Telemedicine คือ

Telemedicine คือ ประโยชน์ บริการ ข้อจำกัด เริ่ม ดีที่สุด โทรเวชกรรม

Telemedicine คือ การนําเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากร ทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-time เช่นเดียวกับการสื่อสารผ่านระบบ video conference ที่คู่สนทนาสามารถมองเห็นหน้าและสนทนากันได้ทั้ง 2 ฝ่าย ได้อย่างไร้ข้อจำกัดในเรื่องเวลาและสถานที่ เรียกเป็นภาษาไทยว่า โทรเวชกรรม หรือทับศัพย์ว่า เทเลเมดิซีน ซึ่งแพทย์สามารถใช้ช่วยทำการรักษา วินิจฉัยโรค และให้คำปรึกษาจากทางไกลได้

ระบบ Telemedicine นี้คือการกระจายบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพสูงไปทั่วประเทศ และเป็นการสร้างความเท่าเทียมกันในด้านคุณภาพชีวิตให้แก่ประชากรในท้องถิ่นชนบท ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในบางท้องถิ่น พร้อมทั้งช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐด้านการสาธารณสุขในระยะยาวอีกด้วย

บริการของ Telemedicine มีกี่รูปแบบ

การให้บริการจะใช้วิธีการผ่านเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และผ่านระบบ Video Conference ที่มีประสิทธิภาพสูง รวมถึงการใช้สื่อมัลติมีเดีย เช่น รูปถ่าย ดิจิตอลและวีดีโอ นําไปสู่การสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่ทางการแพทย์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ตามลักษณะการรับ-ส่งข้อมูล:

  1. การรับและส่งต่อข้อมูลด้านการแพทย์ เช่น ภาพเอกซเรย์ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ภาพถ่าย หรือคลิปวิดีโอ รวมถึงข้อมูลประวัติผู้ป่วยจากเวชระเบียน ไปให้แพทย์หรือ ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษา การใช้บริการประเภทนี้จะเป็นการส่งข้อมูลผ่านทาง e-mail วิธีนี้นิยมใช้เพื่อปรึกษาขอการวินิจฉัยโรค หรือ ให้คําแนะนําการรักษาเกี่ยวกับโรค
  2. การติดตามการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หอบหืด เป็นต้น
  3. การพูดคุยโต้ตอบกันได้ทันทีแบบ Real Time ระหว่างผู้ป่วย และแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์โดยการนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การพูดคุยผ่านทางโทรศัพท์ หรือ การสื่อสารผ่านระบบ video conference ที่สามารถเห็นหน้าคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายได้ วิธีนี้ช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่โรงพยาบาลอื่นสามารถมาซักประวัติผู้ป่วย สั่งตรวจ ร่างกาย และประเมินสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลที่ขอปรึกษาได้ โดยมีแพทย์ที่ขอปรึกษาจากโรงพยาบาลนั้นอยู่กับผู้ป่วยด้วย เพื่อช่วยในการตรวจร่างกายตาม คําแนะนําของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
4 ชนิดของ Telemedicine ที่นิยมมากที่สุด

ประโยชน์ของ Telemedicine

  1. ทําให้การรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงยกระดับมาตรฐานการให้บริการต่างๆ ต่อผู้ป่วย มีความถูกต้อง แม่นยํายิ่งขึ้น
  2. เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษา ผู้ป่วยที่อยู่ในชนบทห่างไกลไม่จําเป็นต้องเดินทาง สามารถเข้าถึงการตรวจรักษาและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทันท่วงที
  3. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโดยรวม ระยะเวลาของแพทย์ในการเดินทางเพื่อมารักษาพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยลดระยะเวลาการนอนพักรักษาในโรงพยาบาล
  4. ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการทางด้านการแพทย์จะได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ไม่จําเป็นต้องเดินทางไกลมา ที่โรงพยาบาล
Telemedicine คือ ประโยชน์ บริการ ข้อจำกัด เริ่ม ดีที่สุด โทรเวชกรรม

ประโยชน์ของ Telemedicine (โทรเวชกรรม) คือ ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะการให้การรักษาพยาบาลนั้น Telemedicine ยังมีประโยชน์ในการให้การศึกษาทางการแพทย์ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้คำแนะนำทาง การแพทย์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ จากทั่วโลก ทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ (KNOW-HOW) ทางการแพทย์

ข้อเสียของ Telemedicine

การตรวจพิเศษต่างๆ

ปัญหาใหญ่ที่สุดซึ่งระบบดูแลสุขภาพหรือข้อเสียของ Telemedicine ที่พบอยู่ คือ

  • การจัดสรรทรัพยากรการแพทย์
  • บริการที่มีราคาสูง
  • ระบบที่ใช้เชื่อมต่อไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
  • เกิดความคลาดเคลื่อนในการรักษา
  • ขาดข้อมูลเบื้องต้นในการประเมินอาการ
  • ยังไม่มีกฏหมายรับรองชัดเจน

Telemedicine แตกต่างจาก Telehealth อย่างไร

Telemedicine คือ มีส่วนที่เหมือนหรือคล้ายกับความหมาย ของ Telehealth แต่ความต่างของทั้งสองคํา คือ การส่ง มอบการดูแลสุขภาพและการให้คําปรึกษาโดย

  • Telehealth เป็นการส่งมอบการดูแลสุขภาพในระยะ ทางไกล (Delivery of Health Care Services) และ คําปรึกษาจะได้จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพ
  • Telemedicine เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ใน ระยะทางไกลและคําปรึกษาจะได้จากแพทย์เท่านั้น

Telemedicine เริ่มต้นเมื่อใด

การใช้ระบบ Telemedicine หรือโทรเวชกรรมนั้นได้เริ่มใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1960 ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวได้มีพัฒนาการมาพร้อมๆ กับการพัฒนา ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ในต่างประเทศ โทรเวชกรรมนั้น อาจแบ่งเป็น 2 ยุค คือ

  1. ยุค First Generation Telemedicine (ช่วงต้นปี ค.ศ. 1970) ซึ่งเป็นยุคที่ไม่ประสบ ความสำเร็จเท่าใดนัก เนื่องจากโทรเวชกรรมมีค่าใช้จ่ายสูง และเทคโนโลยียังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
  2. ยุค The Second Generation Telemedicine (ช่วง ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา) ยุคนี้ถือได้ว่าระบบโทรเวชกรรมได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการแพทย์การสาธารณสุข และด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง

สำหรับในประเทศไทย Telemedicine คือ ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนักเนื่องจาก เป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนค่อนข้างสูงและยังมีการใช้ไม่มาก แต่ก็มีความพยายามที่จะดำเนินการเป็นโครงการต้นแบบ เพื่อนำเทคโนโลยีนี้เข้าไปช่วยในพื้นที่ห่างไกลที่ด้อยโอกาสทางการแพทย์ ซึ่งอาจจะเหมาะกับโรคที่ใช้คำปรึกษาเยียวยา (Saliva Therapy) มากกว่า รวมทั้งในข้อกฎหมายในการใช้งาน Telemedicine

แอพพลิเคชั่น Telemedicine

  • Bumrungrad Application
  • Raksa-ป่วยทัก รักษา
  • Samitivej Virtual Hospital
  • Chiiwii LIVE
  • See Doctor Now
  • หมอรู้จักคุณ-PATIENT
  • U Care
  • SITEL
  • Ooca

Telemedicine กับโรงพยาบาลในไทย

ในปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านการสื่อสารไปอย่างก้าวกระโดด นั่น หมายความว่า ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตามบนโลกใบนี้ถ้าสามารถเข้าถึง อินเตอร์เน็ตคุณก็จะสามารถเข้าถึงแพทย์ที่มีความชํานาญได้เช่นกันไปกับ Telemedicine

[Total: 9 Average: 5]

67 комментариев на “Telemedicine คือ

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading