กระดูกคอเสื่อม

กระดูกคอเสื่อม หมายถึง กระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical spine ซึ่งเรียกสั้น ๆว่า“กระดูกคอ”) มีการเสื่อมตามอายุ ซึ่งพบบ่อยในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ ทำให้มีอาการปวดต้นคอ และอาจมีอาการของราก ประสาทถูกกดร่วมด้วย

สาเหตุ กระดูกคอเสื่อม


เกิดจากกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอมีการเสื่อมตามอายุ ทำให้ผิดข้อกระดูกสัน หลังมีหินปูนหรือปุ่มงอก (ostrophyte) ประกอบกับ  หมอนรองกระดูกมีการเสื่อมและบางตัวลง ทำให้ช่องว่างระหว่างข้อต่อแคบลง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละน้อย ๆ และอาจต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะ รุนแรงจนถึงขั้นมีกดถูกรากประสาทหรือไขสันหลัง ผู้ที่เคยมีประวัติบาดเจ็บที่บริเวณคอมาก่อน อาจมีส่วนกระตุ้นให้กระดูกเสื่อมมากขึ้น

อาการ กระดูกคอเสื่อม

ผู้ป่วยที่มีกระดูกคอเสื่อมส่วนหนึ่งจะไม่มีอาการ แสดงใด ๆ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพรังสี ขณะตรวจเช็กสุขภาพ (การถ่ายภาพรังสีที่บริเวณคอใน ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมักพบว่ามีการเสื่อมของกระดูกคอเป็นส่วนใหญ่) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดเมื่อยต้นคอเป็น ครั้งคราว บางครั้งอาจปวดนานเป็น แรมเดือนแล้วค่อย ๆ ทุเลาไป หรืออาจมีอาการปวดคอเรื้อรัง

ในรายที่มีการกดถูกากประสาท ผู้ป่วยจะมี  อาการปวดต้นคอ คอแข็ง และมีอาการปวดร้าว เสียว ๆ แปลบ ๆ และชาลงมาที่ไหล่ แขนและมือ ซึ่งมักจะเป็น เพียงข้างใดข้างหนึ่ง (ส่วนน้อยที่อาจเป็นพร้อมกัน 2 ข้าง ) อาการจะเป็นมากเวลาเคลื่อนไหวคอในบางท่า เช่น แหงนหน้า มองที่สูง ก้มเขียนหนังสือ ใช้ภาษาคอในการ สื่อสาร (สั่นศีรษะ พยักหน้า) เป็นต้น และเมื่อปรับคอ ให้อยู่ตรง ๆ อาการปวดจะทุเลาหรือหายไป

 บางรายอาจมีอาการเดินโคลงเคลง เสียการทรงตัว หรืออาจมีอาการเห็นบ้านหมุนชั่วขณะเวลาเงยศีรษะไป ข้างหลัง

ข้อแนะนำ กระดูกคอเสื่อม

                1.อาการปวดคอและปวดร้าวลงมาที่แขน นอกจากกระดูกคอเสื่อมแล้ว ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอเคลื่อน เนื้องอกไขสันหลัง เป็นต้น

                2.อาการปวดคอจากกระดูกเสื่อม หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาการอาจคงที่หรือดีขึ้นได้เอง หรืออาจเลวลงจนในที่สุดอาจมีการกดรากประสาทและไขสันหลังจน เกิดภาวะแทรกซ้อนได้

                3.ผู้ป่วยควรบริหารกล้ามเนื้อคอตามคำแนะนำของแพทย์เป็นประจำ ออกกำลังกายด้วยการเดิน ขณะมีอาการปวดคอให้ใส่ปลอกคอช่วยพยุงอาจบรรเทาอาการได้ กินยาแก้ปวด ประคบด้วยน้ำอุ่นจัด ๆ ตั้งคอตรง ๆ และงดการออกกำลังกายที่มีการกระเทือนต่อกระดูกคอ เช่น วิ่ง เหยาะ

การรักษา กระดูกคอเสื่อม

                หากสงสัยควรส่งไปโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์ ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถ้าจำเป็นอาจต้องทำการ ถ่ายภาพรังสีไขสันหลังโดยการแดสารทึบรังสี (myelography)

                ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการไม่มาก อาจให้การรักษา โดยการใส่ “ปลอกคอ” ให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ถ้ามีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อก็ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือไดอะซีแพม และฝึกบริหาร กล้ามเนื้อต้นคอ บางรายอาจต้องรักษาด้วยการใช้น้ำหนักดึงคอ

                ในรายที่เป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการกด ไขสันหลัง อาจต้องผ่าตัดเพื่อขจัดการกดทับและป้องกัน  มิให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น หลังผ่าตัดอาการปวดจะทุเลาและสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อน (เช่น แขนขาอ่อนแรง) หากเป็นอยู่นานก็อาจไม่ ทุเลาหลังผ่าตัด

[Total: 0 Average: 0]