11 เทรนด์อาหาร 2022 ที่จะทำให้การกินในอนาคตเปลี่ยนไป

10 วิธีกินอย่างไร ให้ห่างไกลมะเร็ง อาหาร ผัก ขนม

เจาะลึกไปกับชุดข้อมูล Future Food Business Trend ปี 2022 กับศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ
ที่จะทำให้คุณเข้าใจข้อมูลเทรนด์เชิงลึก รู้ถึงศักยภาพในการเติบโตของแต่ะอุตสาหกรรมย่อย เห็นโอกาสด้วยกรณีศึกษาธุรกิจมากมาย เข้าใจการต่อยอดด้วยโมเดลธุรกิจใหม่ๆ และเอาชนะคู่แข่งด้วยข้อมูลวิจัยลูกค้าคนไทย เพื่อนำไปใช้พัฒนาธุรกิจ กำหนดกลยุทธ์ และวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1 Immunity Balance

การกินเพื่อสร้างสมดุลภูมิคุ้มกัน เมื่อโรคมีพัฒนาการ ร่างกายเราก็ควรทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโรค โดยการแต่หันมาสร้าง “สมดุลภูมิคุ้มกัน” ด้วยการกินเพื่อเสริมสร้างภูมมิคุ้มกัน

2 Personalized Nutrition

โภชนาการเฉพาะบุคคล เพราะทุกคนแตกต่างกัน และการออกแบบโภชนาการเฉพาะบุคคลจะเป็นการตอบสนองโภชนาการแต่ละบุคคลได้ดีที่สุด

3 Well-Mental Eating

กินเพื่อสุขภาพจิตใจ เมื่อการกินส่งผลโดยตรงต่อสมอง อารมณ์ และสุขภาพจิต เทรนด์นี้จึงทานเพื่อให้สามารถปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นได้

4 Gastronomy Tourism

การท่องเที่ยวสายกิน เมื่ออาหารเป็นส่วนสำคัญของการท่องเที่ยว การเดินทางไปเสาะหาอาหารในสถานที่ต่างๆ และค้นหาวัฒนธรรมของอาหารในแต่ละพื้นที่นั้น ก็เป็นกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้

5 Elderly Food

อาหารการกินของวัยเก๋า ประเทศไทยเองเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) แล้ว ด้วยอัตราส่วนประชากรผู้สูงอายุ 16.06% ของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้น ตลาดอาหารสำหรับผู้สูงอายุกำลังเติบโตไปพร้อมๆ กับการขยายตัวของสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุรอบโลก ในปี 2025 คาดการณ์ว่าตลาดอาหารสำหรับผู้สูงอายุจะขยายตัวขึ้นไปแตะ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 13,400 ล้านเหรียญ ในปี 2018 ที่ CAGR 4.7%

6 Co-Cooking Kitchen

เปิดตัวขึ้นทั่วโลกเพื่อรองรับความต้องการพื้นที่ในการสร้างสรรค์อาหารจานโปรด และกลายเป็น Community ของคนที่รักการทำอาหาร เพื่อสังสรรค์และหาเครือข่ายทางธุรกิจ

7 Cloud Kitchen

จากการเติบโตของ Food Delivery นี้เองจึงเกิดแนวคิดของ Cloud Kitchen คือพื้นที่สำหรับให้ร้านอาหารต่างๆ สามารถมาเช่าครัวในการทำอาหารสำหรับการ Delivery โดยเฉพาะ

8 Biodiverse Dining

กินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพความไม่หลากหลายกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและความมั่นคงทางอาหารของเรา เพราะฉะนั้นการนำเสนออาหารที่มีความหลากหลายของวัตถุดิบจึงน่าสนใจ

9 Foodwaste Rescue

การแก้ปัญหาขยะอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารราว 33-50% ไม่ถูกกิน ซึ่งอาหารที่ต้องกลายเป็นขยะนี้มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในสหรัฐอเมริกา ขยะอาหารคิดเป็นมูลค่า 1.3% ของ GDP

10 New Trition

โภชนาการรูปโฉมใหม่ อาหารรูปแบบใหม่มีความหลากหลายตั้งแต่ ไข่ที่ทำมาจากพืช (Plant-based Food) แท่งช็อกโกแลต ที่ทำมาจากแมลงหรือสาหร่าย ไปจนถึงเครื่องปริ้นท์ 3D Bio-Printer และเนื้อเยื่อที่ผลิตในห้องแล็บ

11 New Revenue Model

โมเดลรายได้ใหม่ การใช้ Data ในการทำงานและวางแผนเชิงกลยุทธ์กลายเป็นความปกติใหม่ในแวดวงธุรกิจไปแล้ว เช่นเดียวกับวงการอาหารที่มีชุดข้อมูลต่างๆ อยู่มากมาย จึงเป็นโอกาสให้เกิดบริษัทที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหาร


รางวัล Thailand Brand Superfans 2022

หมวดร้านอาหาร (Gastronomy Industry) ที่จัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย

จะมีสาขาใดบ้าง ลองไปดูพร้อมกัน

1. ร้านอาหาร Buffet Mo-Mo-Paradise (Thailand)

2. ร้านก๋วยเตี๋ยว เฮ้งชุนเส็ง ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋นหม้อไฟ

3. ร้านอาหารจานเดี่ยวและสตรีทฟู๊ด เฮียให้

4. ร้านคาเฟ่ Peach Oriental Teahouse

5. ร้านอาหาร Legendary เป็ดประจักษ์

6. Chain ร้านอาหารรายใหญ่ SizzlerThai

7. Chain ร้านอาหารกาแฟรายใหญ่ Starbucks Thailand

8. Quick Service Restaurant (QSR) KFC

9. ร้านอาหารปิ้งย่างชาบู Bar B Q Plaza

10. ร้านอาหารญี่ปุ่น ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

โดยหลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงมีรางวัลเพียง10 หมวดหมู่เท่านั้น นั่นเป็นเพราะรายชื่อร้านต่างๆ นี้มาจากรายชื่อร้านที่ถูกคัดสรรจากความนิยมในเว็บไซต์รีวิวร้านอาหารชื่อดังต่างๆ และเว็บไซต์อื่นๆ และร้านที่ได้รับความนิยมใน Food Delivery Application โดยพิจารณาไปกับเกณฑ์ความหลากหลายของประเภทอาหารในหมวดหมู่เดียวกัน เพื่อที่จะทำให้เห็นว่าไม่ว่าแบรนด์ของคุณจะเล็กหรือใหญ่ทุกคนสามารถสร้าง Superfans ให้กับตัวเองได้เสมอ

แล้วรายชื่อเหล่านี้จะถูกนำมาผ่านเครื่องมือการวัดผล Brandboost ที่เก็บข้อมูลเสียงผู้บริโภคจากช่องทางออนไลน์ต่างๆ จึงทำให้บางหมวดหมู่ที่อาจจะยังมีปริมาณไม่มากพออาจหายไปบ้างนั้นเอง

Social Superfans Index

ดัชนีชี้วัดความแข็งแรงของแบรนด์ยุคใหม่บนสังคมออนไลน์ 4 มุมมองได้แก่

1. การบอกต่อหรือ Net promoter score (NPS)

คุณจะรู้ได้ว่าสังคมออนไลน์ บอกต่อแบรนด์คุณมากน้อยแค่ไหน

2. การปกป้องแบรนด์หรือ Brand Guardian Index (BGI)

คุณจะรู้ได้ว่าสังคมออนไลน์ ปกป้องแบรนด์คุณมากน้อยแค่ไหน

3. การสนับสนุนแบรนด์หรือ Brand Supporter Index (BSI)

คุณจะรู้ได้ว่าสังคมออนไลน์ สนับสนุนแบรนด์คุณมากน้อยแค่ไหน

4. ความศรัทธาที่มีต่อแบรนด์ หรือ Brand Faith Index (BFI)

คุณจะรู้ได้ว่าสังคมออนไลน์ ศรัทธาแบรนด์คุณมากน้อยแค่ไหน

Key Benefit ของ BrandBoost

รู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชื่อเสียงของแบรนด์คุณบนสังคมออนไลน์

เห็นโอกาสก่อนใครว่า สังคมออนไลน์สนใจอะไร? จะสร้างยอดขายจากโอกาสอะไรได้บ้าง ?

รู้แนวทางในการพัฒนาแบรนด์ให้แข็งแรง เกิด Superfans ที่จะช่วยบอกต่อ และปกป้อง ชื่อเสียงของแบรนด์คุณ ซึ่งส่งผลต่อยอดขาย โดยตรงของคุณ

โดยครั้งนี้เป็นการร่วมมือระหว่าง บรษัท บารามิซี่ จำกัด (Baramizi) ศูนย์สร้างสรรค์กลยุทธ์และประเมินมูลค่าแบรนด์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ได้มีการศึกษาวิจัยร่วมกับ รศ.ดร.ณัฐพล อัสสะรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด และประธานหลักสูตร MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบการสร้างแบรนด์ที่มีผลต่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับ บริษัท คอมพิวเตอร์โลจี้ จำกัด Computerlogy บริษัทเทคโนโลยีการทำ Social listening ชั้นนำของประเทศ ในการพัฒนาเครื่องมือ Brand boost หรือเครื่องมือ Branding tech ที่มีการเก็บข้อมูลจากโลกออนไลน์

งานนี้จึงจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าแบรนด์ที่มีงบไม่มากหรือเป็นแบรนด์ขนาดเล็กสามารถเริ่มต้นสร้างแบรนด์ด้วยการสร้าง Brand Superfans ที่แข็งแกร่งจากผู้บริโภควงเล็ก ๆ ที่เข้มแข็งและกลายเป็นการบอกต่อผ่านสื่อดิจิตอลต่าง ๆ ทำให้เหล่าสาวกของแบรนด์เกิดขึ้นและขยายวงอย่างรวดเร็วได้ และยังสามารถเรียนรู้จากแบรนด์รุ่นใหญ่ว่าเค้าทำอย่างไร จึงสามารถสร้าง Superfans และต่อยอดชื่อเสียงมาได้อย่างยาวนาน

#thailandbrandsuperfans#brandsuperfans

[Total: 19 Average: 4.8]

Leave a Reply