#LetTheEarthBreath โลกป่วย (โรคป่วย) เราป่วย

มะเร็งมีกี่ชนิด อะไรบ้าง คือ ประเภท

อุณหภูมิของเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศอันแปรปรวนและวิกฤตต่าง ๆ ที่ตามมา รวมถึงโรคร้ายต่าง ๆ ที่ดูจะทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่น่ากังวลมากที่สุด ภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคระบาดชนิดใหม่ และโรคระบาดซ้ำที่เคยหายไปแล้วแต่กลับมาให้ได้เห็นใหม่ รวมถึงการเพิ่มจำนวนง่ายขึ้นของพาหะนำโรค

ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (2019) เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของโรคอุบัติใหม่จากไวรัสที่เห็นชัดที่สุดในขณะนี้ เราคงต้องรออีกสักนิดให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาถึงไวรัสนี้มากพอจึงจะชี้เฉพาะถึงที่มาและสาเหตุ แต่ประเด็นหลัก ๆ ที่น่าคิดคือ ภูมิคุ้มกัน อากาศที่เปลี่ยนแปลง และการ(กลับ)มาของเชื้อโรค

ไวรัสและแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโรคระบาดของมนุษย์มาเนิ่นนาน สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เหล่านี้มีอยู่ทั่วไปบนโลกของเรา ตั้งแต่ในก้อนหินเล็ก ๆ หนึ่งก้อน ยุงหนึ่งตัว ไปจนถึงลำไส้ของเรา ซึ่งเปรียบเสมือนจักรวาลอีกหลาย ๆ จักรวาลที่มนุษย์ยังอาจไม่ทราบทั้งหมด ก้อนหินที่ดำรงอยู่ตั้งแต่ยุคน้ำแข็งและเกิดการทับถมของดินมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ละปี และถูกแช่แข็งไว้ผ่านเวลาหลายพันปี มนุษย์เพิ่งค้นพบยาปฏิชีวนะเพื่อต่อสู้กับโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียราว 70 ปีเท่านั้น และวัคซีนป้องกันไวรัสจะผลิตขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์เผชิญกับโรคนั้นเสียก่อน แต่หากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทำให้น้ำแข็งอาร์กติกค่อย ๆ ละลายจนกระทั่งปลดปล่อยไวรัสและแบคทีเรียที่จำศีลหลับไหลตั้งแต่ในยุคหลายพันปีก่อน ก่อนที่มนุษย์จะมีข้อมูลสิ่งเหล่านี้ล่ะ? ซึ่งนั่นหมายถึงมนุษย์ไม่เคยมีภูมิคุ้มกันโรคร้ายที่เกิดขึ้นจากไวรัสและแบคทีเรียอายุพันปีที่เคยสงบนิ่งใต้น้ำแข็ง คำถามคือเราจะรับมือได้อย่างไร

เหตุการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องสมมติที่ไกลความจริง เมื่อสิงหาคมปี 2559 ที่ภูมิภาคอาร์กติก เด็กชายวัย 12 ได้เสียชีวิต เพราะเชื้อแอนแทร็กซ์ และมีคนในพื้นที่อีก 20 คนถูกนำส่งโรงพยาบาลเพราะโรคเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์คาดเดาว่าสาเหตุเกิดจากคลื่นความร้อนในปีนั้นทำให้ชั้นดินเยือกแข็งซึ่งปกติจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียสอยู่ตลอดปีละลายตัว จนเผยซากกวางเรนเดียร์ที่ตายด้วยโรคแอนแทร็กซ์เมื่อ 75 ปีใต้ดินขึ้นมาสัมผัสกับน้ำและอากาศ เชื้อบางชนิด เช่นเชื้อแอนแทร็กซ์ สามารถสร้างสปอร์ห่อหุ้มตัวเพื่อดำรงชีวิตรอดในน้ำแข็งได้ หรือไวรัสบางชนิดเองก็มีดีเอ็นเอที่แข็งแกร่งกว่าไวรัสทั่วไปในปัจจุบัน

การวิจัยชิ้นหนึ่งของนาซ่าเมื่อปี 2548 เผยว่าได้ทดลองนำน้ำจากทะเลสาบของอลาสก้าที่ถูกแช่แข็งมากว่า 32,000 ปี ตั้งแต่ยุคที่มีแมมมอธยังคงอยู่ และน้ำมาละลายน้ำแข็ง ก็พบว่าแบคทีเรียที่อยู่ในนั้นกลับมามีชีวิตอีกครั้ง สองปีถัดมาจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ลองละลายน้ำแข็งอายุ 8 ล้านปีอีกครั้งจากแอนตาร์กติกา แบคทีเรียก็กลับมามีชีวิตได้อีกเช่นกัน แต่แบคทีเรียไม่ใช่ผู้ร้ายทุกชนิดเสมอไป ตามปกติแล้วมีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมและร่างกายเรา เพียงแค่ยีนดื้อยาสามารถส่งต่อถึงกันได้ ไวรัสเองก็สามารถอยู่รอดภายใต้น้ำแข็งได้เช่นกัน จากที่นักวิทยาศาสตร์เคยทดลองละลายน้ำแข็งอายุ 30,000 ปี และพบว่าไวรัสฟื้นกลับมาใหม่ได้ (แต่ไวรัสชนิดนั้นเป็นอันตรายต่ออมีบาเพียงเท่านั้น)

แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่าการคืนชีพกลับมาของเชื้อโรคต่าง ๆ คือ การอุบัติใหม่ และการย้ายถิ่นฐานของเชื้อโรค ที่เอื้อจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น และความทันสมัยของโลกที่ทำให้การเดินทางเป็นไปได้ง่าย ภาวะโลกร้อนไม่ได้เพียงแค่ทำให้น้ำแข็งละลายเท่านั้น แต่การเดินทางที่เข้าถึงพื้นที่หลากหลายง่ายขึ้น รวมถึงการที่พื้นที่อย่างไซบีเรียเข้าถึงได้จากการรุกล้ำของอุตสาหกรรมประมงและขุดเจาะพลังงาน ก็เป็นอีกหนทางที่เชื้อโรคสามารถเดินทางออกจากไซบีเรียไปยังที่ห่างไกลอื่นได้ และเพิ่มโอกาสให้เชื้อโรคจากใต้ดินปนเปื้อนออกสู่ดินชั้นบน แหล่งน้ำ และห่วงโซ่อาหารได้

ในอดีตโรคระบาดจะจำกัดอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเท่านั้น เช่น กาฬโรคที่เกิดขึ้นในยุโรปและจีนเมื่อช่วงยุคพศ.1890 การเดินทางหลักที่ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้คือทางเรือ แม้จะคร่าชีวิตคนจำนวนมหาศาลในยุโรป แต่ลองจินตนาการว่าหากโรคนี้เกิดขึ้นในยุคที่การเดินทางสะดวกสบายรวดเร็วอย่างรถไฟและเครื่องบินที่เชื่อมต่อข้ามพรมแดนได้ง่ายนั้น จะเป็นอย่างไรพรมแดนประเทศมิได้เลือนลางเพราะการเดินทางที่สะดวกเท่านั้น แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้เดิมจากที่เรารู้ว่าพื้นที่ใดมีโอกาสเสี่ยงติดโรคใดบ้างจากสัตว์ที่เป็นพาหะในพื้นที่นั้น ก็อาจจะไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป

เราคงทราบกัน หรือเคยได้รับคำเตือนให้ฉีดวัคซีนป้องกันอะไรก่อนเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง เช่น ไข้เหลืองที่เกิดขึ้นในแอฟริกาและอเมริกาใต้ โรคไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อยในอินเดียและเนปาล หรืออาจจะแค่ง่าย ๆ ว่าเวลาไปเข้าป่าระวังไข้มาลาเรีย ทว่าโลกที่ร้อนขึ้น ป่าไม้ที่ถูกทำลาย การรุกคืบของเมือง สัตว์ท้องถิ่นในพื้นที่ป่านั้นก็อาจต้องหาทางมีชีวิตรอดในสภาพภูมิประเทศและอากาศที่เปลี่ยนไปเช่นกัน

โรคระบาดที่มียุงและแมลงเป็นพาหะ อาทิ ไข้เหลือง และมาลาเรีย ทวีความถี่และเกิดผู้เคราะห์ร้ายมากขึ้นโดยมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยผลักดัน วงจรชีวิตและการเจริญเติบโตของยุงนั้นเกี่ยวข้องอย่างมากกับปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิ กล่าวคือ ยุงและแมลงชอบอากาศที่อบอุ่นจนถึงร้อน สามารถแพร่พันธุ์ได้ดีขึ้น เติบโตเร็วขึ้น นอกจากนี้วงจรของปรสิตในยุงยังพัฒนาไปเร็วขึ้นด้วยจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งอาจซ้ำความร้ายแรงด้วยปรสิตมาลาเรียดื้อยาที่เกิดขึ้นแล้วในปี 2562 ที่ผ่านมา

ไข้หวัดนกเองก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและเชื้อไวรัส เดิมทีหวัดนกนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติในสัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็ดหรือนกป่า ซึ่งตามปกติความหลากหลายของสายพันธุ์และความสมบูรณ์ของถิ่นที่อยู่และอาหารจะทำให้พวกมันมีภูมิต้านทาน แต่สภาวะโลกร้อนและการสูญเสียถิ่นที่อยู่ส่งผลต่อจำนวนประชากรของนก ประกอบกับฤดูที่เปลี่ยนแปลงไปได้เปลี่ยนแปลงวงจรและเส้นทางการบินอพยพ ทำให้ไวรัสที่เจอกับสิ่งแวดล้อมใหม่ก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาตัว เส้นทางการบินที่เปลี่ยนไปหรือการเติบโตขึ้นของเมืองก็มีโอกาสที่นกป่าจะใกล้ชิดกับปศุสัตว์และมนุษย์มากขึ้น

หากกล่าวถึงโรคระบาดที่เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งหรือสองทศวรรษที่ผ่านมานั้น ตั้งแต่ ไข้เลือดออก ฉี่หนู อหิวาตกโรค อีโบลา ไข้หวัดนก วัณโรค ซาร์ส และมาลาเรีย ล้วนมีจุดเริ่มต้นติดต่อมาจากสัตว์สู่คน (ทั้งจากพาหะ หรือสัตว์โดยตรง) และพัฒนามาเป็นการติดเชื้อจากคนสู่คน ซึ่งสาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า ค้าสัตว์ป่า หรือการเข้าใกล้ชิดกับสัตว์ป่าโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง

ยามใดที่เชื้อเปลี่ยนแปลงสภาวะ ไม่ว่าจะเป็นการผันผวนของอุณหภูมิ ถิ่นที่อยู่ หรือติดเชื้อยังสัตว์ชนิดอื่นหรือคน สภาวะเหล่านี้ทำให้เชื้อโรคมีความรุนแรงขึ้น กลายเป็นโรคใหม่ที่ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีภูมิคุ้มกัน การระบาดจึงเกิดขึ้นได้ง่าย จึงเป็นที่มาของโรคอุบัติใหม่

โลกของไวรัสและแบคทีเรียนั้นเป็นเสมือนอีกจักรวาลหนึ่งที่ความรู้ของมนุษย์ยังไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด แม้แต่ในร่างกายของเราเองก็เป็นแหล่งที่อยู่ของแบคทีเรีย และเรารู้จักพวกมันแค่ 1% เท่านั้น อาจกล่าวได้ว่า ประกอบกับความผันผวนของวิกฤตโลกร้อนที่กำลังก่อตัว มนุษย์ยังคงมืดบอดและคาดเดาได้น้อยมากกับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่จะตามมา อาทิเช่น แบคทีเรียในลำไส้ของเราและสัตว์จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรไหมหากรับความเสี่ยงจากเชื้อแบคทีเรียร้ายแรงจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เพิ่มความรุนแรงด้วยการปรับตัวให้เข้ากับโลกที่ร้อนขึ้น แบคทีเรียในตัวเราจะเปลี่ยนไปไหม?

สภาพภูมิอากาศคือชนวน เชื้อโรคคือกระสุน

เราอาจจะได้รู้จักกับโรคระบาดชนิดใหม่มากขึ้น และรุนแรงขึ้น หากวิกฤตโลกร้อนยังคงดำเนินต่อไป

เราอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ร่วมกับสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย ตั้งแต่ขนาดเล็กจนมองไม่เห็นอย่างแบคทีเรีย ไวรัส แมลง ไปจนถึงสรรพสัตว์ต่าง ๆ ความสมบูรณ์หลากหลายของสายพันธุ์และสิ่งแวดล้อมจึงเป็นกลไกตามธรรมชาติที่สำคัญที่สุดในการรักษาสมดุลของทุกชีวิต แนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” (One Health) แม้ดูจะเป็นหลักการที่เพิ่งได้รับการพูดถึงไม่นาน แต่การรักษาและคำนึงถึงสายสัมพันธ์ของสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งเดียวนั้นเป็นรากฐานการป้องกันและควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์ได้อย่างดีที่สุด

โลกที่ป่วย ชีวิตบนโลกก็ป่วยตาม สุขภาพของเราขึ้นอยู่กับสุขภาพของโลก

#LetTheEarthBreath
สรุป #LetTheEarthBreath โลกป่วย (โรคป่วย) เราป่วย

สรุป #LetTheEarthBreath

ก็คือรัฐบาลอังกฤษอนุมัติให้ทำโรงงานพลังงานฟอสซิล ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หลายคนออกมาบอกว่ามันจะทำให้โลกร้อนร้ายแรงอาจทำให้มนุษย์เราสูญพันธุ์ได้เลย นักวิทยาศาสตร์ หมอ ประชาชนถูกจับเพราะออกมาต่อต้าน นักวิทยาศาสตร์ที่ออกมาเผยแพร่ข้อมูลก็ถูกจับด้วย

วิธีง่ายๆที่จะช่วย #LetTheEarthBreath

1. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้

2. ประหยัดน้ำและไฟให้ได้มากที่สุด

3. รีไซเคิลพลาสติก&ขยะ

4. ปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น

5. ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี

6. ปิดไฟถ้าไม่จำเป็น

7. ถ้าเป็นไปได้ใช้พัดลมแทนแอร์

มีใครรู้จักเรื่อง Don’t look up มั้ย? ซีรี่ย์ใน Netflix ที่เล่าถึงวันสิ้นโลก ใช่ มันกำลังจะเกิดขึ้นกับเราทุกคนแต่อุกกาบาตไม่ได้จะตกใส่โลกหรอกนะคะ มันเกิดจากโรคร้อนเนี่ยแหละค่ะ มันเกิดจากพวกเราเองทุกคน เราอยากให้แท็กนี้แมสมากๆ เพราะเราเหลือเวลาไม่ถึง 5 ปี

เชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil fuel) คืออินทรีย์สารใต้พื้นโลกที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ใต้ทะเลลึกเมื่อหลายพันล้านปีก่อนพร้อมกับได้รับความร้อนจากใต้พื้นพิภพ ทำให้ซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันหนาแน่นใต้ชั้นหินตะกอนเกิดการย่อยสลายกลายเป็นแหล่งสะสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) ขนาดใหญ่ ที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงและแหล่งกำเนิดพลังงานต่างๆ

เชื้อเพลิงฟอสซิลจำแนกออกเป็น 3 ประเภทตามสถานะของสาร ได้แก่

ของแข็ง: ถ่านหิน (Coal)

หินตะกอนสีน้ำตาลดำ หรือถ่านหิน เกิดจากซากพืชในพื้นที่ชื้นแฉะทับถมกันเป็นเวลานาน (ราว 300 ถึง 360 ล้านปี) ภายใต้แรงดันและความร้อนสูงที่อยู่ลึกลงไปจากพื้นผิวโลก ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายและเกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในสถานะของแข็ง ถ่านหินแบ่งออกเป็น 5 ประเภทตามองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ พีต (Peat) ลิกไนต์ (Lignite) ซับบิทูมินัส (Sub-Bituminous) บิทูมินัส (Bituminous) และแอนทราไซต์ (Anthracite)

การนำมาใช้ประโยชน์: เป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และการผลิตข้าวของเครื่องใช้มากมาย

ผู้ผลิตหลัก: จีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา

ของเหลว: น้ำมันดิบ (Crude oil)

น้ำมันดิบประกอบด้วยคาร์บอน (Carbon) และไฮโดรเจน (Hydrogen) เป็นองค์ประกอบหลักมีสถานะเป็นของเหลวที่มีสีสันหลากหลายและมีอัตราความหนืดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมี น้ำมันดิบส่วนใหญ่ก่อตัวขึ้นในช่วงมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic era) หรือราว 66 -252 ล้านปีก่อนโดยเกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ใต้ท้องทะเลในอดีต

การนำมาใช้ประโยชน์: น้ำมันดิบไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง จึงต้องนำไปผ่านกระบวนการกลั่นและกระบวนการผลิตแยกส่วน กลายเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (Petroleum Product) หลายชนิด เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันอากาศยานและน้ำมันเตา

ผู้ผลิตหลัก: สหรัฐอเมริกา ซาอุดีอาระเบีย และรัสเซีย

ก๊าซ: ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas)

ก๊าซธรรมชาติไร้สีและไร้กลิ่น ประกอบด้วยมีเทน (Methane) เป็นหลัก เกิดจากกระบวนการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิตใต้พื้นดินเมื่อหลายล้านปีก่อนเช่นเดียวกับถ่านหินและน้ำมันดิบ

การนำมาใช้ประโยชน์: ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสะอาด เนื่องจากมีกระบวนการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญ

ผู้ผลิตหลัก: สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และอิหร่าน

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้จากกระบวนการแยกส่วนในการกลั่นน้ำมันดิบและเชื้อเพลิงฟอสซิล ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์ตั้งต้นในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น พลาสติก ผงซักฟอก ยางสังเคราะห์ ปุ๋ยเคมี และกาว เป็นต้น

ผลกระทบและแหล่งพลังงานในอนาคต

เมื่อเชื้อเพลิงฟอสซิลถูกเผาไหม้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ผลผลิตสุดท้ายที่ปล่อยออกมาคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ซึ่งคงค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ก๊าซเหล่านี้มีความสามารถในการดักจับและกักเก็บความร้อนได้ดี ส่งผลให้เกิด “ภาวะโลกร้อน” (Global warming) และ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (Climate change) ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศของโลกในขณะนี้

โดยเฉพาะการเผาไหม้ถ่านหินและน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลกมากกว่าร้อยละ 75 ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา แม้ว่าการเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติสามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แต่ในกระบวนการสำรวจ ขุดเจาะ และขนส่งเชื้อเพลิงฟอสซิล ยังคงสร้างผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมของโลก

จากการค้นพบน้ำมันดิบ การทำเหมืองถ่านหิน และการขุดเจาะหาแหล่งก๊าซธรรมชาติ เมื่อหลายพันปีก่อน เป็นผลให้เกิดยุคสมัยแห่งความรุ่งโรจน์ทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่นำสังคมมนุษย์สู่ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีจวบจนปัจจุบันนี้ น้ำมันดิบและผลิตผลจากเชื้อเพลิงฟอสซิลได้กลายมาเป็น “ทรัพยากรธรรมชาติ” ที่มนุษย์พึ่งพาในทุกๆกิจกรรมของชีวิต จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงเหล่านี้ในปริมาณมหาศาลทุกวัน ทำให้เราอาจหลงลืมไปว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (Non-renewable resource) และมนุษย์อาจไม่มีโอกาสนำเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้ได้อีกในอนาคต

ทำไมจึงต้องหยุดการใช้ fossil fuel (น้ำมัน,ก๊าซ,ถ่านหิน)

งานวิจัยหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า

– ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบเห็นได้ชัด

– มลพิษทางอากาศที่มีผลต่อสุขภาพของคนและสัตว์แบบสูงมาก

– มลพิษทางน้ำที่เกิดจากการรั่ว

#LetTheEarthBreathe #ClimateCrisis #ClimateAction

[Total: 11 Average: 5]

Leave a Reply