เลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage)

ภาวะเลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hermorrhage) คือการที่เลือดซืมเข้าสู่เนื้อเยื่อสมองอย่างกะทันหันจนทำให้สมองของผู้ป่วยเสียหาย

อาการของ ICH มักเกิดอย่างกะทันหัน อาการของโรคนี้คือปวดศีรษะ รู้อ่อนเปลี้ยเพลียแรง รู้สึกสับสน และมีอาการอัมพาตที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย การสะสมเลือดในสมองจะทำให้เกิดแรงดันใน และสามารถขัดขวางการรับออกซิเจนของสมอง อาการนี้จึงสามารถทำให้สมองและเส้นประสาทถูกทำลายได้อย่างรวดเร็ว

ถือเป็นเหตุฉุกเฉินที่แพทย์จะต้องทำการรักษาทันทีที่ผู้ป่วยมีอาการเลือดคั่งในสมอง แต่โรคนี้ไม่พบบ่อยเหมือนอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบ (เป็นอาการที่เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตันจากลิ่มเลือด) แต่ความรุนแรงของโรคจะร้ายแรงกว่ามาก

สาเหตุของเลือดคั่งในสมอง

ความดันโลหิตที่สูงผิดปกติมักเป็นสาเหตุของภาวะเลือดคั่งในสมอง กรณีผู้ป่วยที่อายุยังน้อยยังพบสาเหตุอีกประการหนึ่งบ่อย ๆ คือร่างกายมีการสร้างเส้นเลือดในสมองมากผิดปกติ

ทุกคนมีโอกาสเป็นภาวะเลือดคั่งในสมองได้ แต่ความเสี่ยงของมักเพิ่มขึ้นตามอายุ และจากสถิติผู้ชายมีความเสี่ยงของภาวะนี้สูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย กลุ่มคนวัยกลางคนที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น หรือแอฟริกัน – อเมริกันล้วนมีความเสี่ยงต่อ ภาวะเลือดคั่งในสมองเช่นกัน

อาการของภาวะเลือดคั่งในสมอง

อาการของภาวะเลือดคั่งในสมองประกอบด้วย

  • ความเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลัน การรู้สึกเสียวซ่าหรือเป็นอัมพาตบริเวณใบหน้า แขน หรือขา อาการมักรุนแรงที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
  • อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและกะทันหัน
  • กลืนอาหารลำบาก
  • ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นอาจเกิดขึ้นที่ตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
  • การสูญเสียสมดุลทางร่างกาย การทำงานของร่างกาย และรู้สึกวิงเวียนศีรษะ
  • เกิดปัญหาในการใช้ทักษะด้านภาษา (การอ่าน การเขียน การพูด การทำความเข้าใจ)
  • คลื่นไส้  อาเจียน
  • รู้สึกเฉื่อยชา ง่วงซึม ง่วงนอน ไม่มีสติสัมปัชชัญะ
  • รู้สึกสับสน เพ้อ

อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการป่วยที่ถือว่าร้ายแรงทางการแพทย์ ดังนั้นเมื่อคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ให้โทรแจ้งหน่วยฉุกเฉินทันที

การรักษาภาวะเลือดคั่งในสมอง

เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แพทย์ต้องทำการทดสอบเพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของโรค ดังนี้

  • การทำ CT สแกน การทดสอบนี้จะจำลองภาพในสมองของผู้ป่วย เพื่อยืนยันว่ามีการตกเลือดหรือไม่ และใช้เพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในศีรษะของผู้ป่วย
  • การทำ MRI สแกนอาจช่วยให้แพทย์เห็นสมองของผู้ป่วยได้ชัดเจนขึ้น ช่วยให้ระบุสาเหตุที่เลือดออกได้ดีขึ้น
  • Angiogram เป็นเทคโนโลยีการ X-ray ที่สามารถจับภาพการไหลเวียนของเลือดภายในหลอดเลือดได้ จึงช่วยให้แพทย์ตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ ของหลอดเลือดได้ เช่นการโป่งพอง หรือลักษณะที่ผิดรูปของหลอดเลือด
  • การตรวจวิเคราะห์เลือดสามารถระบุความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน การอักเสบและปัญหาการแข็งตัวของเลือดที่เป็นสาเหตุของภาวะเลือดออกในสมองได้
[Total: 0 Average: 0]