ไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome)

ไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome) คือ โรคทางพันธุกรรมที่พบได้ในเพศชาย โดยผู้ที่มีอาการนี้จะโครโมโซม x เกินมา อีกทั้งยังมีลูกอัณฑะเล็กกว่าปกติ ทำให้สามารถสร้างฮอร์โมนเพศชายได้น้อยกว่าทั่วไป เทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศชายที่ทำหน้าที่กระตุ้นลักษณะทางเพศ เช่น ขนต่างๆบนร่างกาย หรือการเติบโตของกล้ามเนื้อ

การขาดฮอร์โมนเพศชาย จะส่งผลให้มีเต้านมที่โตขึ้น อวัยวะเพศมีขนาดเล็ก มีขนน้อยกว่าปกติ อีกทั้งอาจทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้ กลุ่มอาการไคนล์เฟลเตอร์อาจทำให้มีอาการพูดช้าในวัยเด็กได้

สาเหตุ ไคลน์เฟลเตอร์

โครโมโซมในร่างกายมนุษย์มีทั้งหมด 23 คู่หรือ 46 โครโมโซม โดยในแต่ละเซลล์จะมีโครโมโซมเพศสองตัวคือ X และ Y

  • ผู้หญิงจะมีโครโมโซม X สองตัวคือ XX ซึ่งจะบ่งบอกลักษณะทางเพศของผู้หญิงเช่น หน้าอกหรือมดลูก
  • ผู้ชายจะมีโครโมโซม X หนึ่งตัวและโครโมโซม Y หนึ่งตัว คือ XY ซึ่งจะบ่งบอกลักษณะทางเพศของผู้ชายเช่น อวัยวะเพศหรือัณฑะ

เด็กผู้ชายที่เป็นโรคไคลน์เฟลเตอร์ จะมีโครโมโซม X มากกว่าปกติ ทำให้โครโมโซมในเซลล์กลายเป็น XXY ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างที่เซลล์กำลังแบ่งตัวหลังจากเชื้อที่ได้รับผสมกับไข่

ในบางคนอาจพบได้ว่ามีโครโมโซม X ที่เกินมามากกว่าหนึ่งตัว ทำให้โครโมโซมอาจจะมีหน้าตาแตกต่างไป เช่น XXXXY ในขณะที่บางคนอาจจะมีโครโมโซมเป็น XXY หรือ XXXY

การเกิดโครโมโซมเหล่านี้ มักเกิดขึ้นแบบสุ่มซึ่งเป็นความผิดปกติในการแบ่งตัวของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ถ้าผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีตั้งครรภ์ ก็มีแนวโน้มที่จะให้กำเนิดทารกที่เป็นโรคไคลน์เฟลเตอร์ได้

อาการ ไคลน์เฟลเตอร์

อาการส่วนใหญ่เกิดการจากที่ร่างกายมีฮอร์โมนเพศชายต่ำ ดังนั้นจึงมักจะไม่แสดงอาการในตอนเป็นเด็ก แต่จะพบอาการเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น

ในเด็กเล็กมักจะแสดงอาการเพียงการพูดเท่านั้น โดยมักจะพูดช้ากว่าเด็กคนอื่นๆในวัยเดียวกัน

อาการที่พบได้ทั่วไปในผู้ใหญ่คือ :

  • อวัยวะเพศและลูกอัณฑะมีขนาดเล็ก
  • ปริมาณอสุจิมีน้อยหรือไม่มีเลย
  • มีหน้าอกโตกว่าปกติ
  • มีขนตามใบหน้า รักแร้ หรือหัวหน่าวน้อยกว่าปกติ
  • สูงกว่าปกติ
  • มีขายาวและลำตัวสั้น
  • กล้ามเนื้อน้อยและไม่แข็งแรง
  • มีแรงน้อย
  • อารมณ์ทางเพศต่ำ
  • มีไขมันบริเวณหน้าท้อง
  • มีปัญหาด้านการอ่าน เขียนและการสื่อสาร
  • มีบุตรยาก
  • วิตกกังวลและซึมเศร้า
  • มีปัญหาในการตอบโต้ทางสังคม
  • มีความผิดปกติด้านการเผาผลาญเช่น โรคเบาหวาน

ผู้ชายที่มีโครโมโซม x มากกว่าปกติ จะมีอาการมากกว่าปกติ ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับปริมาณของโรคโมโซม x ที่มีในร่างกาย

อาการของไคลน์เฟลเตอร์ชนิดรุนแรง ได้แก่ :

  • ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้และการพูด
  • มีปัญหาด้านการเชื่อมโยง
  • มีใบหน้าที่เป็นเอกลักษณ์
  • มีปัญหาเรื่องกระดูก

การรักษา ไคลน์เฟลเตอร์

หากมีอาการไม่รุนแรงมักไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษ แต่ถ้าหากว่ามีอาการมากขึ้นควรรีบรักษาโดยเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่น หากได้รับการรักษาตั้งแต่มีอาการเริ่มต้น จะสามารถป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่นๆได้

วิธีหลักในการรักษาคือ การเพิ่มฮอร์โมนเพศชายเข้าไปทดแทน การรับประทานฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในช่วงวัยรุ่น จะช่วยให้ร่างกายมีพัฒนาการในวัยรุ่นดีขึ้น เช่น 

  • มีเสียงทุ้ม
  • มีขนขึ้นตามใบหน้าและร่างกาย
  • กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงมากขึ้น
  • อวัยวะเพศชายเติบโตมากขึ้น
  • กระดูกแข็งแรงมากขึ้น

คุณสามารถใช้ฮอร์โมชนิดเม็ด ครีม หรือทำการฉีดเป็นประจำทุกสองถึงสามสัปดาห์ก็ได้

วิธีอื่นๆในการรักษาอาการไคลน์เฟลเตอร์ มีดังนี้ :

  • บำบัดการพูดและการใช้ภาษา
  • ทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ใช้กิจกรรมบำบัดเพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
  • เพิ่มกิจกรรมทางสังคม
  • ใช้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา
  • รับคำปรึกษาด้านอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือขาดความนับถือตนเอง
  • การผ่าตัดเอาเต้านมออก
  • รักษาการสืบพันธุ์
[Total: 0 Average: 0]