ปัจจุบันมียารักษาโรคกระดูกพรุน 3 กลุ่ม ได้แก่
อย่างไรก็ตาม ถ้าเราไม่ต้องการเป็นโรคนี้ก็สามารถป้องกันได้ โดยการสะสมมวลกระดูกให้มากที่สุดในช่วงวัยเด็กและก่อนอายุ 35 ปี โดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
1.กินแคลเซียมให้พอเพียงทุกวัน อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม เนยแข็ง ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก (เช่น ปลาไส้ตัน) กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง ผักสีเขียว เข้ม (เช่น คะน้า ใบชะพลู) งาดำคั่ว
แนวทางปฏิบัติ สำหรับเด็กและวัยรุ่นควรดื่ม นมวันละ 2-3 แก้ว ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุดื่มนมวันละ 1-2 แก้วเป็นประจำจะทำให้ได้รับแคลเซียมร้อยละ 50 ของ ปริมาณที่ต้องการส่วนแคลเซียมที่ยังขาดให้กินจาก อาหารแหล่งอื่น ๆ ประกอบ
ผู้ใหญ่บางคนที่มีข้อจำกัดในการดื่มนม (เช่น มีภาวะไขมันในเลือดสูงอ้วน เป็นเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด)ให้เลือกกินเนยแข็ง นม เปรี้ยว นมพร่องมันเนยแทน หรือบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงในแต่ละมื้อให้มากขึ้น
2.ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ออกกำลังที่มีการถ่วงหรือต้านน้ำหนัก (weight bearing) เช่น การเดิน การวิ่ง เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก รำมวยจีน เต้นรำ เป็นต้น ร่วมกับการยกน้ำหนัก จะช่วยให้มี มวลกระดูกมากขึ้น และกระดูกมีความแข็งแรง ทั้งแขนขา และกระดูกสันหลัง
3. รับแสงแดด ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างกระดูก ในบ้านเราคน ส่วนใหญ่จะได้รับแสงแดดเพียงพออยู่แล้ว นอกจากใน รายที่อยู่แต่ในบ้านตลอดเวลา ก็ควรจะออกไปรับแสงแดดอ่อน ๆ ยามเช้าหรือยามเย็น วันละ10-15 นาที สัปดาห์ ละ 3 วัน ถ้าอยู่แต่ในที่ร่ม ไม่ถูกแสงแดด อาจต้องกิน วิตามินดีเสริมวันละ 400-800 มก.
4.รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอมเกินไป) เพราะคนผอมจะมีมวลกระดูกน้อย เสี่ยงต่อกระดูกพรุนได้
5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น
6. รักษาโรคหรือภาวะที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน เช่น ต่อมไทรอย์ทำงานเกิน โรคคุชชิง