เมื่อเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบทำให้มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardial effusion) หรือทำให้เยื่อหุ้มหัวใจบีบรัดจากการที่เกิดผังผืดหนาจากการอักเสบ เมื่อมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเพียง 150-200 ซีซี. ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า Cardiac tamponade คือ อาการที่พบบ่อยคือ อาการเจ็บหน้าอก (Chest pain) ผู้ป่วยจะเจ็บบริเวณใต้กระดูกหน้าอกและบริเวณหัวใจ อาจมีปวดร้าวไปไหล่ คอ สะบักซ้าย หรือมีออการออกร้อนใต้ลิ้นปี่ มีความเจ็บปวดรุนแรง ลักษณะปวดแหลม ปวดมากเมื่อหายใจลึก ๆ การไอ การเคลื่อนไหวลำตัว หรือนอนราบ อาการปวดจะหายได้เมื่อนั่งและโน้มตัวไปข้างหน้า อาการอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น หายใจลำบาก (จากปริมาณเลือกออกจากหัวใจลดลงและออกซิเจนในเลือดลดลง) ไข้ต่ำ ๆ และไอ อาการสำคัญที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค คือ การฟังได้ Pericardial friction rub เนื่องจากการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจทำให้มีสารน้ำเพิ่มขึ้นในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เรียกว่า Pericardial effusion ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ปริมาณน้ำอาจพบตั้งแต่ 50 cc ถึง 3,000 cc เมื่อมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจนกดการทำงานของหัวใจเรียกว่า Cardiac tamponade ทำให้หัวใจบีบตัวไม่มีประสิทธิภาพ ในระยะแรกหัวใจจะมีการปรับตัวชดเชยโดยการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เมื่อการปรับตัวล้มเหลว ปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง ผู้ป่วยจะมีการกระสับกระส่าย สับสน หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว หลอดเลือดดำที่คอโป่งตึง การรักษาที่เร่งด่วนสำหรับภาวะ Cardiac tamponade คือการเจาะเอาของเหลว (อาจเป็นน้ำ หนอง หรือเลือดแล้วแต่สาเหตุ) ออกจากเยื่อหุ้มหัวใจ เรียกว่า Pericardiocentesis
อาการ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
[Total: 0 Average: 0]