อาการ ไขมันในเลือดสูง


ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ส่วนมากจะไม่มีอาการแสดงแต่อย่างใด มักจะตรวจพบขณะตรวจเช็กสุขภาพ หรือขณะมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บหน้าอก ปวดน่องเวลาเดินมาก ๆ ภาวะหย่อน สมรรถภาพทางเพศ หรือองคชาตไม่แข็งตัว (erectiledysfunction/ED) อัมพาต   เป็นต้น

ข้อแนะนำ

                    1. 
เนื่องจากภาวะไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติมักไม่มีอาการแสดงเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่ามีสุขภาพทั่วไป แข็งแรงดี ก็ควรเซ็กไขมันในเลือดเป็นระยะโดย เฉพาะในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง

                    ในการตรวจเซ็กไขมันในเลือด ควรอดอาหาร (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 12 ชั่วโมง และในระยะ 3 สัปดาห์ก่อนตรวจ ควรมีน้ำหนักตัวคงที่ บริโภคอาหาร เครื่องดื่ม และทำกิจวัตรประจำวันตามปกติที่เคยทำ ทั้งนี้จะได้พบว่า พฤติกรรมที่เป็นนิสัยปกตินั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือดหรือยัง

                     ถ้าผลเลือดปกติ สำหรับกลุ่มเสี่ยง ควรตรวจซ้ำ ทุก 1-3 ปี ส่วนผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงควรตรวจทุก 5 ปี

                     2. แม้ว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน จะมีความเสี่ยง สูงต่อการมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ แต่ผู้ที่มีน้ำหนัก ตัวปกติหรือผอม หากมีปัจจัยเสี่ยงก็อาจมีภาวะดังกล่าวได้ หากไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภค ก็อาจเกี่ยว เนื่องกับความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงมาก     

                     3. ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ ควรได้รับ การรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อควบคุมระดับไขมันให้ได้ตามเป้าหมายรวมทั้งควบคุมปัจจัยเสี่ยง อื่น ๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาการเมตาบอลิก) ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

                     4. การรักษาโรคนี้จำเป็นต้องอาศัยการปรับพฤติ กรรมเป็นพื้นฐาน หากไม่ได้ผลก็ควรใช้ยาลดไขมัน ควบคู่กันไปโดยแพทย์จะทำการเลือกใช้ยาและปรับขนาดของยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้น ผู้ป่วย ควรติดตามรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง

[Total: 0 Average: 0]