุมอาหาร กินอาหารที่มีประโยชน์ ควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน จะช่วยให้เรามีสุขภาพแข็งแรงไม่มีโรคแทรกซ้อน