โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ คือภาวะที่มีของเหลวสะสมอยู่ภายในถุงเยื่อหุ้มรอบหัวใจมากผิดปกติ โดยเป็นผลมาจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บ ทำให้เกิดการสร้างของเหลวขึ้นมาสะสมในชั้นระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจเป็นปริมาณมากผิดปกติ ซึ่งอาจไปกดเบียดและรบกวนการทำงานของหัวใจ หากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้
สาเหตุ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
ประกอบด้วยโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ เนื่องจากโรคที่ทำให้มีการอักเสบหลายระบบ เช่น Systemic Lupus Erythematosus (SLE) ปฏิกิริยาของแรงกล (mechanical forces) เช่น ฉายแสงรังสี การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา หลังผ่าตัดเปิดหัวใจ (post-pericardiotomy syndrome) บางรายมีเนื้องอกแพร่กระจายมาที่เยื่อหุ้มหัวใจ ไม่พบสาเหตุ
อาการ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
เมื่อเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบทำให้มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardial effusion) หรือทำให้เยื่อหุ้มหัวใจบีบรัดจากการที่เกิดผังผืดหนาจากการอักเสบ เมื่อมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเพียง 150-200 ซีซี. ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า Cardiac tamponade คือ อาการที่พบบ่อยคือ อาการเจ็บหน้าอก (Chest pain) ผู้ป่วยจะเจ็บบริเวณใต้กระดูกหน้าอกและบริเวณหัวใจ อาจมีปวดร้าวไปไหล่ คอ สะบักซ้าย หรือมีออการออกร้อนใต้ลิ้นปี่ มีความเจ็บปวดรุนแรง ลักษณะปวดแหลม ปวดมากเมื่อหายใจลึก ๆ การไอ การเคลื่อนไหวลำตัว หรือนอนราบ อาการปวดจะหายได้เมื่อนั่งและโน้มตัวไปข้างหน้า อาการอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น หายใจลำบาก (จากปริมาณเลือกออกจากหัวใจลดลงและออกซิเจนในเลือดลดลง) ไข้ต่ำ ๆ และไอ อาการสำคัญที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค คือ การฟังได้ Pericardial friction rub เนื่องจากการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจทำให้มีสารน้ำเพิ่มขึ้นในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เรียกว่า Pericardial effusion ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ปริมาณน้ำอาจพบตั้งแต่ 50 cc ถึง 3,000 cc เมื่อมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจนกดการทำงานของหัวใจเรียกว่า Cardiac tamponade ทำให้หัวใจบีบตัวไม่มีประสิทธิภาพ ในระยะแรกหัวใจจะมีการปรับตัวชดเชยโดยการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เมื่อการปรับตัวล้มเหลว ปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง ผู้ป่วยจะมีการกระสับกระส่าย สับสน หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว หลอดเลือดดำที่คอโป่งตึง การรักษาที่เร่งด่วนสำหรับภาวะ Cardiac tamponade คือการเจาะเอาของเหลว (อาจเป็นน้ำ หนอง หรือเลือดแล้วแต่สาเหตุ) ออกจากเยื่อหุ้มหัวใจ เรียกว่า Pericardiocentesis
การรักษา โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
สามารถป้องกันโดยการกำจัดสาเหตุ และบรรเทาการบีบรัดหัวใจจากน้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ทั้งนี้โดยใช้ยาฆ่าเชื้อหรือยาอื่นๆ ที่เหมาะสม ถ้ามีน้ำหรือหนองอยู่มากพอจะเจาะออกได้ก็จำเป็นที่จะต้องเจาะออก หรือถ้าเจาะไม่ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องผ่าตัดเอาน้ำหนอง หรือเยื่อหุ้มหัวใจออกเพื่อไม่ให้หัวใจถูกบีบรัดได้ ผู้ที่เป็นโรคนี้ จึงต้องไปหาหมอและขอรับการรักษาและขอทราบวิธีการป้องกันและการปฏิบัติจากแพทย์เชี่ยวชาญ การรักษาตัวเองในโรคหัวใจประเภทนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและคำแนะนำของแพทย์สำหรับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ