ในยุคที่พฤติกรรมผู้บริโภคแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูง แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างพยายามหาจุดยืนและจับกลุ่มลูกค้าในคาแรกเตอร์ของตัวเอง แต่การทำการตลาดบนแพลตฟอร์มที่มีขนาดใหญ่และแมสก็ย่อมนำมาซึ่งคู่แข่งจำนวนมาก ส่งผลให้ธุรกิจมากมายเริ่มมองถึงช่องทางที่เรียกว่า ‘โซเชียลเกิดใหม่’
ต้องยอมรับว่าองค์กรของเราก็เลือกใช้ Facebook, YouTube และ Instagram เป็นหลัก เพราะเราเชื่อว่าช่องทางเหล่านั้นจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ แต่เมื่อเทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยนไป คนมีพฤติกรรมที่มองภาพใหญ่มากขึ้น เราจึงมองว่า Emerging Platform คือคำตอบที่จะมาช่วยเราได้
เราใช้เวลา 1 ปีที่ผ่านมาในช่วงโควิด-19 ทดลองทำการตลาดกับแพลตฟอร์มใหม่ๆ ซึ่งก็คือ TikTok, Twitter และ Spotify ซึ่งช่องทางเหล่านี้เราเคยคิดว่ามันอาจจะไม่เหมาะกับทางโรงพยาบาล แต่ว่าเมื่อเราได้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกต่างๆ จากทาง MediaDonuts ก็ทำให้เราคิดว่าถึงเวลาที่ต้องลองครับ
ผมขอยกตัวอย่างเคสที่ประสบความสำเร็จมาแชร์ให้ฟังครับ ทางโรงพยาบาลของเราได้เริ่มต้นทำการตลาดอย่างจริงจังผ่าน Twitter ร่วมกับทีมของ MediaDonuts ซึ่งภายในเวลาเพียงแค่ 1 ปี เรามีการเติบโตของฟอลโลเวอร์ถึง 500% ที่ผ่านมาเราอาจจะมองว่า Emerging Media ยังไม่ได้สำคัญที่สุด แต่เมื่อเรามาทดลองใช้ก็ได้พบว่ามันคือคำตอบที่เรามองหา
MediaDonuts ให้คำแนะนำอย่างไร แพลตฟอร์มจึงสามารถเติบโตได้ถึง 500% ภายใน 1 ปี
ถ้าเราทำแค่การโพสต์ปกติอย่างการลงรูปพร้อมข้อความ อาจจะไม่ได้ช่วยเรื่องการเติบโตรวดเร็วอย่างที่ต้องการ แต่เราต้องรู้จักใช้เครื่องมือของแพลตฟอร์มนั้นๆ ให้เหมาะสมกับเนื้อหา อย่าง Twitter ก็จะมีภาพแบบเลื่อนได้ (Carousel) ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจมาก
อีกเครื่องมือหนึ่งคือ Twitter Moments เป็นการรวมสิ่งที่เกี่ยวข้องเข้ามาไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ ยังไม่มีฟังก์ชันนี้ หรือจะเป็น Fleet ซึ่งก็เป็นฟังก์ชันใหม่เช่นกัน รวมถึงในอนาคตเราอาจจะได้ใช้ Spaces ที่จะทำให้เราได้โฟกัสในด้านของเสียงมากขึ้น
กลยุทธ์ในการครีเอตคอนเทนต์ผ่าน Twitter ทำอย่างไรให้เกิด Engagement สูงสุด
คำตอบคือใช้ Trends ครับ ดูที่แฮชแท็กเป็นหลัก เมื่อรู้แล้วว่าเทรนด์ช่วงนั้นคืออะไร เราก็นำเอาคอนเทนต์มาผูกกับเทรนด์เพื่อให้เกิด Real Time Marketing ขึ้นมา วิธีนี้ล่ะครับที่จะทำให้ Engagement พุ่งสูงขึ้นอย่างชัดเจน รวมไปถึงในแง่ของฟอลโลเวอร์ด้วย
จริงๆ แล้วต้องบอกว่าโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีคอนเซปต์หลักในการนำมาประยุกต์ใช้กับ Emerging Platform ด้วย ซึ่งเราเรียกว่า Core Competency ขององค์กรเลย นั่นก็คือ AIC ย่อมาจาก Agility, Innovation และ Caring
A = Agility เพราะว่าโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว เราจึงต้องพร้อมที่จะปรับตัวตลอดเวลา อย่างเช่นสื่อใหม่อย่าง Twitter หรือ TikTok ถ้าเราทำในรูปแบบเดิมๆ คำตอบที่ได้ก็จะเหมือนเดิม แต่เมื่อเราปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับแต่ละรูปแบบของสื่อและผู้บริโภค คำตอบที่ออกมามันจะได้ประสิทธิภาพมากขึ้น
I = Innovation ในเมื่อทุกแบรนด์ก็ใช้โซเชียลมีเดียเหมือนกัน ฟังก์ชันเดียวกัน แล้วเราจะสร้างความแตกต่างขึ้นมาได้อย่างไร ดังนั้นแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่เราเข้าไป ไม่ว่าจะเป็น Spotify, TikTok หรือ Twitter มันก็จะตอบโจทย์ในส่วนนี้ คือเราต้องเข้าใจในการดึงจุดเด่นแต่ละแพลตฟอร์มมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
C = Caring ตัวนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ ในสายโรงพยาบาล เพราะว่าเรากำลังทำเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ ดังนั้นข้อมูลที่ให้ไปต้องมีทั้งความถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งในด้านของ Caring เรามีหลักที่สำคัญมากเรียกว่า 3C คือ Critical Care, Complicated Disease และ Cutting-edge Technology เรานำสามตัวนี้มารวมกันจนทำให้เกิดความกลมกล่อมและอธิบายต่อผู้ฟังให้เข้าใจง่าย
เหตุผลที่ต้องเริ่มหันมาสนใจ Emerging Platform เหล่านี้
เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน แพลตฟอร์มใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นมาเพื่อตอบรับผู้บริโภค นั่นแปลว่าแพลตฟอร์มเก่าๆ อาจจะไม่ตอบโจทย์แล้วหรือเปล่า เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะเลือกใช้สื่อเพื่อทำการตลาด ถ้าเราไม่หยิบแพลตฟอร์มใหม่ๆ เหล่านี้มาใช้ มันอาจจะทำให้ขาดกลุ่มคนบางกลุ่มที่คุณอยากจะสื่อสาร ทำให้เขาไม่ได้รับข้อมูลเหล่านั้น นี่คือเหตุผลที่คุณควรจะต้องพิจารณาสื่อใหม่ๆ ในการทำการตลาดเพิ่มเติมด้วย