ปกติลิ้นไมทรัลมีขนาดของรูเปิดประมาณ 4-6 ซม. ผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อการรูเปิดตีบแคบลงเหลือครึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่า คือ 2.5 ตร.ซม. หรือน้อยกว่า การตีบของลิ้นหัวใจทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ความดันในหัวใจห้องบนซ้ายจะสูงขึ้น หัวใจห้องบนซ้ายต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อให้เลือดไหลลงสู่หัวใจห้องล่างซ้ายได้ กล้ามเนื้อหัวใจจะหน้าขึ้น อาจจะมีอาการเหนื่อยเมื่อออกกำลังกาย เครียด หรือตั้งครรภ์ เมื่อรูตืบแคบลงเหลือ 1-5 ตร.ซม. จะทำให้ปริมาตรเลือดที่ส่งออกจากหัวใจต่อนาทีลดลงและจะมีอาการแสดงขณะมีกิจกรรมเพียงปานกลางเท่านั้น เมื่อรูตีบแคบลงน้อยกว่า 1 ตร.ซม. ความดันของหัวใจห้องบนซ้ายจะเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยหอบแม้ในขณะที่พักได้
การที่ลิ้นไมทรัลตีบทำให้ความดันของหัวใจห้องบนซ้ายสูงขึ้น แต่เลือดลงสู่หัวใจห้องล่างซ้ายลดลง ทำให้เลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของหัวใจได้น้อย ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เมื่อมีเลือดคั่งอยู่ในหัวใจห้องบนซ้าย เลือดที่ส่งมาฟอกที่ปอดไม่สามารถไหลมาที่หัวใจห้องบนซ้ายได้ ทำให้แรงดันในปอดสูงขึ้น เลือดคั่งในปอด เกิดอาการปอดบวมน้ำ ผู้ป่วยจะมีอาการของหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว คือ หอบ ไอ นอนราบไม่ได้ เมื่อความดันในปอดสูงขึ้น หัวใจห้องล่างขวาไม่สามารถส่งเลือดไปฟอกที่ปอดได้ ทำให้มีเลือดคั่งที่หัวใจห้องล่างขวา หัวใจห้องบนขวาไม่สามารถบีบตัวให้เลือดลงสู่หัวใจห้องล่างขวาได้ทำให้เลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่สามารถไหลกลับมาที่หัวใจห้องบนขวาได้ ผู้ป่วยจึงมีอาการหัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว คือ บวมตามร่างกาย เส้นเลือดดำที่คอโป่ง ตับโต มีน้ำในช่องท้อง เป็นต้น
อาการ โรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ
อาการและอาการแสดง: เป็นอาการของหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลวและหัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว
การรักษา โรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ
1. รักษาเช่นเดียวกับภาวะหัวใจล้มเหลว (ดูในหัวข้อการรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว)
2. ผ่าตัดลิ้นหัวใจ
2.1 ซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
1) Mitral valvuloplasty เป็นการตัดซ่อมแซมที่ใบลิ้นหัวใจ
2) Mitral annuloplasty เป็นการผ่าตัดใส่ห่วงรอบลิ้นหัวใจ เพื่อป้องกันการแยกของแผลหลังซ่อมแซม
3) Mtral valvuloplasty / Commisurotomy เป็นการผ่าตัดเพื่อขยายรูที่ตีบ 2.2 เปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve replacement) โดยการใช้ลิ้นหัวใจเทียม หลังผ่าตัดต้องรับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดตลอดชีวิต