ม่านตาอักเสบ

ม่านตาอักเสบ คือ โรคที่พบได้น้อย พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในวัยหนุ่มสาว และอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้

สาเหตุ ม่านตาอักเสบ

อาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง (autoimmune) สาเหตุอาจมีได้หลายอย่าง เช่น อาจเกิดจากการลุกลามของโรคติดเชื้อภายนอกลูกตา เช่น กระจกตาอักเสบ แผลกระจกตา เยื่อตาขาวอักเสบ

เนื่องจากการกระทบกระเทือน เช่น ถูกแรงกระแทรกที่บริเวณกระบอก อาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น วัณโรค ซิฟิลิส โรคเรื้อน สมองอักเสบ ไซนัสอักเสบ โรคปวดข้อรูมาตอยด์ บางครั้งอาจไม่พบสาเหตุชัดเจนก็ได้

อาการ ม่านตาอักเสบ

มีอาการปวดตา เคืองตา น้ำตาไหล ตามัว ซึ่งอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยจนถึงปานกลาง อาการอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ โดยมากมักจะเป็นเพียงข้างเดียว

บางรายอาจรู้สึกปวดมากเมื่อยอยู่ที่แจ้งแต่จะดีขึ้นเมื่ออยู่ในที่ร่ม บางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยจนไม่รู้สึกว่ามีอาการเลยก็ได้

อาการอาจเป็นอยู่เพียงไม่กี่วันถึงหลายสัปดาห์ เมื่อหายแล้วอาจกำเริบได้ใหม่ในรายที่เป็นเรื้อรังอาจเป็นอยู่ นานเป็นแรมเดือนแรมปี

การป้องกัน ม่านตาอักเสบ

อาการปวดตาและตาแดง อาจมีสาเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น เยื่อตาขาวอักเสบ หรืออาจมีสาเหตุที่ รุนแรง เช่น ต้อหิน แผลกระจกตา ม่านตาอักเสบ เราอาจวินิจฉัยแยกกลุ่มโรคที่รุนแรงออกจากกลุ่มที่ไม่รุนแรงได้โดยการตรวจพบว่า กลุ่มโรค ที่รุนแรงจะมีอาการปวดตามากตามัว รูม่านตา 2 ข้างไม่เท่ากัน หรือกระจกตาขุ่นหรือเป็นฝ้าขาว หากพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าว ควรส่งโรงพยาบาลด่วน 

การรักษา ม่านตาอักเสบ

หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ และให้ยาหยอดตาที่ ทำให้รูม่านตาขยาย เช่น ยาหยอดตาอะโทรพีน (atropine eye drop) ชนิด1% เพื่อให้ม่านตาได้พักบรรเทาอาการปวด และป้องกันไม่ให้ม่านตาที่อักเสบไปยึดติดกับแก้วตาที่อยู่ข้างหลังยานี้อาจทำให้ตาพร่ามัวได้ ซึ่ง จะหายหลัดหยุดยาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ยานี้ห้ามใช้ในคนที่เป็นต้อหินหรือมีความดันลูกตาสูง จึงควรใช้ กับผู้ป่วยเฉพาะตัวตามแพทย์สั่งเท่านั้น อย่านำไปใช้กับคนอื่น ๆ

นอกจากนี้อาจให้สตีรอยด์ ชนิดเป็นยาหยอดตา เพื่อลดอาการอักเสบ ถ้าเป็นมากอาจให้ชนิดกิน นายที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย อาจต้องใช้เวลารักษาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนจน กว่าอาการจะทุเลาดีแล้ว

โรคนี้ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย มักจะค่อย ๆ หายไปได้เอง ถึงแม้ไม่ได้รับการรักษา แต่ถ้ามีการอักเสบรุนแรงการรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ต่างๆ ได้ บางรายอาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง แต่ในที่สุดมักจะ หายขาดได้เป็นส่วนใหญ่

[Total: 2 Average: 5]