โรคบูลิเมีย

โรคบูลิเมีย (Bulimia) คือโรคการรับประทานอาหารที่ผิดปกติที่และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการของโรคคือการรับประทานอาหารที่ผิดปกติในปริมาณที่มากในเวลาสั้นแลัวขับออกด้วยการทำให้ตัวเองอาเจียน การออกกำลังกายอย่างหนักหรือการทานยาระบายหรือยาขับปัสสาวะ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคบูลิเมียจะทำการเอาอาหารที่รับประทานเข้าไปออก ทำเป็นพฤติกรรมด้วยการรับประทานในปริมาณมากแล้วกำจัดออกวนเป็นวัฏจักรไปเรื่อยๆ พฤติกรรมดังกล่าวรวมไปถึงวิธีการรักษาน้ำหนักตัวเองอย่างเคร่งครัดรูปแบบอื่นๆด้วยเช่นการอดอาหาร การออกกำลังกายหรือการลดน้ำหนักอย่างหนักเกินไป

ผู้ป่วยที่เป็นโรคบูลีเมียมักเห็นภาพตัวเองที่ไม่เป็นจริง ผู้ป่วยจะหมกมุ่นกับเรื่องน้ำหนักของตัวเองและมีความคิดแง่ลบต่อภาพลักษณ์ของตนเอง   หลายคนที่ป่วยเป็นโรคบูลิเมียมักมีน้ำหนักตัวปกติหรืออาจน้ำหนักเกินก็ได้ การเป็นโรคบูลิเมียนั้นยากต่อการสังเกตและการวินิจฉัย

สาเหตุ โรคบูลิเมีย

โรคบูลิเมียเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่โรคนี้อาจเกิดจากปัจจัยร่วมที่สามารถทำให้เกิดโรคได้

คนที่มีปัญหาทางด้านจิตใจหรือพวกที่มีมุมมองโลกที่ผิดเพี้ยนจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป เช่นเดียวกับคนประเภทมีความต้องการและคาดหวังสูงทางสังคม คนที่มีอิทธิพลสูงทางสื่อมีเดียก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน และอาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยเช่น:

  • มีปัญหาด้านอารมณ์ความโกรธ
  • มีความเครียด
  • เป็นคนรักความสมบูรณ์แบบ
  • เป็นคนที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้
  • เคยมีบาดแผลในใจมาก่อน

ในบางการวิจัยพบว่าโรคบูลิเมียเป็นโรคทางกรรมพันธ์ หรืออาจเกิดจากสาเหตุเซโรโทนินบกพร่องในสมอง

อาการ โรคบูลิเมีย

อาการทั่วไปของโรคบูลิเมียคือ:

  • มีความวิตกกังวลหรือกลัวว่าน้ำหนักตัวจะเพิ่มมากขึ้นเป็นเวลายาวนาน
  • คุยแต่เรื่องความอ้วน
  • หมกหมุ่นอยู่กับน้ำหนักและรูปร่างของตนเอง
  • มีความคิดแง่ลบต่อภาพลักษณ์ของตนเอง
  • รับประทานอาหารปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ
  • บังคับให้ตัวเองอาเจียน
  • มีการทานยาระบายหรือยาขับปัสสาวะมากเกินไป
  • ใช้อาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อลดน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายอย่างหนัก
  • ฟันมีคราบ(เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร)
  • ผิวหนังแข็งด้านบนบริเวณด้านหลังมือ
  • ไปห้องน้ำทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ
  • ไม่ยอมรับประทานอาหารต่อหน้าคนอื่น
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคม

การรักษา โรคบูลิเมีย

การรักษาโรคบูลิเมียเราจะไม่รักษาเฉพาะเรื่องของการให้ความรู้ด้านอาหารและเรื่องโภชนาการเท่านั้น แต่เรายังต้องรักษาเรื่องของสภาพทางจิตใจร่วมด้วย ทางเลือกของการรักษาอาจมีดังต่อไปนี้:

  • ใช้ยาต้านโรคซึมเศร้า เช่นยาฟลูอ็อกเซทีน(โปรแซ็ค) เป็นยาแก้ซึมเศร้าตัวเดียวที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้รักษาโรคบูลีเมีย
  • จิตบำบัด เป็นวิธีรักษาด้วยการพูดคุยบำบัดทางจิตกับผู้ให้คำปรึกษาพิเศษเพื่อบำบัดความคิดและพฤติกรรม การบำบัดแบบครอบครัวและการบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
  • การให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ โดยแพทย์และนักโภชนาการอาจช่วยในการวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีความปลอดภัย
  • การรักษาในโรงพยาบาล เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยโรคบูลิเมียชนิดรุนแรง
[Total: 0 Average: 0]