กัญชา หรรษาหรือยารักษาโรค

กัญชา หรรษาหรือยารักษาโรค คือ รักษา โรค ผลิตภัณฑ์

กัญชา คือ พืชที่พูดถึงกันมากที่สุดในยุคนี้ ดังนั้นเราต้องรู้ถึงประโยชน์และโทษของกัญชาเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Cannabis

กัญชา ที่จริงแล้วเป็นยาที่ถูกใช้มาถึง 4000 ปี แต่การจะนำมาใช้อย่างถูกกฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่ต้องคุยกันนานมาก ขนาดประเทศอเมริกายังต้องใช้เวลาถึง 30 ปีด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันกัญชานั้นเป็นตลาดที่เติบโตเร็วมาก

สปีชีย์ของ กัญชา

แยกออกเป็นสองประเภทดังนี้

กัญชง

เรียกว่า HEMP ซึ่งมีสาร CBD > 20% (ร่างกายต้องการ) และสาร THC < 0.3% (ทำให้มึนเมา)

กัญชา

เรียกว่า Marijuana ซึ่งมีสาร CBD > 10% (ร่างกายต้องการ) และสาร THC > 20% (ทำให้มึนเมา)

กัญชงมีสารที่ร่างกายต้องการจำนวนมาก แต่มีสารที่ทำให้เมาน้อย จึงเหมาะนำมาสกัดมากกว่ากัญชา

สารใน กัญชา แตกต่างกันอย่างไร

สารกัญชามีสองประเภทคือ THC และ CBD ซึ่งทั้งสองตัวช่วยลดความวิตกกังวลได้เช่นกัน

CBD (cannabidoid)

ควบคุมความเจ็บปวด อักเสบ วิตกกังวลหรือภาวะเรื้อรังด้วยการไปเพิ่มสารสื่อประสาทที่ทำให้รู้สึกดี ใช้ช่วยรักษาทางการแพทย์ เช่น ไมเกรน กล้ามเนื้ออักเสบ โรคซึมเศร้า แต่ก็มีข้อเสียคือไม่ทำเกิดอาการเมาร่าเริง หรือ GET HIGH

THC (tetrahydro cannabidoid)

มีผลต่อการกดประสาท ช่วยในการผ่อนคลาย ส่งผลให้เกิดอาการเมาร่าเริง ใช้ช่วยรักษาทางการแพทย์เช่น นอนไม่หลับ สมาธิสั้น แต่ก็มีข้อเสียกระทบต่อร่างกาย หัวใจเต้นเร็ว ตาแดง สูญเสียความทรงจำ และปากแห้ง

กัญชา หรรษาหรือยารักษาโรค

กัญชา มีผลอย่างไรต่อร่างกาย

  • สมอง: ผ่อนคลาย คลายเครียด เพื่มสารสื่อประสาททางเคมีในสมอง ที่มีผลทำให้รู้สึกดี
  • ระบบประสาท: ส่วนผลต่อระบบส่วนกลางช่วยลดความเจ็บป่วยและควบคุมอาการกระตุก
  • ตา: ตาแดง
  • หัวใจ:หัวใจเต้นเร็ว
  • ปอด: หากได้รับเข้าร่างกายจากการสูบ พิษ Tar จะเกิดให้เกิดความเสี่ยงของปอด
  • กระเพราะอาหาร: ลดอาการปวดท้อง

ขั้นตอนผลิตและสกัดสารกัญชา

เมล็ดกัญชา > ต้นกล้ากัญชา > ต้นกัญชาโตเต็มวัย > เก็บเกี่ยว/ตากกัญชา > ผ่านกระบวนการสกัด > ทดสอบสารกัญชา > ออกกัญชาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

กัญชา แปรรูปผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง

  1. ยาสีฟัน
  2. อาหารสัตว์
  3. สเปรย์ดับกลิ่น
  4. คุกกี้
  5. เยลลี่
  6. ผ้าอนามัย

ก่อนหน้านี้หลายประเทศทั่วโลก เปิดโอกาสอนุญาตให้มีการขอใช้สารสกัดจากกัญชาเพื่อรักษาโรคได้แล้ว แต่ก็ยังคงอยู่ในความดูแลของแพทย์เจ้าของไข้ นับเป็นก้าวสำคัญชองการยกระดับฐานะ “พืชเสพติด” กลายมาเป็น “พืชเศรษฐกิจ”

[Total: 2 Average: 5]