เนื้องอกรังไข่

เนื้องอกรังไข่ และถุงน้ำรังไข่ อาจอยู่ในเนื้อรังไข่หรืออยู่บนผิวของรังไข่ก็ได้ บางกรณีอาจเป็นก้อนยื่น ออกจากรังไข่โดยมีก้าน (ขั้ว)  เชื่อมติดกับรังไข่ พบได้ในผู้หญิงทุกวัยส่วนใหญ่พบในวัยเจริญพันธุ์

                เนื่องอกและถุงน้ำรังไข่มีอยู่หลายชนิด  ส่วนใหญ่ เป็นชนิดไม่ร้าย (benign) ส่วนน้อยที่เป็นมะเร็งรังไข่ ซึ่งมักพบในผู้หญิงอายุมากกว่า  50 ปี

สาเหตุ เนื้องอกรังไข่

                เกิดจากเซลล์ของรังไข่ที่มีการแบ่งตัวเจริญอย่างผิดปกติ กลายเป็นก้อนเนื้องอก หรือเป็นถุงหุ้มที่มีน้ำ หรือของเหลวบรรจุอยู่ภายใน  

                ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ

                สำหรับถุงน้ำชนิดที่พบบ่อย ได้แก่ follicularcyst และ corpus luteum cyst เป็นผลที่เกิดจาก กระบวนการตกไข่ (ovulation) กล่าวคือ ฟอลลิเคิล (follice) หรือถุงไข่ ซึ่งเป็นถุงเล็ก ๆ ที่บรรจุไข่ (ovum)โดยปกติจะถูกฮอร์โมนแอลเอช (LH) กระตุ้นให้เจริญจนสุกแล้วแตกออกปล่อยไข่ออกมาจากรังไข่นั้น เกิดการเจริญอย่างผิดปกติ และไม่มีการตกไข่ ทำให้กลาย เป็นถุงน้ำ(follicular cyst) ขึ้นมาส่วน corpus luteum cyst  ซึ่งเป็นฟอลลิเคิลระยะหลังจากที่แตกและ ปล่อยไข่ออกมาแล้วและมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเอสโทรเจน และโพรเจสเทอโรนนั้น บางครั้งเกิดการอุดตันที่รูแตกทำให้มีน้ำสะสมอยู่ภายในกลายเป็นถุงน้ำ ถุงน้ำทั้ง 2 ชนิดนี้ มีชื่อเรียกว่า ถุงน้ำเสรีระ (physiologic หรือ functional  cyst) อาจมีขนาด 5-6 ซม. ส่วนใหญ่มักจะค่อย ๆ ฝ่อตัวลงจนหายภายใน 1-3 เดือน

                 ส่วน dermoid cyst เกิดจากเซลล์ไข่ (germ cell) ซึ่งสามารถเจริญเป็นเนื้อเยื่อทุกชนิด เป็นความผิดปกติ ที่เกิดขึ้น แต่กำเนิด   (congenital) ถุงน้ำชนิดนี้มักพบใน ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี มีลักษณะเป็นถุงหุ้มผนังหนา มีสารข้น ๆ สีเหลืองอยู่ภายในประกอบด้วย ไขมัน   ฟัน กระดูก และผม อาจงอกนอกรังไข่โดยมีก้านเชื่อม ซึ่งสามารถเกิดการบิดขั้วได้ ส่วนใหญ่เป็นถุงน้ำชนิดไม่ร้าย ส่วนน้อยอาจกลายเป็นมะเร็ง 

                ส่วน cystadenoma เกิดจากเซลล์เยื่อหุ้มรังไข่ (epithelial cell)โดยไม่ทราบสาเหตุ อาจมีน้ำใสบรรจุอยู่ภายใน (เรียกว่า “ Serous cystadenoma”) หรือเป็นเมือกข้น (เรียกว่า “Mucinous cystadenoma”) ซึ่งอาจมี ขนาดโตมากกว่า 60 ซม.อาจมีก้านเชื่อมกับรังไข่ เกิดการบิดขั้วได้ และบางรายอาจกลายเป็นมะเร็งตามมาได้ 

อาการ เนื้องอกรังไข่

  •                 ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
  •                 บางรายอาจมีอาการแน่นท้องรู้สึกปวดหน่วง ๆในท้องน้อย หรือมีอาการปวดเฉียบขณะร่วมเพศหรือ ถ่ายอุจจาระ
  •                 ถ้าถุงน้ำแตก หรือมีเลือดออกเข้าไปในถุงน้ำหรือ ช่องท้องน้อย ก็จะมีอาการปวดท้องฉับพลันรุนแรง
  •                 ในรายที่มีก้านเชื่อมต่อกับรังไข่ อาจเกิดการบิดขั้วกะทันหัน ทำให้เกิดอาการปวดท้องฉับพลันรุนแรง เรียกว่า เนื้องอก/ถุงน้ำรังไข่ชนิดบิดขั้ว (twisted ovarian tumor/cust)
  •                 หากเป็นเนื้องอกหรือถุงน้ำที่มีการสร้างฮอร์โมนก็ อาจทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบฮอร์โมน ทำให้มีอาการประจำเดือนผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรืออกมากกว่าปกติได้ หรือมีเลือดออกจาก ช่องคลอดในหญิงวัยหมดประจำเดือน

การป้องกัน เนื้องอกรังไข่

                มะเร็งรังไข่ที่มีก้านต่อกับรังไข่ ก็อาจมีอาการปวด ท้องรุนแรงแบบเดียวกับถุงน้ำรังไข่ชนิดบิดขั้วได้เช่นกัน ในการผ่าตัดอาจจำเป็นต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อแยก แยะสาเหตุให้ชัดเจน

                ถ้าเป็นมะเร็งรังไข่ก็จะทำการผ่าตัดรังไข่และท่อรังไข่ออกไปด้วย ร่วมกับการให้เคมีบำบัด 

การรักษา เนื้องอกรังไข่

                หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล ถ้ามีอาการปวด ท้องรุนแรงควรส่งโรงพยาบาลทันที

                แพทย์จะทำการตรวจภายใน ทำการตรวจอัลตราซาวนด์ เอกวเรย์คอมพิวเตอร์ ใช้กล้องส่องตรวจ ช่องท้อง (laparoscopy)ในรายที่ต้องการแยกสาเหตุ ของมะเร็งรังไข่ อาจทำการตรวจระดับ cancer antigen 125 (CA 125) ในเลือด

การรักษา ถ้าถุงน้ำมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 5 ซม.และไม่มีอาการปวดท้องมาก แพทย์ก็จะนัดผู้ป่วยมาตรวจดูอาการเป็น ระยะ ๆโดยไม่ต้องให้การรักษาใด ๆ และถ้าเป็นถุงน้ำสรีระจะค่อยๆ หายได้เองภายใน 1-3 เดือน

                แต่ถ้าก้อนโตมากกว่า 5 ซม. หรือมีอาการปวดท้องมาก หรือสงสัยเป็นมะเร็งรังไข่ ก็จะให้การรักษา ด้วยการผ่าตัด

                ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ตกเลือดมาก เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (มีไข้ ปวดท้อง อาเจียน) ก็อาจต้องผ่าตัดฉุกเฉิน

[Total: 1 Average: 5]