ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis)

ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) คือการสลายตัวของกล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก

การสลายตัวของกล้ามเนื้อลายจะมีการปล่อยไมโอโกลบินเข้าสู่กระแสเลือด ไมโอโกลบินคือโปรตีนที่ใช้เก็บออกซิเจนเอาไว้ในกล้ามเนื้อ หากระดับไมโอโกลบินในเลือดสูงเกินไปอาจทำให้ไตเสียหายได้

ส่วนใหญ่การรักษาภาวะกล้ามเนื้อลายสลายคือการนำของเหลวผ่านทางหลอดเลือดดำ (IV) ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องฟอกไตหรือฟอกเลือดเพื่อแก้ไขปัญหาที่ไต

สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย

ภาวะกล้ามเนื้อลายสลายมักเกิดจากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ การบาดเจ็บนี้อาจเกิดทั้งทางกายภาพ เคมี หรือพันธุกรรม ซึ่งล้วนมีผลในการทำลายกล้ามเนื้อ โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้:

การได้รับบาดเจ็บ ความร้อน และความรุนแรง :

  • อาการบาดเจ็บที่เกิดจากการได้รับแรงกระแทกจากบางสิ่ง
  • ภาวะร้อนสูงเกินไป
  • แผลไฟไหม้ระดับ 3
  • เส้นเลือดอุดตัน
  • ถูกฟ้าผ่า
  • แรงสั่นสะเทือนที่รุนแรง
  • อาการบาดเจ็บจนแขน หรือขาขาด ซึ่งส่งผลให้เนื้อเยื่อของผู้ป่วยเกิดภาวะขาดเลือดได้
  • สารพิษที่ขับออกมาขณะที่กล้ามเนื้อกำลังออกแรง
  • ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
  • การออกกำลังกายที่หนักเกินไป อย่างการวิ่งมาราธอน

ความผิดปกติทางพันธุกรรมและการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย

ปัญหาทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ สิ่งต่อไปนี้

  • น้ำมันหรือไขมัน
  • คาร์โบไฮเดรต
  • พิวรีนสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในอาหารบางชนิด เช่น ปลาซาร์ดีน ตับ หน่อไม้ฝรั่ง

ระบบการเผาผลาญที่ผิดปกติ จะนำไปสู่อาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย ดังต่อไปนี้

  • โรคไทรอยด์ชนิดอ้วนหรือภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากเบาหวานหรือการสะสมของคีโตนในร่างกาย
  • ความไม่สมดุลของเกลือแร่

ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย ได้แก่ :

  • ภาวะขาดคาร์นิทีน
  • โรคแมคคาร์เดิล McCardle disease
  • ภาวะขาดแลคเตทดีไฮโดรจีเนส
  • โรคกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรมดูเชน

อาการของภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย

อาการเริ่มต้นของภาวะกล้ามเนื้อลายสลายอาจน้อยมาก และมักมีอาการคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ ได้แก่ :

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปัสสาวะน้อย
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • รู้สึกเจ็บปวด
  • มีรอยช้ำ
  • ปัสสาวะเป็นสีเข้มคล้ายน้ำชา
  • ปัสสาวะไม่บ่อย
  • มีไข้
  • รู้สึกไม่สบายตัว หรือรู้สึกไม่สบาย
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • สับสนงงงวย
  • รู้สึกกระวนกระวาย

การรักษาภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย

ยิ่งรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย ก็ยิ่งลดความเสียหายที่อาจเกิดที่ไตได้มาก

การให้สารน้ำทดแทน: การให้สารน้ำเข้าสู่ร่างกายที่เพียงพอเป็นวิธีการรักษาอันดับต้น ๆ ที่สำคัญมาก โดยให้ของเหลวทางหลอดเลือด ของเหลวนี้มีส้วนประกอบของไบคาร์บอเนตซึ่งช่วยล้างไมโอโกลบินออกจากไต

การรักษาด้วยยา: แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเช่นไบคาร์บอเนต และยาขับปัสสาวะบางชนิดเพื่อช่วยให้ไตทำงานได้ปกติ และใช้ยาเพื่อรักษาระดับโพแทสเซียมในเลือด และระดับแคลเซียมในเลือดให้เหมาะสม

การฟอกไต: หากไตถูกทำลาย กรือเกิดอาการไตวายเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการฟอกไต การฟอกไตคือการนำเลือดออกจากร่างกาย และทำความสะอาดด้วยเครื่องมือเฉพาะเพื่อกำจัดของเสีย

การรักษาตัวที่บ้าน: ในกรณีภาวะกล้ามเนื้อลายสลายอาการไม่รุนแรง การรักษาตัวที่บ้านก็สามารถยรรเทาอาการได้ โดยการพักผ่อนร่างกายให้กล้ามเนื้อฟื้นตัว และเติมน้ำให้ร่างกายเพื่อช่วยป้องกันความเสียหายของไต

หากรู้สึกเหนื่อยล้าให้เอนกายในท่าที่สบาย และพยายามผ่อนคลายร่างกาย ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ และอาหารเหลวอย่างน้ำซุปใส ๆ และเครื่องดื่มของนักกีฬา

[Total: 4 Average: 4.3]