โรคขาดวิตามินเอ

 โรคขาดวิตามินเอ  ยังพบได้ในท้องที่ชนบทบางแห่ง (พบบ่อยทางภาคอีสาน) และในเด็กที่ยากจนภาวะขาดวิตามินเอ ทำให้ประสาทตาส่วนที่เรียกว่าจอตา หรือเรตินา (retina) เสื่อมทำให้เยื่อบุตาแห้ง และต่อมน้ำตาไม่ทำงานจึงอาจทำให้เด็กที่เป็นโรคนี้ตาบอดได้ ดังที่ชาวบ้านรู้จักกันดีว่าเป็น โรคเกล็ดกระดี่ขึ้นตา

สาเหตุ โรคขาดวิตามินเอ

มักจะพบในเด็กวัยแรกเกิดถึงอายุ 5 ปี เกิดจาก การกินอาหารที่มีวิตามินเอน้อยไป เช่น กินแต่นมข้นหวาน กล้วยบดและข้าว โดยไม่ได้อาหารเสริมอื่น ๆ โรคนี้มักจะพบร่วมกันไปกับโรคขาดสานอาหารท บางรายอาจเป็นหลังจากเป็นโรคติดเชื้อ (เช่น หัด ปอดอักเสบ) หรือท้องเดินเรื้อรัง

ในผู้ใหญ่พบได้น้อย ถ้าพบมักมีสาเหตุจากโรค อื่น ๆ เช่น โรคตับเรื้อรัง โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น มีผลทำให้การดูดซึมวิตามินเอน้อยลงทางด้านหางตา เรียกว่า จุดบิทอตส์ (Bitot's spot) หรือ เกล็ดกระดี่ อาจเป็นที่ตาทั้ง 2 ข้าง ถ้ารักษาในระยะนี้จะแก้ได้ ทันแต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้กระจกตาจะเกิดการอ่อนตัว เป็นแผล และเกิดรูทะลุ  มีเชื้อโรคเข้าไปในลูกตา ทำให้ เกิดการอักเสบภายในลูกตา ตาบอดได้ ถ้าเป็นในระยะนี้โอกาสหายก็มีน้อย
               ในเด็กเล็กมักตรวจพบเมื่อมีการอ่อนตัวของกระจกตาดำแล้วจะพบหนังตาบวม ปิดตาแน่น ไม่ยอมลืมตา

อาการ โรคขาดวิตามินเอ

เริ่มแรกจะมีอาการตาฟางหรือมองไม่เห็นเฉพาะ ตอนกลางคืนหรือในที่มืด ๆ (แต่มองเห็นเป็นปกติใน เวลากลางวันและในที่สว่างๆ) เนื่องจากจอตาเริ่มเสื่อมต่อมาเยื่อตาขาวแห้ง เมื่อเป็นมากขึ้นเยื่อตาขาวจะย่น อยู่รอบ ๆ กระจกตาดำดูคล้ายเกล็ดปลา และกระจกตาดำซึ่งปกติสะท้อนแสงวาววับ จะแห้งและไม่มีประกายตาขาวจะเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีเงินเห็นเป็นจุดใหญ่

การป้องกัน โรคขาดวิตามินเอ

                เด็กที่มีภาวะขาดวิตามินเอ เมื่อเป็นหัด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาให้วิตามินเอเสริมซึ่งจะช่วยลดความพิการ และการเสียชีวิตลงได้ 

                โรคนี้เป็นแล้วทำให้ตาบอดได้ แต่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการกินอาหารที่มีวิตามินเอสูง เช่น เนื้อ ตับ ไข่ นม ฟักทอง มะเขือเทศ มะละกอสุก ผักใบเขียว (ผักบุ้ง ใบตำลึง ใบมันสำปะหลัง) พริกที่เผ็ด ๆ จึงควรแนะนำให้เด็กๆ กินอาหารเหล่านี้ให้มาก เป็นประจำ

การรักษา โรคขาดวิตามินเอ

              1.เมื่อเริ่มมีอาการตาบอดกลางคืน  หรือเริ่มมีเกล็ดกระดี่ขึ้นตาให้กินวิตามินเอชนิดแคปซูล (ขนาด 25,000 ยูนิต) วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1- 2 แคปซูล เป็นเวลา3 - 5 วัน (ในเด็กเล็กควรฉีกแคปซูลให้กิน) พร้อมกับให้วิตามินรวมชนิดน้ำเชื่อม1 ช้อนชา วันละ 3 ครั้ง ถ้ามีวิตามินเอชนิดฉีดให้ขนาด 1 แสนยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่สะโพกครั้งเดียว เพิ่มเติมจากยากินดังกล่าว หรือถ้าไม่มียาวิตามินเอชนิดแคปซูล หรือชนิดฉีด ให้กินวิตามินรวมชนิดน้ำเชื่อม 1 ช้อนชาวันละ 3 ครั้ง หรือน้ำมันตับปลา (1,000 ยูนิต) วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 - 5 เม็ด ร่วมกับกินอาหารที่มีวิตามินเอ นาน 2 - 3 เดือน

             2. ถ้าไม่ดีขึ้นใน1สัปดาห์ หรือมีอาการอ่อนตัว ของกระจกตาดำให้ส่งโรงพยาบาล

3. ถ้ามีการติดเชื้ออักเสบ ให้ส่งโรงพยาบาลทันที ระหว่างที่เดินทางอาจให้กินวิตามินเอชนิดแคปซูล หรือ ฉีดวิตามินเอดังในข้อ1 ร่วมกับให้กินยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลินวี อะม็อกซีซิลลิน อีริโทรไมซิน ถ้าเด็กปิดตาแน่น อย่าพยายามเปิดตาเด็ก เพราะอาจทำให้กระจกตาดำแตกทะลุได้

[Total: 0 Average: 0]