เบาหวาน: ปัญหาที่ไม่เบาเหมือนชื่อ จับตากลุ่มเด็ก-วัยทำงานมีพฤติกรรมเสี่ยง

ข่าวสุขภาพ อัพเดต สาธาณสุข

ณ วันนี้คนไทยได้ตระหนักถึงพิษภัยของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs กันมากขึ้น “เบาหวาน” เป็นอีกหนึ่งในกลุ่มโรค NCDs และมีแนวโน้มว่าขึ้นไทยจะป่วยด้วยโรคเบาหวานกันมากขึ้น และมีคนอีกจำนวนหนึ่งยังไม่รู้ตัวว่าป่วย จึงทำให้พลาดโอกาสในการรักษา ซึ่งกว่าจะรู้ตัวก็อาจจะสายไปแล้ว แต่ถ้าวันนี้เรากลับตัวกลับใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ จะเท่ากับว่า เราสามารถลดโอกาสของการเกิดโรคเบาหวานได้เช่นกัน

ในวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันเบาหวานโลก และธีมของวันเบาหวานโลกใน ปี 2561-2562 คือ “The Family and Diabetes” เพราะครอบครัวเป็นส่วนสำคัญในการรักษาเบาหวาน ส่วนประเทศไทยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จับมือสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย เครือข่ายคนไทยไร้พุง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จัดงานแถลงข่าววันเบาหวานโลก 2562 World Diabetes Day Thailand 2019ภาคีเร่งหามาตรการและจัดกิจกรรมส่งเสริม และลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่ ด้วยการจัดภารกิจ Together Fight Diabetes

เบาหวาน = กิจกรรมทางกายที่ไม่เหมาะสม

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า เบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ Non-Communicable diseases: NCDs ที่คุกคามประชากรทั่วโลก อันมีสาเหตุจากพฤติกรรมทางสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การมีกิจกรรมทางกายไม่เหมาะสม การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารและทุกวันนี้มีเรื่องของมลภาวะเข้ามาด้วย พวกนี้ถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ก่อให้เกิดโรค NCDs และหนึ่งในนั้นก็คือโรคเบาหวาน

“เราลองหันซ้ายหันขาวดูเราจะเห็นว่ามีญาติหรือคนรู้จักเป็นเบาหวานเยอะขึ้น ซึ่งเราจะสังเกตพฤติกรรมของคนที่เป็นเบาหวานได้ในเบื้องต้นคือ ปัสสาวะมากขึ้น กระหายน้ำมากขึ้น อ่อนเพลีย การตรวจคัดกรองจะทำให้รู้และสามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว”

ทั้งนี้โรค NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลกและประเทศไทย โดยทั้งโลกมีผู้เสียชีวิตปีละมากกว่า 40 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา สามารถคำนวณมูลค่าความสูญเสียถึง 47 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2573 หากไม่มีการดำเนินการแก้ไข ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 400,000 คนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 76 ของการเสียชีวิตทั้งหมด และครึ่งหนึ่งเสียชีวิตก่อนวัยอันควร คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียร้อยละ 2.2 ของ GDP ต่อปี

นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า สิ่งที่ทาง สสส.อยากจะเน้นคือเรื่องของการป้องกันตั้งแต่ต้นทาง หรือถ้าเป็นแล้วสามารถชะลอไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ซึ่งเราจะพิจารณาว่าใน 1 วันเราใช้เวลาทำอะไรบ้าง 8 ชั่วโมงนอน อีก 8 ชั่วโมงทำงาน แล้วเวลาที่เหลือเราไปทำอะไร เราต้องคิดพิจารณาว่าเราจะทำอย่างไร ส่วนเด็กครอบครัว พ่อแม่จะมีส่วนส่งเสริมให้เด็กมีกิจกรรมทางกายได้ แต่มีอีกที่หนึ่งที่เราสามารถทำให้เกิดกิจกรรมทางกายได้นั่นคือ ที่ทำงาน ตัวอย่างเช่น ใน สสส.สำนักงานจะถูกจัดไว้บนชั้น 4 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ออกกำลังด้วยการเดินขึ้นบันได ส่วนลิฟต์จะะถูกระบุว่าให้คนชราและผู้พิการ ร้านอาหารสุขภาพ เป็นต้น

“สสส.สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในทุกช่วงวัย โดยการพัฒนาและจัดการความรู้ สนับสนุนให้เกิดการจัดสิ่งแวดล้อมทางกฎหมายและทางสังคม อาทิ การผลักดันนโยบายที่เอื้อต่อพฤติกรรมสุขภาวะ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มปัจจัยเสริมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะและการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ใช้การสื่อสารการตลาดเพื่อรณรงค์ปรับเปลี่ยนค่านิยมวัฒนธรรม ขยายแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพให้เหมาะสมตามกลุ่มวัย ตั้งแต่วัยเด็ก เยาวชน วัยทำงาน ผู้สูงวัย ตลอดจนประชากรกลุ่มเฉพาะ เช่น ผู้พิการ กลุ่มสถานะบุคคล เพื่อขับเคลื่อนให้ประชาชนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาวะ ขับเคลื่อนงานลงสู่พื้นที่เป้าหมาย อาทิ สถานประกอบการ สถานศึกษา ชุมชน ครอบครัว อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนการทำงานของภาคีภายใต้กลไกที่หลากหลาย เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)” นพ.ไพโรจน์ กล่าว

จับตากลุ่มเด็กเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น

ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานถึง 4.8 ล้านคน และมักเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมาจากวิถีชีวิตแบบเนือยนิ่ง โรคอ้วน และอายุที่มากขึ้น ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาเพียงร้อยละ 35.6 หรือเพียง 2.6 ล้านคน บรรลุเป้าหมายในการรักษาได้เพียง 0.9 คน ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในเมืองไทยมีมากถึง 200 รายต่อวัน คาดการณ์ว่าความชุกของโรคเบาหวานจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.3 ล้านคนภายในปี 2583 ซึ่งหากดูแลรักษาได้ไม่ดีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคไต และการถูกตัดเท้าหรือขา

[Total: 0 Average: 0]

コメントを残す

HEALTH ME NOWをもっと見る

今すぐ購読し、続きを読んで、すべてのアーカイブにアクセスしましょう。

続きを読む