สายตายาว

สายตายาว คือ ภาวะพบมากในในเด็กเล็กและผู้สูงอายุมัก พบว่าเป็นกันหลายคนในครอบครัวเดียวกัน ในบ้านเราพบว่าเด็กประมาณร้อยละ 15-20 เป็นสายตายาว ผู้ที่สายตายาวมักจะมีความผิดปกติมาแต่กำเนิด แต่จะแสดงอาการเมื่อโตขึ้น ในเด็กเล็กอาจมีอาการตาเขร่วมด้วย และถ้าปล่อย ทิ้งไว้อาจทำให้ตาข้างหนึ่งเสีย จนแก้ไขไม่ค่อยได้ผล

สาเหตุ สายตายาว

เนื่องจากกระบอกตาสั้นไป หรือไม่เป็นเพราะ กระจกตาหรือแก้วตามีกำลังในการหักเหแสงน้อยไป ทำให้จุดรวมแสงของภาพไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ใกล้ไกลขนาดไหนตกไปอยู่ข้างหลังของจอตา ทำให้มองเห็นไม่ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลามองวัตถุที่อยู่ใกล้จะมัวมากกว่ามองวัตถุที่อยู่ไกล

อาการ สายตายาว

ผู้ป่วยจะมองวัตถุที่อยู่ใกล้ไม่ชัด บางคนอาจมีอาการมองไกลๆไม่ชัดร่วมด้วย ในรายที่เป็นไม่มากหรือสามารถปรับแก้วตาให้มีความโค้งและหนามากขึ้น (accommodation) ทำให้แสงหักเหตกที่จอตาพอดี ก็อาจมองเห็นชัดเช่นคนปกติ ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าตัวเอง มีสายตายาวซ่อนอยู่

บางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการปวดตา (ตาล้า ตาเพลีย) และปวดศีรษะหลังจากใช้สายตาเพ่งมองวัตถุ ที่อยู่ใกล้ (เช่น อ่านหนังสือ มองจอคอมพิวเตอร์) เป็นเวลานานๆ และอาการจะทุเลาเมื่อหยุดใช้สายตา ในเด็กเล็กอาจมีอาการตาเขร่วมด้วย

การป้องกัน สายตายาว

  1. สายตายาว บางครั้งอาจวินิจฉัยได้ยาก หรือวินิจฉัยผิดว่าเป็นสายตาสั้น ดังนั้นทางที่ดีควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจวินิจฉัย
  2. ผู้ที่เป็นสายตายาว ควรหมั่นตรวจเซ็กสายตาเป็นประจำ เพราะอาจต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยเมื่ออายุมากขึ้น

การรักษา สายตายาว

หากสงสัย ควรไปตรวจวัดสายตาที่โรงพยาบาลและตัดแว่นชนิดเลนส์นูนใส่ จะช่วยให้เห็นชัดและหายปวดตาเมื่ออายุมากขึ้นอาจต้องเปลี่ยนแว่นทุก 2-3 ปี เนื่องจากกำลังในการหักเหแสงของตาจะอ่อนลงตามอายุ
บางรายอาจรักษาด้วยการทำเลซิก

[Total: 0 Average: 0]