หัวโต (Hydrocephalus)

หัวโต หรือโรคหัวบาตร (Hydrocepphalus) คือมีน้ำไขสันหลัง (ที่ปกติจะหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง และร่างกายมีกลไกควบคุมน้ำไขสันหลังให้พอเหมาะ) มากเกินไป ทำให้สมองเสียหาย มีผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และความฉลาดในเด็ก และจำเป็นต้องทำการรักษา

โดย​ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับเด็ก และผู้อายุเกินหกสิบปี แต่บางครั้งเกิดกับคนอายุน้อยได้ ​ 

ขึ้นกับว่ามีอาการมากน้อยแค่ไหน เด็กหลายคนสมองเสียหายถาวร แต่ด้วยความช่วยเหลือของแพทย์ ครูด้านการศึกษาพิเศษ นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักพัฒนาการบำบัด หมอด้านประสาทวิทยาเด็ก เด็กจะปรับตัวได้และช่วยลดผลกระทบระยะยาวได้

ผู้ใหญ่ที่มีอาการมาก ต้องบำบัดร่วมกับนักกิจกรรมบำบัด อาจต้องใช้เวลานานและอาจต้องดูแลพิเศษในเรื่องความจำเสื่อมด้วย

ผลกระทบระยะยาวแตกต่างกันในแต่ละบุคคล  แพทย์จะให้ความเห็นเรื่องนี้ได้

สาเหตุ หัวโต

ปกติร่างกายสร้างน้ำไขสันหลังมาเพื่อหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังอย่างพอเหมาะ แต่มีบางกรณีที่ทำให้มีน้ำไขสันหลังมากไป เช่น

  • ถุงน้ำในสมอง
  • การดูดซึมน้อยลง
  • ​การสร้างน้ำไขสันหลังมากเกินปกติ ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง
  • เมื่อมีน้ำไขสันหลังมากไป ส่งผลให้น้ำไขสันหลังนี้เข้าไปกดสมอง เกิดการทำลายเนื้อสมองได้

 ​อาการ หัวโต

ภาวะ​น้ำเกินในสมองทำให้สมองเสียหายถาวรได้ จึงควรทราบถึงอาการเพื่อจะได้ดูแลตนเองได้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับเด็ก แต่อาจเกิดกับผู้ใหญ่ได้

ใน​ทารก

 อาการเริ่มแรกคือ

  • กระหม่อมบวม (กระหม่อมคือส่วนของกะโหลกที่ยังไม่ปิดของทารก มีสองที่ คือ กระหม่อมหน้าอยู่ด้านหน้าเหนือหน้าผากขึ้นไป จะปิดสนิทเมื่อทารกอายุราว 18 เดิอน
  • กระหม่อมหลัง อยู่บริเวณท้ายทอย มีขนาดเล็กกว่า จะปิดสนิทเมื่อทารกอายุราว 4 เดือน ปกติกระหม่อมจะนิ่ม ระดับเสมอกับกะโหลกศีรษะและไม่บวมปูดหรือยุบลงไป หากกระหม่อมหน้าปูด หรือยุบลงแสดงว่าน่าจะมีความผิดปกติกับทารก)
  • เด็กหัวโตขึ้นอย่างรวดเร็ว (ปกติเมื่อทารกไปรับวัคซีน แพทย์จะตรวจร่างกายและวัดรอบวงศีรษะ)
  • ตาหลุบต่ำ ชัก อยู่ไม่สุข อาเจียน นอนมากเกิน กินน้อย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวกเปียก

​วัยหัดเดินและเด็กโต

เด็กหัวบาตรจะมีอาการคือ ร้องเสียงแหลมสูง สั้น  บุคลิกภาพเปลี่ยน หน้าตาเปลี่ยน ตาเข ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อเกร็ง โตช้า กินลำบาก นอนมาก กระสับกระส่าย เคลื่อนไหวลำบาก กลั้นปัสสาวะไม่ได้  หัวโตผิดปกติ ตื่นยาก มักจะง่วง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก ไม่มีสมาธิ

วัยรุ่น วัยกลางคน

ปวดศีรษะเรื้อรัง เคลื่อนไหวลำบาก เดินลำบาก กลั้นปัสสาวะไม่ได้  ตามัว ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ

ภาวะน้ำคั่งในสมองที่ความดันน้ำในสมองปกติ

ภาวะนี้จะเกิดอย่างช้าๆ พบบ่อยในในผู้สูงวัยเกินหกสิบปี อาการแรกเริ่มคือล้มแต่ไม่หมดสติ และอื่นๆ เช่น ท่าเดินเปลี่ยน มีปัญหาความจำ ควบคุมปัสสาวะ อุจจาระลำบาก ปวดศีรษะ

การรักษา หัวโต

​หากปล่อยไว้นาน ภาวะนี้อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้  ทั้งนี้การรักษาไม่ช่วยให้เนื้อสมองที่ตายแล้วกลับมาได้ เพียงแต่ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติม โดยการทำให้การไหลของน้ำไขสันหลังเป็นปกติ โดยวิธีดังนี้

​ต่อท่อทางลัด

เป็นท่อยาวมีลิ้นเปิดปิด เพื่อควบคุมให้น้ำไขสันหลังไหลตามปกติในทิศทางที่ถูกต้อง ปลายหนึ่งอยู่ในสมอง อีกปลายหนึ่งเปิดที่ช่องอกหรือช่องท้อง น้ำไขสันหลังจะไหลจากสมองไปที่อีกปลายหนึ่ง และร่างกายจะดูดซึมไปเอง  การต่อสายนี้ ทำถาวรและต้องหมั่นดูแลสม่ำเสมอ

​การตัดช่องในโพรงสมอง

จะทำเพื่อการใส่ท่อ โดยการตัดใต้โพรงสมองหรือระหว่างช่องโพรงสมองให้เป็นรูเพื่อให้มีทางไหลของน้ำไขสันหลัง

[Total: 0 Average: 0]