การตรวจเลือด (Blood testing) เป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญเพื่อบ่งชี้การทำงานของอวัยะต่าง ๆ ภายในร่างกาย หรือเป็นการตรวจวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงของสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคหรือสภาวะบางอย่างที่ผิดปกติของร่างกายได้ เชื่อว่าผู้ป่วยหลาย ๆ ท่านหรือผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพเมื่อได้ใบผลการตรวจเลือดจากโรงพยาบาลนั้น มักจะไม่เข้าใจความหมายของค่าต่าง ๆ จากข้อจำกัดดังกล่าวบทความนี้จึงได้รวบรวมคำอธิบายและความหมายของค่าต่าง ๆ ไว้เพื่อช่วยให้หลาย ๆ ท่านได้เข้าใจผลเลือดของตนเองได้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามผลการตรวจเลือดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถยืนยันความผิดปกติที่พบหรือโรคบางโรคได้ เนื่องจากโรคบางชนิดต้องอาศัยการตรวจหลายอย่างเพื่อยืนยันผลและมีหลายปัจจัยที่ทำให้ผลตรวจเลือดออกมาอยู่ในเกณฑ์ไม่ปกติ เช่น อาหารที่รับประทาน อยู่ในช่วงมีประจำเดือน การออกกำลังกาย ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม หรือการใช้ยาบางชนิด จึงจำเป็นต้องมีการตรวจในขั้นตอนต่อไปเพิ่มขึ้นตามดุลยพินิจของแพทย์ หรือตรวจซ้ำอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามการตรวจเลือดเป็นวิธีการพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นที่จะใช้ในการวินิจฉัย ซึ่งในปัจจุบันการตรวจเลือดแบ่งได้หลายประเภท
ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนตรวจเลือด
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหมจนเกินไป งดดื่มสุรา งดยาบางชนิด (ควรปรึกษา
- แพทย์ก่อนทุกครั้ง) ท่านสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
- ยกเว้นในการตรวจหาปริมาณน้ำตาลและไขมันในเลือดควรงดอาหารนาน 8–12 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด (ดื่มน้ำเปล่าได้)
- แต่จากประสบการณ์ เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำถึงแม้ไม่ได้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็ควรงดทานอาหาร
- ก่อนการเจาะเลือดอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพราะหากทานอาหารไปก่อนการเจาะเลือดบางครั้งเลือดที่ได้จะมี
- ลักษณะขุ่มขาวคล้ายน้ำนม เรียก Lipimic serum เนื่องจากจากดูดซึืมของร่างกาย จะมีส่วนทำให้เกิดการ
- แปรปรวนของผลการทดสอบได้บ้างจากความขุ่มของไขมันที่ถูกดูดซึมเข้าสุ่กระแสเลือด
ตรวจเลือดแต่ละครั้งต้องใช้เลือดปริมาณเท่าไร
ใช้เลือดประมาณ 8–10 ซีซี ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณเลือดในร่างกายที่มีทั้งหมดประมาณ 5,000
ซีซี ดังนั้นจึงไม่มีผลเสียต่อร่างกาย ส่วนการบริจาคเลือดแต่ละครั้งผู้บริจาคจะเสียเลือดประมาณ 400 ซีซี.โดย
ที่ไม่มีอันตรายใด ๆ
โดยปกติการตรวจน้ำตาลในเลือดจะใช้เลือดประมาณ 1- 2 ซีซี / การตาวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
จะใช้เลือดประมาณ 1- 2 ซีซี. / การตรวจทางเคมีคลีนิคอื่นขึ้นกับชนิดของการทดสอบแต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่
เครื่องตรวจวัดปัจจุบันใช้ตัวอย่างเลือดน้อยลงกว่าเดิม เฉลี่ยเลือดที่ใช้ก็ประมาณ 5 ซีซี.
ใช้เวลาเท่าไรจึงจะทราบผล
ประมาณ 1 ชั่วโมง สำหรับการตรวจเลือดตามปกติ เช่น การตรวจเม็ดเลือด การตรวจสมรรถภาพของตับและ
ไต ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด แต่สำหรับการตรวจพิเศษบางอย่างอาจต้องใช้เวลานานเป็นวันจึงจะทราบ
ผล เช่น ผลการเพาะเชื้อจากเลือด ( Hemo culture) เป็นต้น
เลือดที่ถูกเจาะไป ใช้ตรวจอะไรได้บ้าง
- ตรวจนับเม็ดเลือด เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคเลือด เช่น ทาลัสซีเมีย ลิวคีเมีย
- ตรวจสมรรถภาพของตับ ช่วยในการหาสาเหตุของภาวะดีซ่าน ช่วยวินิจฉัยโรคตับ เช่น ตรวจสมรรถภาพของไต ช่วยในการวินิจฉัยโรคของไต เช่น ภาวะไตวาย
- ตรวจระดับไขมันในเลือด ช่วยในการวินิจฉัยภาวะไขมันในเลือดสูงซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยในการวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ตรวจหาปริมาณฮอร์โมน ช่วยวินิจฉัยโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ
- ตรวจหาโรคติดเชื้อทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส
- ตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคออโตอิมมูน เช่น โรคเอสแอลอี โรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์
- การตรวจทางด้านอินมุโน เช่น ตรวจหาแอนติบอดีย์ต่อไวรัส HIV การตรวจหาไวรัสตับอักเสบชนิด A/B/C
- การตรวจหาแอนติบอดีย์ต่อไวรัส HIV สามารถเลือกใช้ชนิด เลือดครบส่วนจากปลายนิ้ว / ซีรั่ม / พลาสม่า ขึ้นกับชนิดของชุดทดสอบ
- ส่วนการตรวจหาแอนติเจนต่อไวรัส HIV มักจะใช้ซีรั่ม ในการตรวจ
- การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส
นอกจากนี้ยังมีการตรวจพิเศษอีกหลายชนิดซึ่งแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้พิจารณาส่งตรวจตามความเหมาะสม
การตรวจเลือดเอดส์มีขั้นตอนอย่างไร
ปกติเมื่อไปตรวจเลือดเอดส์ ทางสถานบริการจะมี pattern หรือแนวทางการทดสอบในมาตราฐานที่คล้ายกัน
ทั้งนี้ก็เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการผิดพลาด และให้มีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด เนื่องจากเป็นการทดสอบที่มี
ความละเอียดอ่อนมากกว่าการทดสอบทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ สถานบริการในแต่ละที่ อาจต่างกันที่ชนิดของ
น้ำยาที่นำมาใช้ในการทดสอบ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานบริการของแต่ละสถานที่บริการนั้นๆ
ประสิทธิภาพของชุดทดสอบที่นำมาใช้ ทุกผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านการรับรองจาก อย.ของกระทรวงสาธารณสุข
แล้วเท่านั้นถึงนำมาใช้ทดสอบในประเทศได้ ทำให้มั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าผลการตรวจมีความไวและความ
จำเพาะที่เชื้อถือได้
สถานบริการก็จะตรวจแบบ “ตรวจขั้นต้น” หรือที่เรียก ” ตรวจคัดกรอง ” ใช้วิธี ELISAโดยตรวจแอนติบอดี
( ภูมิคุ้มกัน ) ก่อน ถ้าให้ ผลบวก ก็จะตรวจยืนยันโดยวิธี western blot assay หรือ ปัจจุบันก็จะใช้หลัก
มาตราฐานของ WHO โดยการใช้ชุดตรวจคัดกรองขั้นต้น 2 วิธีที่มีคุณลักษณ์ที่แตกต่างกันมาใช้ในการ
ทดสอบ ดุจาก (Flow chart) จากผลการตรวจที่ได้ ประกอบการซักประวัติและการตรวจร่างกายโดยแพทย์
จึงจะบอกได้ว่า “เลือดเอดส์ให้ผลบวก” การตรวจคัดกรองใช้เวลาประมาณ 15 นาที – 2 ชม (ขึ้นอยุ่กับวิธีที่
ใช้ในการตรวจ (ราคาค่าใช้จ่ายก็อาจแตกต่างกันไป).
แต่ถ้าตรวจยืนยันด้วยวิธี western blot ก็แล้วแต่สถานที่ บางแห่ง 7 วันก็รู้ผล บางแห่ง ก็นัดเป็นเดือนก็มี