“ทั้งนี้ เราเชื่อได้เลยว่าหากติดเชื้อหลักหมื่นกว่ารายต่อวัน คนที่ติดเชื้อวันนี้อีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ก็อารจะมีตัวเลขเสียชีวิตเพิ่ม 40 กว่าราย ก็เป็นไปได้ เราเห็นตัวเลขเสียชีวิตวันนี้ กับตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รายวัน ตัวเลข 2 ตัวนี้ไม่ใช่เวลาเดียวกัน ดังนั้น เราจะเอามาหารรายวันไม่ได้ เพราะตัวเลขติดเชื้อค่อนข้างอัพเดตรายวัน แต่ตัวเลขเสียชีวิตเป็นตัวเลขของคนติดเชื้อเมื่อ 3-4 สัปดาห์ก่อน ไม่ใช่เป็นตัวเลขของคนป่วยวันนี้ แล้วเสียชีวิตวันนี้เลย ฉะนั้น เราจะเห็นตัวเลขเสียชีวิตขึ้นบ้าง เพราะเมื่อ 3-4 สัปดาห์ก่อนเราเริ่มติดเชื้อเพิ่งขึ้น” นพ.ศุภกิจ กล่าว
เมื่อวันที่ 19 ก.พ. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงตัวเลขการติดเชื้อโควิด-19 ในไทยที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงยอดเสียชีวิตก็เริ่มเพิ่มขึ้นเช่นกัน ว่า สำหรับการติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ที่เห็น 18,000-19,000 ราย แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตอยู่ในหลัก 20 ราย หากเราคิดตัวเลขเทียบกันว่า ติดเชื้อ 10,000 ราย เสียชีวิต 20 ราย ก็คิดเป็น ร้อยละ 0.2 ซึ่งอยู่ในอัตราที่ยังต่ำ และสอดคล้องกับทั่วโลก เชื่อว่าหากติดเชื้อหลักหมื่นกว่ารายต่อวัน คนที่ติดเชื้อวันนี้อีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ก็อาจจะมีตัวเลขเสียชีวิตเพิ่ม 40 กว่าราย ก็เป็นไปได้
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีผู้ที่ไม่มีอาการป่วยใดๆ เลย แต่รู้ตัวว่าติดเชื้อ เพราะการตรวจ ATK ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะพบเช่นนั้น แต่ก็จะเร็วเกินไปหากเราจะไปอยู่ในจุดที่ไม่ต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 แล้ว อย่างเช่นบางประเทศ
เช่น สวีเดน ที่ยกเลิกการตรวจแล้ว แต่เรายังไม่กล้าหาญที่จะทำแบบนั้น เพราะคนไทยมีกว่า 60 ล้านคน ติดเชื้อประมาณ 3 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 4-5 เท่านั้น ถือว่ายังน้อยมาก ดังนั้น เราจึงยังต้องตรวจอยู่ แต่หากวันนั้นเราพบว่าอัตราเสียชีวิต ติดเชื้อต่ำจริงๆ เราก็อาจทำเช่นนั้นได้ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ที่เราไม่ได้ตรวจทั่วไป แต่หากคนที่มีอาการป่วย ปอดบวม หนักจนเข้าโรงพยาบาล (รพ.) เราก็จะตรวจแล้วรักษา
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
19 กุมภาพันธ์ 2565 ติดเชื้อรวมสูงสุดอีกครั้ง 32,473 ราย ติดแบบ PCR 18,885 ราย ติดแบบ ATK 13,588 ราย
โควิดระบาดระลอกที่สี่ของประเทศไทย ยังคงเดินหน้าต่อเนื่องเป็นช่วงขาขึ้น ในลักษณะเดียวกับประเทศในซีกโลกตะวันตกคือ มีอัตราการเพิ่มที่รวดเร็ว แต่จำนวนผู้ป่วยหนักเพิ่มในสัดส่วนที่น้อยกว่า
วันนี้ (19กพ65) ทำสถิติสูงสุดอีกครั้ง ทั้งยอดรวมติดเชื้อโดยตรวจพีซีอาร์ และติดเชื้อแบบตรวจเอทีเค โดยมีสัดส่วนการตรวจพบแบบพีซีอาร์เป็นบวกร้อยละ 18.8 ทำให้ยอดติดเชื้อเพิ่มสูงสุด 18,885 ราย และการตรวจด้วยชุดทดสอบตนเองที่บ้านที่เรียกว่าผู้ติดเชื้อเข้าข่ายก็ทำสถิติสูงสุดเช่นกัน 13,588 ราย ทำให้มียอดติดเชื้อสะสม 32,473 ราย แม้หักจำนวนผลบวกลวงของเอทีเคออก ก็ยังทำให้ยอดติดเชื้อรวมอยู่ที่ระดับ 30,000 ราย ถือว่าเข้าสู่ฉากทัศน์ที่สาม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเคยประมาณการไว้
ที่มา เดลินิวส์, มติชน
https://www.blockdit.com/posts/621197ca50717865ec8b146b