เลือดข้น (Polycythemia Vera)

เลือดข้น (Polycythemia vera) คือมะเร็งเม็ดเลือดที่หาได้ยาก เนื่องจากร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดแดงที่มากเกินไป โดยที่เซลล์เม็ดเลือดแดงจะพาออกซิเจนไปทั่วร่างกาย

เมื่อคุณมีเม็ดเลือดแดงมากเกินไป เลือดของคุณจะข้นขึ้นและไหลช้าลง เซลล์เม็ดเลือดแดงสามาถรวมตัวกันเป็นก้อนอยู่ในหลอดเลือดของคุณได้

ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อเลือดไหลเวียนช้า ปริมาณออกซิเจนที่ไปถึงสมองและอวัยวะสำคัญอื่นๆก็จะลดลงไปด้วย อีกทั้งยังทำให้การไหลเวียนของเลือดภายในหลอดเลือดไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองสมองจนสามารถเสียชีวิตได้ ถ้าปล่อยไว้ในระยะยาวอาจเกิดแผลในกระดูกสันหลัง นำไปสู่มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

โรคเลือดข้นไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถประคับประคองอาการได้ โดยแพทย์จะทำการเจาะเลือดไปตรวจ เพื่อจ่ายยาที่ช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่คุณควรพบแพทย์ทันทีหากสงสัยว่าตัวเองมีอาการของโรคหรือเกิดความผิดปกติอื่นๆ

สาเหตุของอาการและความเสี่ยงจากโรคเลือดข้น

โรคเลือดข้นมักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และอาการของโรคโดยส่วนมากมักพบได้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี แต่ก็อาจเกิดขึ้นก่อนได้

การเปลี่ยนแปลงของยีนส์ JAK2 เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการผลิตโปรตีนที่ช่วยสร้างเม็ดเลือด โดยส่วนมากผู้ที่เป็นโรคเลือดข้นจากการกลายพันธุ์มีอยู่ประมาณ 95%

การกลายพันธุ์สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับครอบครัวได้เลย ซึ่งปัจจุบันยังคงมีการวิจัยเพื่อหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมได้

ถ้าหากคุณมีความเสี่ยงของโรคเลือดข้น คุณสามารถมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ ขึ้นอยู่กับการเกิดลิ่มเลือด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในโรคเลือดข้นได้แก่ :

  • ประวัติของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
  • มีอายุมากกว่า 60 ปี
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • การสูบบุหรี่
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • การตั้งครรภ์

เลือดที่ข้นมากกว่าปกติ จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดได้ ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากอะไรก็ตาม

อาการของเลือดข้น

โรคเลือดข้นอาจจะไม่แสดงอาการให้เห็นเลยเป็นเวลาหลายปี อาการในระยะแรกอาจจะไม่รุนแรงและอาจจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นโรคนี้ถ้าหากไม่ได้รับการตรวจเลือดอย่างต่อเนื่อง

ถ้าหากรู้อาการตั้งแต่ระยะแรกๆ คุณสามารถทำการรักษาได้อย่างทันที และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ อาการทั่วไปของภาวะเลือดข้นได้แก่ : 

ในขณะที่เป็นโรค เลือดของคุณจะข้นขึ้น มีเม็ดเลือดแดงมากขึ้น และอาการจะร้ายแรงมากขึ้น เช่น :

  • มีเลือดออกมาก จากการเป็นแผลเล็กน้อย
  • ข้อบวม
  • ปวดกระดูก
  • มีผื่นสีแดงปรากฏบนใบหน้า
  • มีเลือดออกตามไรฟัน
  • รู้สึกแสบที่มือหรือเท้า

อาการเหล่านี้สามารถเกิดจากภาวะอื่นๆได้ด้วย ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการที่เกิดได้อย่างถูกต้อง

การรักษาเลือดข้น

โรคเลือดข้นเป็นภาวะเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งสามาถช่วยให้คุณจัดการกับอาการและภาวะแทรกซ้อนได้  โดยที่แพทย์จะเป็นคนวางแผนการรักษาตามความเสี่ยงของอาการที่เกิดขึ้น

วิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ

การรักษาทั่วไปสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดต่ำมีสองวิธีได้แก่ การรับประทานแอสไพริน และการเจาะเลือด

  • การใช้แอสไพรินในปริมาณต่ำ : แอสไพรินมีผลต่อเกล็ดเลือดและลดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด
  • การเจาะเลือด เป็นการใช้เข็มเจาะเพื่อเอาเลือดจำนวนเล็กน้อยจากหลอดเลือดดำของคุณ ซึ่งช่วยลดจำนวนเม็ดเลือดแดง โดยทั่วไปการเจาะเลือดจะทำสัปดาห์ละครั้งในช่วยแรก และทุกๆสองถึงสามเดือน จนกว่าระดับฮีมาโตคริตของคุณจะเข้าใกล้ภาวะปกติมากที่สุด

การรักษาสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

นอกเหนือจากการใช้ยาแอาไพรินและการเจาะเลือดแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดลิ่มเลือด จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาเฉพาะทาง เช่น 

  • ไฮดรอกซียูเรีย (Droxia, Hydrea) เป็นยารักษามะเร็งที่ป้องกันไม่ให้ร่างกายของคุณสร้างเม็ดเลือดแดงมากเกินไป และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด
  • อินเตอร์เฟอรอนอัลฟา จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณ แข็งแรงพอที่จะจัดการกับเซลล์ไขกระดูกที่เป็นส่วนหนึ่งของอาการโรคเลือดข้น  และยังช่วยให้ร่างกายของคุณไม่สร้างเม็ดเลือดแดงจนมากเกินไป
  • บูซัลแฟน (Myleran). เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • รูโซลิทินิบ (Jakafi). เป็นยาชนิดเดียวที่ได้รับการรับรองอย.ของสหรัฐอเมริกา แพทย์จะจ่ายยาชนิดนี้ก็ต่อเมื่อคุณไม่สามารถอดทนต่อไฮดรอกซียูเรียได้

วิธีการรักษาอื่นๆ

แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คุณทำการรักษาด้วยวิธีอื่น วิธีบางอย่างอาจช่วยรักษาอาการคัน ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องและน่ารำคาญสำหรับหลายๆคนที่เป็นโรคนี้ โดยวิธีการรักษาได้แก่ :

  • การใช้ยาแก้แพ้
  • ยารักษาโรคซึมเศร้า
  • การส่องไฟด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต
[Total: 0 Average: 0]