Magnetic resonance imaging (MRI) คือ เทคโนโลยีทันสมัยสามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างละเอียดถูกต้องแม่นยำ ตรวจได้ในทุกระบบของร่างกาย และสามารถพบความผิดปกติของส่วนต่างๆ ได้อย่างละเอียดและชัดเจน โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ต่อผู้รับการตรวจ เนื่องจากภาพที่ได้เป็น 3 มิติที่มีความเสมือนจริงของอวัยวะต่างๆ ด้วยคอมพิวเตอร์
MRI ได้เริ่มนำมาใช้เมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมานี้โดยใช้หลักการของ nuclear magnetic resonance (NMR) สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ (Radio Frequency) ที่ใช้ในทางเคมีเพื่อหาโครงสร้างของโมเลกุลต่างๆ
MRI ใช้เวลาตรวจนานเท่าไหร่
MRI มีความจำเป็นต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ต้องการตรวจ
MRI ตรวจอวัยวะใดได้บ้าง
- สมอง
- อาการปวดหัว
- สมองเสื่อม
- คลื่นใส้
- อาเจียน
- อาการวิงเวียนศีรษะ
- ช่องท้องส่วนบน
- ช่องท้องส่วนล่าง
- เต้านม
- เพิ่มเติมจากที่ตรวจพบโดยแมมโมแกรม
- มะเร็งเต้านม
- ซีสท์ในเต้านม
- กระดูกและข้อ
- กระดูกสันหลัง
- ศีรษะ
- ตา หู จมูก และคอ
- ระบบทางเดินน้ำดี
- ท่อไต และไต
- เส้นเลือดแดง/ดำ
ข้อดีของการตรวจ MRI
- MRI สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถทำการตรวจได้ในทุกๆระนาบ ไม่ใช่เฉพาะแนวขวางอย่างเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก (non bony parts) คือเนื้อเยื่อ (soft tissues) โดยเฉพาะ สมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย ( CT scan ดูภาพกระดูกได้ดีกว่า )
- สามารถตรวจเส้นเลือดได้โดย ไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสี และการสวนสายยางเพื่อฉีดสี ซึ่งมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะมีความปลอดภัยสูงและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ยังสะดวกสบายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆทั้งก่อนและหลังการตรวจ คนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จ
- ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหมือนใน CT scan เพราะไม่ใช้คลื่นรังสี
ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจ MRI
- หลังจากเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดเพื่อที่พร้อมสำหรับการตรวจ ผู้รับการตรวจจะได้รับการพาเข้าสู่ห้องตรวจ
- ผู้รับการตรวจจะนอนบนเตียงตรวจ และมีการทำเครื่องจับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กมาวางบนร่างกาย โดยน้ำหนักโดยรวมของเครื่องจับสัญญาณนี้ประมาณ 1 กิโลกรัม
- ผู้รับการตรวจนอนสบายๆ นิ่งๆ บนเตียงตรวจ และทำตามเสียงที่บอก เช่น ให้หายใจเข้าแล้วกลั้นใจ หรือว่าอย่ากลืนน้ำลาย
- ตัวคนไข้จะเคลื่อนไปยังศูนย์กลางของสนามแม่เหล็ก เราอาจจะรู้สึกสั่นสะเทือนและไถลเล็กน้อยระหว่างที่มีการถ่ายภาพ
- คนไข้บางคนจะต้องได้รับการฉีดสีเพื่อทำการตรวจร่างกายเฉพาะส่วน สารเหล่านี้เรียกว่า contrast agent สารเหล่านี้มีความปลอดภัย เพราะไม่ใช่ สาร iodine เหมือนใน CT scan
- แพทย์จะดูภาพที่ได้จากการตรวจ และรายงานในเบื้องต้นพร้อมคำแนะนำให้ผู้รับการตรวจทราบหลังจากที่ตรวจเสร็จ
ในปัจจุบันการตรวจด้วยเครื่องMRI มีประสิทธิภาพในการตรวจพบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้ทันท่วงที
MRI