ตาบอดกลางคืน (Night Blindness)

โรคตาบอดกลางคืน (Night Blindness) คือ ความบกพร่องทางการมองเห็นชนิดหนึ่ง ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Nyctalopia ผู้คนที่มีภาวะตาบอดกลางคืนจะมองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสลัว

แม้ว่าความหมายของโรคตาบอดกลางคืนจะหมายถึงการไม่สามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืน ไม่เพียงเท่านั้น คุณอาจมีความลำบากในการมองเห็นหรือการขับรถในที่มืด

ตาบอดกลางคืนบางชนิดสามารถรักษาได้ ขณะที่ชนิดอื่นรักษาไม่ได้ การไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการบกพร่องทางการมองเห็น ซึ่งหากทราบสาเหตุของปัญหาแล้วนั้น ก็จะช่วยให้ทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องเพื่อแก้ไขการมองเห็นได้

อาการเพียงอย่างเดียวของตาบอดกลางคืนคือการมองเห็นในที่มืดลำบาก คุณมีแนวโน้มที่จะเกิดตาบอดกลางคืนมากขึ้น เมื่อตาของคุณเปลี่ยนการมองเห็นจากสภาพแวดล้อมที่สว่างไปสู่ที่ที่มีแสงสว่างน้อย เช่น เมื่อคุณออกจากทางเดินที่มีแดดส่องเพื่อเข้าไปในร้านอาหารที่มีแสงสลัว

คุณมีแนวโน้วบกพร่องในการมองเห็นเมื่อขับรถเนื่องจากความสว่างที่ไม่ต่อเนื่องจากไฟหน้ารถและไฟจากถนน

สาเหตุของตาบอดกลางคืน

ภาวะทางตาบางอย่างอาจทำให้ตาบอดกลางคืน ได้แก่:

  • สายตาสั้น หรือการมองเห็นไม่ชัดเมื่อวัตถุอยู่ไกล
  • ต้อกระจก หรือเลนส์ตาขุ่นมัว
  • โรคจอประสาทตาเสื่อม (Retinitis pigmentosa) เกิดจากเม็ดสีเข้มสะสมในเรตินาและสร้างการมองเห็นแบบอุโมงค์
  • กลุ่มอาการอัชเชอร์ (Usher syndrome) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการได้ยินและการมองเห็น

ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงในการเกิดต้อกระจก พวกเขาจึงมีแนวโน้มที่จะตาบอดกลางคืนเนื่องจากต้อกระจกมากกว่าในเด็กหรือผู้ใหญ่ตอนต้น

วิตามินเอ หรือที่เรียกว่า เรตินอล (Retinol) มีบทบาทในการเปลี่ยนกระแสประสาทเป็นภาพในเรตินา โดยเรตินาคือบริเวณที่ไวต่อแสงอยู่ส่วนหลังของดวงตา

คนที่เป็นโรคตับอ่อนทำงานบกพร่อง (Pancreatic insufficiency) เช่น บุคคลที่เป็นโรคซีสติดไฟโบรซีส (Cystic fibrosis), มีปัญหาในการดูดซึมไขมัน และมีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามินเอเนื่องจากวิตามินเอสลายในไขมัน ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดตาบอดกลางคืน

คนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือโรคเบาหวาน จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคทางตา เช่น ต้อกระจก

อาการ ตาบอดกลางคืน

ผู้ที่มีอาการตาบอดกลางคืนจะพบปัญหาในการมองเห็นในที่มืด รวมทั้งที่ที่มีแสงสลัวหรือมีแสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อต้องมีการปรับสายตาจากบริเวณที่มีความสว่างมากไปยังบริเวณที่มืดหรือมีแสงน้อย เช่น เปลี่ยนสถานที่จากบริเวณที่มีแดดจ้าเข้าไปสู่ร้านอาหารที่มีแสงสลัว ขับรถในเวลากลางคืนซึ่งแสงไฟสว่างไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น

การรักษา ตาบอดกลางคืน

จักษุแพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์และตรวจตาเพื่อทำการวินิจฉัยโรคตาบอดกลางคืน คุณอาจต้องเจาะเลือดส่งตรวจ เพื่อประเมินระดับวิตามินเอและน้ำตาลในเลือด

ตาบอดกลางคืนที่มีสาเหตุมาจาก สาตาสั้น ต้อกระจก หรือการขาดวิตามินเอ สามารถรักษาได้ การแก้ไขสายตา เช่น การสวมแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ สามารถแก้ไขสายตาสั้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณยังมีปัญหาในการมองเห็นในที่สลัว แม้จะได้รับการแก้ไขสายตามาแล้ว

ต้อกระจก

ส่วนที่ขุ่นมัวในเลนส์ตาของคุณ เรียกว่า ต้อกระจก

สามารถแก้ไขต้อกระจกได้ด้วยการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะทำการเปลี่ยนเลนส์ตาที่ขุ่นมัวออกมาและแทนที่ด้วยเลนส์ตาเทียม ตาบอดกลางคืนของคุณก็จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายหลังการผ่าตัด หากนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตาบอดกลางคืน

การขาดวิตามินเอ

หากคุณมีระดับวิตามินเอต่ำ แพทย์จะแนะนำให้เสริมวิตามินตามที่กำหนด

คนส่วนใหญ่มักไม่เกิดภาวะขาดวิตามินเอ เนื่องจากพวกเขาสามารถเข้าถึงโภชนาการที่เหมาะสม

ภาวะทางพันธุกรรม

ภาวะทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุให้เกิดตาบอดกลางคืน เช่น จอประสาทตาอักเสบ (Retinitis pigmentosa) ไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งพันธุกรรมดังกล่าวเป็นเหตุให้เม็ดสีที่ถูกสร้างขึ้นในเรตินาไม่ตอบสนองต่อการแก้ไขเลนส์ตา หรือการผ่าตัด

คนที่มีรูปแบบของตาบอดกลางคืนดังกล่าวควรเลี่ยงการขับรถในเวลากลางคืน

[Total: 0 Average: 0]