โรคเนื้อเน่า (Necrotizing Fasciitis) คือ Soft Tissue Inflammation หรือที่เรียกอีกชื่อว่าแบคทีเรียกินเนื้อ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียของเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งอาจทำให้ผิวถูกทำลายไปถึงเนื้อเยื่อชั้นกล้ามเนื้อ และชั้นใต้ผิวหนังได้
โรคเนื้อเน่า เกิดจากแบคทีเรียชนิดสเตรปโตค็อคคัส กลุ่มเอ (Group A Streptococcus) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “โรคแบคทีเรียกินเนื้อ” การติดเชื้อจะไม่ลามรุนแรงมาก หากผิวหนังไม่มีการรับเชื้อจากแบคทีเรียชนิดอื่น ร่วมด้วย
สาเหตุของโรคแบคทีเรียกินเนื้อ
เมื่อผิวหนังบนร่างกายของคุณได้รับการบาดแผล หรือเป็นแผลแค่จุดเล็กๆ เชื้อแบคทีเรียนี้จะเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว และเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ซึ่งอาจทำให้เลือดออกมาเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นไม่พอ และทำให้ผิวหนังตายได้
มีแบคทีเรียหลายชนิดที่ทำให้ผิวหนังเกิดอาการอักเสบ ชนิดที่พบมากที่สุดคือแบคทีเรีย สเตรปโตค็อคคัส กลุ่มเอ (Group A Streptococcus) และแบคทีเรียชนิดอื่นๆอีกเช่น
- Aeromonas hydrophila
- Clostridium
- E. coli
- Klebsiella
- Staphylococcus aureus
อาการของโรคแบคทีเรียกินเนื้อ
หากผิวหนังได้รับเชื้อแบคทีเรียแล้ว จะมีอาการปวด อักเสบ บวมแดง และอาจทำให้ผู้ป่วยมีไข้อีกด้วย บริเวณผิวหนังที่ติดเชื้อเปลี่ยนเป็นสีคล้ำและอาจมีหนองไหลจากอาการพุพองอีกด้วย
อาการแทรกซ้อนอื่นๆ ของโรคเนื้อเน่า เช่น
วิธีการรักษาผู้เป็นโรคเนื้อเน่า
แพทย์ที่รักษาโรคผิวหนังโดยตรง ใช้วิธีตรวจชิ้นเนื้อบริเวณที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย หรือการตรวจเลือดด้วยวิธีการ CT สแกน จะทำให้สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้โดยตรง ผลตรวจเลือดจะทราบผลได้ชัดเจนหากว่าผิวหนังของคุณได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นโรคเนื้อเน่า
การรักษาผู้เป็นโรคเนื้อเน่า เริ่มต้นด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ตัวยาปฏิชีวนะจะสมานแผลและรักษาโดยตรงไปยังบริเวณที่ผิวได้รับเชื้อแบคทีเรีย แต่ตัวยาปฏิชีวนะอาจไม่สามารถรักษาผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อได้ทั้งหมด แพทย์อาจใช้วิธีผ่าตัดเนื้อเยื้อหรือตัดชิ้นเนื้อที่ตายแล้วออก ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องตัดอวัยวะ แขน หรือ ขา ออก เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย