หูชั้นกลางอักเสบ คือ โรคที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย แต่จะพบมากในทารกและเด็ก สามารถแบ่งออกเป็นชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง
มักเกิดร่วมกับการติดเชื้อในบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น (จมูกและคอ) ได้แก่ไข้หวัด และทอนซิล อักเสบ บางรายอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของหัด ไข้หวัดใหญ่ ไอกรม ทำให้เชื้อโรคบริเวณ คอผ่านท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) เข้าไปในหูชั้นกลาง เกิดการอักเสบ ทำให้เยื่อบุผิวภายในหูชั้นกลางและท่อยูสเตเชียนบวม และมีหนองขังอยู่ในหูชั้นกลาง เพราะไม่อาจระบายผ่านท่อยูสเตเชียนที่บวมและอุดตันได้ในที่สุดเยื่อแก้วหู (ซึ่งเป็นเยื่อบาง ๆ กั้นอยู่ระหว่างหูชั้นกลางกับหูชั้นนอก) ก็จะเกิดการทะลุ เป็นรูหนองที่ขังอยู่ภายในก็จะไหลออกมากลายเป็นหูน้ำหนวก
ซึ่งเป็นภาวะที่มีการทะลุของเยื่อแก้วหู และมีหูน้ำ หนวกไหลแบบเรื้อรัง (โดยมากจะเริ่มเป็นมาตั้งแต่เด็ก) อาจเป็นผลมาจากหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันหรือเนื่องจากได้รับบาดเจ็บจนแก้วหูทะลุ ก็ได้ เด็กที่ขาดอาหารหรือสุขภาพไม่แข็งแรง หรือขาดสุขนิสัยจะ มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าเด็กที่แข็งแรง บางครั้งอาจ พบร่วมกับผู้ที่เป็นทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ไซนัส อักเสบเรื้อรัง ผนังกั้นจมูกคด ติ่งเนื้อเมือกจมูก
มักมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันหลังจากเป็นไข้หวัด เจ็บคอหรือเป็นโรคติด เชื้อของทางเดินหายใจอื่น ๆ โดยจะมีอาการปวดในรูหู (แต่ดึงใบหูจะไม่เจ็บมากขึ้น) หูอื้อมีไข้สูงหนาวสั่นบางรายอาจมีอาการบ้านหมุนคลื่นไส้ อาเจียนหรือท้องเดิน
ในทารกจะมีอาการตื่นขึ้นร้องกวนกลางดึก (ด้วยอาการเจ็บปวด) และร้องงอแงเกือบตลอดเวลา บางรายอาจเอามือดึงใบหู เด็กมักมีไข้สูง บางรายอาจมีอาการชักเนื่องจากไข้สูง เด็กมักมีอาการของไข้หวัดหรือไอร่วมด้วย
มีอาการหูน้ำหนวกไหลเป็นๆ หาย ๆ เรื้อรังร่วมกับมีอาการหูอื้อ หูตึงหูน้ำหนวก มักเกิดขึ้นเวลาเป็นหวัดเจ็บคอ หรือหลังจากเล่นน้ำ มีลักษณะเป็นหนองสี เหลืองหรือสีเขียวบางรายอาจมีอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยส่วนมากจะไม่มีไข้หรือเจ็บปวดในรูหูแต่อย่างใด
ในระยะแรกอาจจะมีไข้ การตรวจดูหูโดยใช้เครื่องส่องหู(otoscope) จะเห็นเยื่อแก้วหูโป่งออกและเป็นสีแดงเรื่อ ๆ
ในระยะต่อมามีการทะลุของเยื่อแก้วจะตรวจพบเยื่อแก้วหูทะลุเป็นรูและมีหนองไหลในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีไข้และหายปวดหู
ใช้เครื่องส่องหูจะพบ เยื่อแก้วหูทะลุเป็นรูกว้าง ถ้าทะลุเป็นรูใหญ่ถึงขอบแก้วหู มักจะเป็นชนิดที่มีอันตรายร้ายแรงได้
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้กลายเป็นหูชั้นกลางอักเสบ เรื้อรังหูชั้นในอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียลุกลามเข้าไปในหูชั้นใน ทำให้มีอาการหูอื้อ มีเสียงดังในหู และบ้าน หมุน) โพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบ (mastoiditis) ซึ่งจะมีไข้สูงร่วมกับปวดตรงบริเวณ กระดูกมาสตอยด์ตรงหลังหู) อัมพาตใบหน้าครึ่งซีก หูหนวก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีสมอง
อาจทำให้เกิดโพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบ ฝีรอบๆ หูหูชั้นในอักเสบ หูหนวกสนิท (เนื่องจากกระดูกนำเสียงภายในหูถูกทำลาย) หรือทำลายประสาทใบหน้า ทำให้กลายเป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก เชื้ออาจลุกลามเข้าสมอง ทำให้เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือฝีสมอง เป็นอันตรายได้
ดังนั้น ครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบ งานอนามัยโรงเรียน ควรพยายามค้นหาผู้ป่วยโรคหูน้ำหนวกเรื้อรังและส่งไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเสีย แต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่เด็กในภายหลัง
1. ให้ยาแก้ปวดลดไข้ และยาปฏิชีวนะ เช่นอะม็อกซีซิลลิน โคไตรม็อกซาดชล หรือ อีริโทรไมซิน
2. ถ้าอาการดีขึ้นใน 2 – 3 วันควรให้ยาปฏิชีวนะจนครบ 10 วัน แต่ถ้าไม่ดีขึ้น ควรส่งโรงพยาบาลอาจต้องใช้เข็มเจาะระบายหนองออกจากเยื่อแก้วหูเรียกว่า การเจาะเยื่อแก้วหู (myringotomy) เยื่อแก้หูจะปิดได้เองภายใน 1 - 2 สัปดาห์
ผลการรักษา ส่วนมากจะหายขาดได้ ในรายที่ได้รับยาไม่เพียงพอหรือไม่ถูกต้อง อาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมาภายหลัง