หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นภาวะที่ผนังหลอดเลือดบางส่วนมีความอ่อนแอถูกแรงดันเลือดดันให้โป่งออกคล้ายลูกโป่ง ส่วนใหญ่เนื่องจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ส่วนน้อยอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ การอักเสบ (aortitis) ซิฟิลิส หรือกลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan syndrome) ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ทำให้เนื้อเยื่อมีความอ่อนแอ) ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อ การเกิดโรคนี้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีประวัติสูบบุหรี่
พบมากในกลุ่มอาย 50-80 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2-3 เท่า
ผนังหลอดเลือดส่วนที่โป่งพอง ส่วนใหญ่มักเกิด ในส่วนที่อยู่ในช่องท้องในระดับที่ต่ำกว่าจุดแยกของหลอดเลือดแดงไต (renal artery) เรียกว่า “หลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง (abdominal aortic aneurysm)”ส่วนน้อยเกิดในส่วนที่อยู่ในช่องอกใกล้หัวใจ เรียกว่า“หลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนอกโป่งพอง (thoracic aortic aneurysm)”
อาการ หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง มักตรวจพบโดยบังเอิญขณะแพทย์ทำการตรวจร่างกายด้วยสาเหตุอื่น ๆ
สำหรับผู้ที่เป็นหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่ง พองบางรายอาจรู้สึกมีอะไรเต้นอยู่ในห้อง (บริเวณใต้สะดือ) หรือมีอาการปวดลึก ๆ ที่หลัง
สำหรับผู้ที่เป็นหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนอกโป่งพอง อาจรู้สึกมีอะไรเต้นในทรวงอกหรือปวดหลังด้านบน หากมีขนาดโตอาจเบียดกดอวัยวะข้างเคียง ทำให้มีอาการไอ หรือมีเสียงวี้ด (กดถูกหลอดลม) ไอเป็นเลือด (หลอดลมกร่อน) กลืนลำบาก (กดถูกหลอดอาหาร) หรือเสียงแหบ (กดถูกประสาทที่เลี้ยงกล่องเสียง)
การป้องกัน หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
หากสงสัย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ ตรวจอัลตราซาวนด์ หรือถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ โดยการป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
2. ออกกำลังกายเป็นประจำ
3.ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4. ถ้าเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตแดง หรือภาวะไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
การรักษา หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
หากสงสัย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ ตรวจอัลตราซาวนด์ หรือถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ถ้าพบว่าหลอดเลือดที่โป่งพองมีขนาดกว้างน้อยกว่า 5 ซม.มักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แพทย์จะให้ยาลดความดัน (ถ้าพบว่ามีความดันโลหิตสูง) และคอยติดตามตรวจดูดูการขยายตัวของหลอดเลือดที่โป่งพองทุก 3-6 เดือน
แต่ถ้าพบว่าหลอดเลือดที่โป่งพองมีขนาดมากกว่า 5 ซม. ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแตก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดแก้ไข หลังผ่าตัดผู้ป่วยร้อยละ 60-80 สามารถทำการผ่าตัดแก้ไข หลังผ่าตัดผู้ป่วยร้อยละ 5-10 อาจมีการโป่งพองของหลอดเลือดขึ้นมาใหม่ในบริเวณใกล้เคียงได้อีก
ในรายที่เกิดการแตกของผนังหลอดเลือด แพทย์จะต้องทำการผ่าตัดโดยเร่งด่วน ซึ่งมีอัตราตายประมาณ ร้อยละ 50