จอตาลอก

จอตาลอก คือ เป็นภาวะฉุกเฉิน หากไม่ได้รับการ รักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจทำให้สายตาพิการอย่างถาวรได้

โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมตามอายุซึ่งพบบ่อยในคนอายุมากกว่า 50 ปี และอาจมีประวัติว่ามี คนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย

จอตา (retina) อาจเกิดการฉีกและหลุดลอกออกจากผนังลูกตาชั้นกลางหรือเนื้อเยื่อคอรอยด์ (choroid) ที่อยู่ข้างใต้ซึ่งมีหลอดเลือดส่งสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงจอตาเมื่อหลุดลอกเซลล์ประสาทจอตาก็จะขาดเลือดมาเลี้ยงทำให้เกิดอาการตามัว มองไม่เห็นได้

สาเหตุ จอตาลอก

อาจเกิดจากจอตารอยฉีกหรือเป็นรู ปล่อยให้ของเหลวของน้ำวุ้นลูกตาแทรกซึมเข้าไปเซาะให้จอตาลอก หรือจอตาส่วนที่ยึดติดแน่นกับส่วนผิวของน้ำวุ้นลูกตาถูกแรงดึงรั้งจากน้ำวุ้นลูกตา ทำให้จอตาหลุดลอกจาก ผนังลูกตา หรือมีสิ่งซึมเยิ้ม (exudation) สะสมอยู่ใต้ชั้นจอตา

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากน้ำวุ้นลูกตาด้านหลังที่เสื่อม ตามอายุมีการหดตัวและลอกออกจากจอตา (posterior vitreous detachment) เกิดแรงดึงรั้งต่อจอตานอกจากนี้ยังอาจพบได้บ่อยในผู้ที่มีสายตาสั้นเป็นเบาหวานที่มีโรคของจอตาแทรกซ้อนการได้รับบาดเจ็บที่ลูกตา การผ่าตัดต้อกระจกหรือภายในลูกตา การติดเชื้อหรือการอักเสบภายในลูกตา เนื้องอกหรือ มะเร็งที่เกิดภายในลูกตาหรือแพร่กระจายจากที่อื่น

อาการ จอตาลอก

ผู้ป่วยจะมีอาการมองเห็นผิดปกติโดยไม่มีอาการปวดตา

ระยะแรกเริ่มจะมองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ หรือแสงแฟลชถ่ายรูปในตาข้างหนึ่ง หรือ2 ข้าง ขณะหลับตาหรืออยู่ในที่มืด (ซึ่งมักเกิดจอตาถูกกระตุ้นจากแรงดึงรั้งของน้ำวุ้นลูกตา) และมีอาการเห็นเงาหยากไย่ยุงหรือแมลงวันลอยไปมา และตามัว (อาจเห็นคล้ายมีหมอกบัง/เห็นเงาคล้ายม่าน/เห็นภาพเป็นคลื่นๆ หรือคดงอ) ร่วมด้วย

หากไม่ได้รับการรักษา และปล่อยให้เป็นอยู่นาน ๆ ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกว่าเห็นเงาอยู่ที่ขอบของลานสายตา ซึ่งจะขยายใหญ่ขึ้นจนเต็มลานตาภายในไม่กี่วัน

การป้องกัน จอตาลอก

ผู้ที่มีอาการมองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบหรือแสงแฟลชถ่ายรูปเวลาหลับตาหรืออยู่ในที่มืด (ไม่ว่าจะ มีอาการมองเห็นเงาหยากไย่หรือตามัวร่วมด้วยหรือไม่ก็ตาม) อาจเป็นการเตือนก่อนที่จะเกิดภาวะจอตาลอก ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว การได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้สายตาพิการได้

การรักษา จอตาลอก

หากพบผู้ป่วยมีอาการมองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบหรือแสงแฟลชถ่ายรูป ควรส่งโรงพยาบาลหรือ ปรึกษาจักษุแพทย์โดยเร็ว เพื่อทำการวินิจฉัยโดยการตรวจวัดสายตา ตรวจลานสายตา ความดันลูกตาใช้ เครื่องมือส่องตรวจจอตาบางครั้งอาจต้องทำการตรวจ 

การักษา ในรายที่เป็นเพียงจอตาฉีกหรือเป็นรูมักจะรักษาด้วยแสงเลเซอร์ (laser surgery) ทำการปิดรูที่ฉีก หรือใช้วิธีจี้ด้วยความเย็น (freezing therapy) หรือ cryopexy) บริเวณรอบๆ รูหรือรอยฉีก เพื่อช่วยยึดจอตากลับเข้าที่

ในรายที่มีจอตาลอกจำเป็นต้องทำการผ่าตัดแก้ไขผลการรักษา ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่มีเพียงภาวะจอตาฉีกหรือเป็นรูหรือจอตาลอกระยะแรกเริ่มมักจะช่วยให้สายตาฟื้นตัวได้ดี แต่ถ้ารักษาในรยะที่จอตาลอกมากแล้วหรือมีเลือดออกหรือเป็นแผลเป็นแล้วก็ไม่ ช่วยให้สายตาดีขึ้น

[Total: 1 Average: 5]