ตามัว

อาการตาพร่ามัว (Blurred Vision) คือ การที่ตามองเห็นไม่ชัดเจนหรือเห็นเป็นภาพเบลอ แต่อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีขี้ตา น้ำตาไหล ตาแห้ง แสบตา หรือตาไม่สู้แสง

และอาจมีอาการแค่ชั่วคราว หรือเป็นระยะยาวก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน อาการตามัวมองเห็นไม่ชัดเจนอาจเป็นสัญญาณของโรคหรือความเจ็บป่วยบางอย่าง จึงควรไปพบแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจน

สาเหตุ ตามัว

การเห็นภาพเบลอโดยทั่วไปนั้นเกี่ยวข้องกับสภาพของดวงตา คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายตาสั้น, สายตายาว, สายตาผู้สูงอายุ, สายตาเอียง และโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) ทั้งหมดนี้สามารถก่อให้เกิดปัญหามองเห็นไม่คมชัดได้ อย่างไรก็ตามบางกรณีอาจมีสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับดวงตาโดยตรง – ยกตัวอย่างเช่น ไมเกรน หรือโรคลมชัก เป็นต้น

สาเหตุอื่นๆ ของตามัว

  • การติดเชื้อที่ตา - เชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา หรือไวรัส อาจทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อที่ส่วนต่างๆ ของดวงตา 
  • ตาแห้ง - ถ้าการกระพริบตาช่วยให้หายตามัวได้ แสดงว่าปัญหาอาจเกิดจากอาการตาแห้ง บางครั้งกระจกตา (ชั้นฟิล์มบางๆที่เคลือบอยู่บนลูกตา) ขาดน้ำหล่อลื่นอย่างที่ควรมีตามปกติ  หรือสภาวะอาการเจ็บป่วยบางอย่าง การใช้ยาหยอดตาช่วยบรรเทาอาการได้ในบางกรณี
  • ไมเกรน - สามารถทำให้เกิดอาการตามัวได้ในระยะเวลาสั้นๆ
  • โรคเส้นประสาทตาอักเสบ - เป็นภาวะที่เส้นประสาทซึ่งนำส่งข้อมูลไปยังดวงตาเกิดการอักเสบ มักเกี่ยวเนื่องกับโรคปลอกระบบประสาทอักเสบของระบบประสาทส่วนกลาง (MS)
  • โรคตาบอดตอนกลางคืน - เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบยาก โรคนี้ทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์จอประสาทตา (เนื้อเยื่อบางๆ ที่อยู่ด้านหลังของดวงตา) ส่งผลให้ตามัวในเวลากลางคืน และสูญเสียความสามารถในการมองเห็นรอบๆ
  • ต้อกระจก - เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป เมื่อเลนส์ตาเริ่มเป็นฝ้ามัว ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน
  • ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา - ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานขึ้นจอตา เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนทำให้กระจกตาเกิดการเป็นฝ้ามัว
  • โรคหลอดเลือดสมอง - สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมองอย่างหนึ่งก็คืออาการผิดปกติของสายตา บางครั้งผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมองมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา เนื่องจากเส้นประสาทที่ส่งข้อมูลถึงดวงตาถูกทำลาย

ขั้นถัดมาคือการให้จักษุแพทย์ตรวจตาดูว่าเกิดจากส่วนนำภาพ (Ocular media in origin) หรือส่วนรับภาพ (Sensory system in origin) ส่วนนำภาพเป็นโรคของลูกตาซึ่งมักมีอาการปวดตาร่วมด้วย (เว้นแต่จะเป็นชนิดเรื้อรังหรือเป็นส่วนนำภาพทางด้าน) ส่วนรับภาพเป็นโรคทางระบบประสาทและหลอดเลือดที่มีผลต่อจอรับภาพซึ่งมักไม่มีอาการปวดตา ความเร็วในการมัวก็เป็นอีกหนึ่งประวัติที่ช่วยแยกโรคเฉียบพลันกับโรคเรื้อรัง โรคที่เป็นเรื้อรังมักจะค่อย ๆ มัว ระบุวันที่เริ่มต้นมัวได้ลำบาก หากประมาณการก็เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ขณะที่โรคเฉียบพลันจะมัวทันทีหรือค่อนข้างเร็ว ผู้ป่วยสามารถบอกวันที่หรือเวลาได้ อีกกรณีหนึ่งคืออาการมัวที่เป็นชั่วคราวแล้วหายไปเองแต่อาจเป็นบ่อย ๆ ลักษณะนี้มักเป็นโรคอื่นที่มีอาการแสดงทางตาหรือเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดชั่วคราว หากผู้ป่วยให้ประวัติเหล่านี้ชัด กลุ่มโรคที่พบบ่อยจะเป็นดังนี้

อาการ ตามัว

ตามัวอาจส่งผลต่อการมองเห็นบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น หากกระทบต่อสายตาส่วนรอบ ก็จะทำให้การมองเห็นบริเวณรอบข้างพร่ามัวได้ ซึ่งอาจมีอาการต่าง ๆ แตกต่างกันตามสาเหตุดังต่อไปนี้

  • มีขี้ตา มีน้ำตามาก หรืออาจมีเลือดออกจากดวงตา
  • ตาแห้ง คันตา หรือปวดตา
  • เห็นจุดหรือมีเส้นใยบาง ๆ ในดวงตา
  • เส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก
  • อาการตากลัวแสงหรือไม่สู้แสง
  • การมองเห็นไม่ชัดเจนในระยะใกล้ หรือในตอนกลางคืน
  • สายตาส่วนกลาง หรือสายตาส่วนรอบเสียหาย

การรักษา ตามัว

  • ตรวจวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสคอนแทคเลนส์
  • สวมแว่นป้องกันดวงตาให้เหมาะสมเมื่อต้องทำกิจกรรมต่างๆ เช่น งาน DIY. งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี, หรือเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทก
  • สวมแว่นกันแดดเมื่อออกไปเจอแสงแดด
  • รับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบำรุงสายตา เช่น วิตามินซี, วิตามินอี, ซิงค์, และกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีอยู่ในอาหาร เช่น หอยนางรม, เนื้อหมู, ปลาที่มีไขมันดี, ผักใบ เช่น คะน้า, รวมทั้ง น้ำส้มคั้น, ถั่ว, ถั่วเปลือกแข็ง และไข่
  • หลีกเลี่ยงการทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จัดโต๊ะทำงานให้เหมาะสม และหยุดพักการทำงานแล้วลุกออกไปจากโต๊ะบ้าง พักสายตาจากการจ้องหน้าจอทุกๆ 20 นาที โดยประมาณ มองออกไปนอกหน้าต่างหรือมองออกไปไกลๆ เป็นเวลาประมาณ 20 วินาที
[Total: 3 Average: 5]