1.ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติชนิดปฐมภูมิ (primary dyslipidemia) ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยไม่มีสาเหตุชัดเจนมักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติ ทางกรรมพันธุ์ โดยมีพ่อแม่พี่น้องมีภาวะไขมันในเลือด ผิดปกติร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจมีรูปร่างสมส่วน หรือผอม และการควบคุมอาหารอย่างเต็มที่ก็ไม่ได้ทำให้ระดับไขมันในเลือดเป็นปกติ ผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติของไขมันในเลือดหลายแบบร่วมกัน (เรียกว่า familial combined hyperlipidemia)
2.ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติชนิดทุติยภูมิ (secondary dyslipidemia) มักมีสาเหตุ ดังนี้
- คอเลสเตอรอลในเลือดสูง (มก./ดล.) และ/หรือแอลดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (160 มก./ดล.) อาจเกิดจากโรคตับที่มีภาวะอุดกั้นของ ทางเดินน้ำดี (obstructive liver disease)โรคไตเนโฟรติก ภาวะขาดไทรอยด์ โรคคุชชิง การใช้ยาขับปัสสาวะการใช้ยาโพรเจสเทอโรน หรือไซโคลสปอรีน
- ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (200 มก./ดล.) อาจเกิดจากความอ้วน ความเครียด ขาดการออกกำลังกายการตั้งครรภ์ เบาหวาน โรคคุชิง ภาวะไตวายเรื้อรัง โรคตับอักเสบเฉียบพลันมะ เร็งต่อมน้ำเหลือง เอสเอลอี โลหิตเป็นพิษ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์จัด การใช้ยา เอสโทรเจน (ยาเม็ดคุมกำเนิด) สตีรอยด์ ยาขับปัสสาวะยาปิดกั้นบีตา ยาต้านไวรัสเอชไอวีกลุ่ม protease inhibitors
- เอชดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ (< 40มก./ดล.) อาจเกิดจากความอ้วน การสูบบุหรี่ การใช้ ยาปิดกั้นบีตา การใช้ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนโพรเจสเทอโรน หรืออะนาบอลิกสตีรอยด์ ภาวะขาดอาหารขาดการออกกำลังกาย
3. ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจากอาหาร อาหารที่ทำให้แอลดีแอลคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงหรือมีไขมันชนิดอิ่มตัว (saturated fat) มาก เช่น ไขมันสัตว์ เนย เนื้อที่มีมันมาก หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์ หมูยอ กุนเชียง ไส้กรอก กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ไข่แดง อาหารทะเล(หอยนางรม กุ้ง ปู หลาหมึก)
ส่วนอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง ได้แก่ อาหารที่ให้พลังงานเกินความต้องการของร่างกาย อาหาร พวกแป้งน้ำตาล ของหวาน ผลไม้รสหวาน น้ำผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของทอดด้วยน้ำมันพืชซ้ำหลาย ๆ ครั้ง (เช่น มันฝรั่งทอด ปาท่องโก๋ เปาะเปี๊ยะ) ขนมเบเกอรี่ เนยเทียม (เช่น มาร์การีน)