รังสีรักษา (Radiation Therapy)

รังสีรักษา (Radiation Therapy) คือ การรักษาโรคมะเร็ง (Malignant Tumor) และรอยโรคที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง (Benign tumor) ด้วยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าหรือ อนุภาคซึ่งเป็นรังสี โดยอาศัยคุณลักษณะของรังสีแต่ละชนิดในการทำลายเซลล์

วิธีการรักษาโรคด้วยรังสี (Radiation Therapy)

วิธีการรักษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. การใช้รังสีรักษาระยะไกล (Teletherapy) หมายถึง การรักษาที่มีต้นกำเนิดรังสีห่างจากบริเวณที่จะรักษา เช่น เครื่องฉายรังสีโคบอลต์ 60 และเครื่องเร่งอนุภาค เป็นต้น

2. การใช้รังสีรักษาระยะใกล้ (Brachytherapy) หมายถึง การรักษาที่มีต้นกำเนิดรังสีอยู่ชิดหรือภายในบริเวณที่จะรักษา

การใช้รังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็งได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1899แต่ได้รับการศึกษาอย่างจริงจังทั้งในด้าน radiation physics, radiobiology, computer treatment planning ในช่วง20ปีที่ผ่านมา โดยการให้รังสี มีหลักที่สำคัญ คือ การให้รังสีแก่ก้อนมะเร็งและ พยายาม ให้มี damage ต่อ normal tissue ให้น้อยที่สุด การให้รังสีนอกจากเพื่อทำให้ หายขาดจากโรค แล้วยังสามารถใช้ใน การบรรเทาอาการจาก โรคในกรณีที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

ในปัจจุบันมะเร็งเป็นสาเหตุในการเสียชีวิต ของคนไทยในอันดับต้นๆ รังสีรักษา เป็นวิธีการหนึ่งในการรักษามะเร็ง ประมาณ 60% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งมักจะได้รับ การรักษา ด้วยรังสี แต่มีผู้เข้าใจในวิชานี้ค่อน ข้างน้อย

เทคนิคการรักษาด้วยฉายรังสี (Radiation Therapy)

1. การฉายรังสีแบบ 2 มิติ (Conventional Radiotherapy) ในปัจจุบันมีการวางแผนการรักษาด้วยรังสี 2 มิติ โดยทั่วไป ส่วนใหญ่ ใช้การกำหนดขอบเขตการฉายรังสีจากกายวิภาคที่สามารถเห็นจากภาพเอ็กซเรย์หรือการตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ตำแหน่งของกระดูกเป็นตัวกำหนดขอบเขตการฉายรังสี และใช้เครื่อง Simulator (เครื่องเอ็กซเรย์แบบ Fluoroscopy) ถ่ายภาพเอ็กซเรย์แล้วขีดเส้นขอบเขตการรักษา ต่อมามีการใช้เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ถ่ายภาพ แต่การกำหนดขอบเขตการฉายรังสียังคงเป็นระนาบเดียวเท่านั้น ซึ่งลำรังสีของการ

ฉายรังสีแบบ 2 มิติ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือวงกลม ทำให้เนื้อเยื่อปกติในบริเวณใกล้เคียงกับรอยโรคได้รับรังสีไปด้วย การฉายรังสีแบบ 2 มิติ จึงมีข้อจำกัดในการกำหนดทิศทางการฉายรังสีและจำนวนลำรังสีได้ไม่มาก

ชนิดของรังสีที่ใช้รักษาโรค แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักคือ

  1. Electromagnetic Radiation รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีอยู่มากมายหลายชนิด เช่น คลื่นวิทยุ,เรดาร์, คลื่นความร้อน, แสงสว่าง, microwaves, ultraviolet rays, x-rays, gamma-rays แต่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาได้นั้น ต้องเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพอหรือมีความยาวคลื่นน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10-8 เซนติเมตร ซึ่งได้แก่รังสีเอกซ์ และรังสีแกมมา
    1. รังสีเอกซ์ (x-rays) มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 10-8 เซนติเมตรได้จากการเร่งพลังงานอนุภาคอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงพอ แล้วจับให้วิ่งเข้าชนเป้าที่ทำจากทังสเตนหรือทอง พลังงานของอนุภาคอิเล็กตรอนก็จะแปรเปลี่ยนออกมาในรูปรังสีเอกซ์
    2. รังสีแกมมา(gamma-rays) มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 10-8 เซนติเมตร คล้ายกับรังสีเอกซ์ แต่เป็นรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจาก radioactive isotopes nucleus ใน radioactive isotopes พร้อม ๆ กับรังสีอื่น ๆ อีกหลายชนิด แต่ในทางการแพทย์ส่วนใหญ่จะกรองเอาเฉพาะรังสีแกมมามาใช้
  2. Particle Radiation รังสีชนิดที่มีมวลและโมเมนตัมแน่นอน ได้แก่
    1. อนุภาคอิเล็กตรอน (Electrons) เป็นอนุภาคที่มีประจุลบ ซึ่งถูกเร่งพลังงานให้สูงจนสามารถนำมาใช้ในการรักษาได้
    2. อนุภาคอื่น ๆ ได้แก่ โปรตอน, นิวตรอน, อนุภาคอัลฟา ก็สามารถนำมาใช้ในการรักษาได้แต่ ยังอยู่ในการวิจัยและ เครื่องมือราคาแพงมาก
[Total: 1 Average: 5]