สายตาสั้น

 สายตาสั้น เป็นภาวะที่พบได้บ่อย (พบได้ประมาณ ร้อยละ 25 ของเด็กในวัยเรียน) อาจเป็นเพียงตาข้างเดียว หรือ2 ข้างก็ได้ และสายตาทั้ง 2 ข้างอาจจะสั้นไม่เท่ากันก็ได้ โรคนี้มักพบเป็นกันหลายคนในหมู่ญาติพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน

สายตาสั้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่ สายตาสั้นชนิดธรรมดา (ซึ่งพบเห็นเป็นส่วนใหญ่ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง) และสายตานั้นชนิดร้าย (ซึ่งพบได้น้อย แต่ร้ายแรงและเป็นตั้งแต่เกิด)

สาเหตุ สายตาสั้น

สายตาสั้นชนิดธรรมดา มีสาเหตุจากกระจกตา มีความโค้งมากกว่าปกติ จึงมีกำลังในการหักเหแสงมาก ขึ้นทำให้จุดรวมแสงของสภาพของวัตถุที่อยู่ไกลตกอยู่ ข้างหน้าจอตา จึงมีอาการมองไกลๆไม่ชัด เชื่อว่าความผิดปกติของกระจกตา เป็นสิ่งที่เป็น มาแต่กำเนิดโดยเป็นธรรมชาติของคนคนนั้น เช่นเดี่ยว กับความสูงเตี้ย ความสวยงามของร่างกาย อาจมีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์และเชื้อชาติ

สายตาสั้นชนิดร้าย (malignant myopia) เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ซึ่งถ่ายทอดถึงลูกหลาน ทำให้เกิดมามีกระบอกตา  (ระยะทางจากกระจกตาถึงจอตา) ยาวกว่าปกติ จุดรวมแสงของภาพวัตถุที่อยู่ไกลๆ จึงตกอยู่ข้างหน้าจอตา

อาการ สายตาสั้น

สายตาสั้นชนิดธรรมดา จะมีอาการมองไกลๆ (เช่น มองกระดานดำ ดูโทรทัศน์) ไม่ชัด ต้องคอยหยีตา แต่มองใกล้หรืออ่านหนังสือได้ชัดเจนโดยทั่วไปจะเริ่ม มีอาการแสดงในระยะที่เริ่มเข้าโรงเรียนและจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งอายุ 25 ปีจึงอยู่ตัวไม่สั้น มากขึ้นสายตาสั้นชนิดนี้ จะไม่สั้นมาก และไม่มีภาวะแทรกซ้อนแต่อย่างใด

สายตาสั้นชนิดร้าย จะมีอาการสายตาสั้นขนาด มากๆมาตั้งแต่เกิดจะสังเกตเห็นเมื่อเด็กเริ่มหัดเดิน มัก จะเดินชนถูกสิ่งกีดขวางหกล้มบ่อย ๆ หรือเวลามองดูอะไรต้องเข้าไปใกล้ๆ จนตาแทบชิดกับวัตถุที่มอง ต้องสวมแว่นหนา ๆ อาจต้องเปลี่ยนแว่นแรงขึ้นเรื่อย ๆ และอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น มีเลือดออกที่จอตา จอตาฉีกขาดหรือหลุดลอก เป็นต้น ซึ่งทำให้ตาบอดได้ในเด็กเล็ก ถ้าสายตาสั้นมากๆ อาจมีอาการตาเขร่วมด้วย

ข้อแนะนำ สายตาสั้น

  1. ตามโรงเรียนต่าง ๆ ควรมีแผ่นวัดสายตา (Sbeklen chart)ไว้ตรวจวัดสายตานักเรียนทุกคน ถ้าพบว่าผิดปกติ จะได้ส่งเด็กไปตรวจที่โรงพยาบาล และตัดแว่นใส่ สายตาสั้นไม่ใช่เกิดจากการใช้สายตามากเกินไป (เช่น ดูหนังสือมาก) ดังที่เข้าใจกันทั่วไป แต่เป็นเพราะธรรมชาติของคนคนนั้นที่เกิดมามีโครงสร้างของตา (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระจกตา แก้วตา กระบอกตา) ที่ทำให้สายตาสั้น เช่นเดี่ยวกับที่บางคนเกิดมาสูง บางคนเตี้ย ดังนั้นจึงไม่มีวิธีป้องกันและยารักษาที่ได้ผลแน่นอนนอกจากเมื่อเป็นแล้วค่อยใส่แว่นแก้ไข
  2. ผู้ที่เป็นสายตาสั้น จะใส่แว่นประจำหรือไม่ ก็ไม่ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสายตา ความเชื่อที่ว่าใส่แว่นประจำหรือเปลี่ยนแว่นบ่อย ๆ ทำให้ตาสั้นมากขึ้น จึงไม่ เป็นความจริง ถ้าสายตาจะสั้นมากขึ้นก็เพราะธรรมชาติ ของคนคนนั้นโดยทั่งไปเมื่ออายุประมาณ 25 ปีสายตา มักจะอยู่ตัวไม่ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย
  3. ในปัจจุบันนี้วิธีรักษาโรคนี้ด้วยการผ่าตัด กรีดกระจกตาเป็นแฉกๆบริเวณรอบนอกของกระจกตา(radial keratotmy)ให้ลดความโค้งลง เพื่อให้จุดรวม แสงตกบนจอตาพอดี หรือใช้แสงเลเซอร์ไปทำลายพื้น ผิดตรงกลางกระจกตาให้แบนราบลง (photorefractive keratectomy)

นอกจากนี้ยังมีวิธีแก้ไขสายตาผิดปกติ (สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง) ด้วยการผ่าตัดร่วมกับการใช้ เลเซอร์เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้จุดรวมแสงตกบนจอตาพอดี เรียกว่า เลซิก (LASIK ซึ่งย่อมาจาก laser assisted in situ keratomileusis) วิธีเหล่านี้ต้องกระทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญโดยเฉพาะ

การรักษา สายตาสั้น

หากสงสัย ควรแนะนำไปตรวจวัดสายตาที่โรงพยาบาล ถ้าเป็นสายตาสั้น ต้องแก้ไขด้วยการใส่แว่นชนิดเลนส์เว้า หรือเลนส์สัมผัส ในผู้ที่เป็นสายตาสั้นชนิดร้าย ควรตรวจวัดสายตา และปรับเปลี่ยนแว่นเป็นระยะ ๆ

[Total: 1 Average: 5]